เตรียมเอกสารบรรยายเรื่อง พลิกโฉมประเด็นการวิจัยเพื่อปฎิรูประบบบริการและการศึกษาพยาบาล


พลิกโฉมวิชาชีพการพยาบาล สู่สุขภาวะถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน

การประชุมพยาบาลแห่งชาติครั้งที่ 16 เรื่อง “พลิกโฉมวิชาชีพการพยาบาล สู่สุขภาวะถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน”

(Transforming Nursing in a Disruptive World to Achieve Sustainable Health For All)

ระหว่างวันที่ 18 – 22  พฤศจิกายน 2562  ณ โรงแรม เดอะเบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อที่ส่งไป

พลิกโฉมประเด็นการวิจัยเพื่อปฏิรูประบบบริการ

พว. อุบล จ๋วงพานิช พย.ม,อพย. พยาบาลเขี่ยวชาญ

ปัจจุบันประเทศไทยมีนโยบายใช้งานวิจัยในขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ ดังนั้นทุกองค์กรจึงมีนโยบายขับเคลื่อนและพัฒนาระบบงานผ่านการวิจัยเช่นกัน โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพของประชาชน มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่ ทำให้ประชาชนอายุยืนยาวและมีผู้สูงอายุมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นจะต้องมีการจัดระบบบริการที่มีประสิทธิภาพแบบองค์รวมและต่อเนื่อง จึงจะสามารถแก้ปัญหาระบบสุขภาพที่มีความซับซ้อนได้

พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพประชาชนให้เข้าถึงบริการสุขภาพอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ  ดังนั้นจะต้องมีการพัฒนางานประจำให้เป็นวิจัย (Routine to research: R2R) และการทำ Meta R2R โดยการบูรณาการปรัชญาของ Lean และ R2R เข้าด้วยกัน รวมทั้งนำผลการวิจัยหรือนำหลักฐานเชิงประจักษ์ไปสู่การปฏิบัติจริงเพื่อยกระดับคุณภาพบริการ (Implement research: IR)

การทำ R2R ต้องเป็นคนหน้างานเป็นผู้เห็นประเด็นหรือปัญหาการวิจัย โดยเริ่มจากคำถามหรือปัญหาจากงานประจำ มีการเหลาคำถามวิจัยให้คมชัดจาการวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันของผู้ร่วมงาน มีการสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบและเหมาะสม ปัจจัยแห่งความสำเร็จของ R2R เกิดจากคนทำงานเห็นปัญหา มีพี่เลี้ยงคอยดูแล มีการชี้ ชวนและช่วยเหลือในการทำวิจัย รวมทั้งองค์กรสนับสนุน

  การทำ Meta R2R มีการบูรณาการ Lean และ R2R เข้าด้วยกัน โดยวิเคราะห์กระบวนการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง จะทำให้เราเห็นปัญหาในแต่ละส่วนของระบบบริการที่ไม่พึงประสงค์ เมื่อเราทำ R2R จนได้คำตอบที่สามารถแก้ปัญหาในแต่ละจุดอย่างสอดคล้องตลอดสายธารการให้บริการ จะส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยและระบบบริการที่มีคุณภาพ

           การนำผลการวิจัยหรือนำหลักฐานเชิงประจักษ์ไปสู่การปฏิบัติจริงเพื่อยกระดับคุณภาพบริการ (Implement research: IR) เป็นหน้าที่ของนักวิจัยในคลินิก จะต้องนำผลการวิจัยที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลดี นำไปสู่การปฏิบัติกับผู้ใช้บริการจริง ไม่ใช่เป็นการพิสูจน์ความรู้ มีการออกแบบเพื่อดำเนินการใช้ผลวิจัยและนำไปใช้จริง โดยผู้ปฏิบัติทุกฝ่ายเกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้อย่างทั่วถึง ค้นหาสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคในการนำวิธีการใหม่ไปใช้ในการปฏิบัติงาน หากลยุทธ์ในการนำวิธีการใหม่ไปสู่การปฏิบัติ หาแนวทางในการพัฒนาหรือปรับวิธีการใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์จริง รวมทั้งประเมินผลลัพธ์ทั้งระบบริการ

สรุป 

การพลิกโฉมประเด็นการวิจัยเพื่อปฏิรูประบบบริการ โจทย์วิจัยมาจากหน้างาน มีการพัฒนางานประจำให้เป็นวิจัย มองประเด็นปัญหาเชิงระบบ มีการบูรณาการ Lean และ R2R เข้าด้วยกันโดยทำ Meta R2R ปรับวิธีคิดโดยทำวิจัยขนาดใหญ่ร่วมกับทีมสหสาขาและนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์เพื่อยกระดับผลลัพธ์การให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ


หมายเลขบันทึก: 671681เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2019 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ตุลาคม 2019 16:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ภาพประกอบ คือ ส่วนหนึ่งของแรงบันดาลใจและผู้ที่เดินข้างกันมาตลอดทางเดินสายวิจัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท