ตลาดนัดการจัดการความรู้ของมูลนิธิข้าวขวัญ


ไปแล ไปดู งานมูลนิธิข้าวขวัญ
เรื่องเล่า  ไปเยี่ยม..ไปแล   งานมูลนิธิข้าวขวัญระหว่างวันที่  ๒๐ - ๒๑  พฤศจิกายน   ๒๕๔๙ชไมพร   วังทองผู้ประสานงานพื้นที่วัดดาว : รายงาน 
            ได้รับคำแนะนำจากสรส.ส่วนกลางและคุณสมโภชน์(พี่ปาน) ให้เป็นตัวแทนไปร่วมงาน ตลาดนัดการจัดการความรู้ของมูลนิธิข้าวขวัญ ระหว่างวันที่  ๒๐ - ๒๑  พ.ย. ๔๙     มูลนิธิข้าวขวัญ ต.ท่าเสด็จ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี  จากการได้รับเชิญจากมูลนิธิข้าวขวัญให้เข้าร่วมงานครั้งนี้ด้วยในฐานะที่เป็นเครือข่ายการทำงานภาคประชาสังคมมาด้วยกัน ตั้งแต่โครงการระยะที่ ๑ จวบจนถึงโครงการระยะที่ ๒ ± ไปเยี่ยม..ไปแล  แม้ว่าจะห่างเหินกันมานาน            การเดินทางมาร่วมงานของมูลนิธิข้าวขวัญครั้งนี้เดินทางมากับคุณอัฒยา  สง่าแสง(ผู้ประสานงานพื้นที่หัวไผ่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี) เปรียบเสมือนเป็นการเดินทางมาเยี่ยมเยียนคนเคยรู้จัก สนิทสนมรักใคร่กันมาก่อนเพราะเมื่อครั้งที่เป็นนักจัดการความรู้ท้องถิ่น(นจท.)ของสุพรรณบุรี ผู้เขียนได้ร่วมงานกับคุณชลสรวง(พี่ชมพู่)และคุณณรงค์(พี่รงค์) และเคยได้มีโอกาสร่วมงานกับมูลนิธิข้าวขวัญหลายต่อหลายครั้ง นอกจากนี้พี่ๆในมูลนิธิข้าวขวัญก็เป็นที่รู้จักและสนิทสนมกับผู้เขียนเป็นอย่างดีทำให้การมาร่วมงานของมูลนิธิฯ ครั้งนี้จึงกล่าวได้ว่าเป็นการหาโอกาสมาเยี่ยมเยียนคนเคยรู้จักกันมาก่อนอีกครา  ± หลากหลายเครือข่ายของมูลนิธิข้าวขวัญ            เดินทางมาถึงมูลนิธิข้าวขวัญเห็นการตระเตรียมงานอย่างยิ่งใหญ่โดยมีทีมงานอปพร.ของต.ท่าเสด็จ คอยอำนวยความสะดวกเรื่องการจอดรถให้แก่ผู้มาร่วมงาน เพื่อเข้าร่วมงานของมูลนิธิข้าวขวัญ             ได้เจอะเจอพี่น้องชาววัดดาวโดยเป็นกลุ่มนักเรียนโรงเรียนชาวนาของตำบลวัดดาวไม่ว่าจะเป็น ลุงทิน  ป้าบังอร  และอีกหลายท่านที่รู้จักมักคุ้น..คุ้นหน้าคุ้นตาแต่ไม่รู้จักชื่อค่ะ(เพราะจำไม่ได้ค่ะ..ไม่เคยถามชื่อซักทีขออภัยด้วย) โดยกลุ่มนักเรียนโรงเรียนชาวนาวัดดาวได้มาร่วมจัดบูธดิน(จุลินทรีย์)กับพี่ณรงค์ที่เป็นพี่เลี้ยงให้แก่พื้นที่วัดดาวกับงานเกษตรกรรมยั่งยืน             ภายในบริเวณงานจะมีการจัดโชว์ผลงานที่ทางมูลนิธิข้าวขวัญเข้าไปเป็นทีมพี่เลี้ยงให้แก่กลุ่มนักเรียนชาวนาอยู่หลากหลายบูธ โดยแต่ละทีมงานก็จะมาร่วมกันจัดบูธแสดงผลงานรอบๆบริเวณงาน โดยมีเวทีการแสดงใหญ่อยู่ตรงกลาง  โดยเครือข่ายที่เข้ามาร่วมจัดบูธภายในงาน มีดังนี้·        กศน. อ.บางปลาม้า  จ.สุพรรณบุรี·        ชมรมเพื่อนช่วยเพื่อนปฐมอโศก·        การจัดการความรู้เครือข่ายโรงเรียนชาวนา  จ.นครสวรรค์·        บูธแสดงผลการดำเนินงานของมูลนิธิข้าวขวัญ·        สมาคมหยาดฝน·        สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน ( ISAC )·        เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้ ( Southern  Alternative  Agriculture  Network ) โดยแต่ละบูธก็ได้นำผลงานที่ดำเนินงานผ่านมาโดยมีกิจกรรมที่มูลนิธิข้าวขวัญเข้าไปช่วยเสริมองค์ความรู้ให้ และที่ได้ดำเนินการด้วยตนเอง  ยกตัวอย่าง เช่น·        กศน. อ.บางปลาม้า  จ.สุพรรณบุรี  ได้มีการจัดแปลงสาธิตด้านการใช้สารเคมี  ปุ๋ยน้ำหมัก  เป็นต้น·        ชมรมเพื่อนช่วยเพื่อนปฐมอโศก  จะนำผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมาร่วมวางขายภายในงาน เช่น สบู่  ยาสระผม  น้ำยาล้างจาน  และการนำหนังสือที่ผลิตคิดค้นจากกลุ่มมาวางขายในราคาถูก  เป็นต้น  ± เป็นเวทีปิดโครงการด้านการจัดการความรู้กับ สคส.            ภายหลังจากที่เยี่ยมชมภายในบริเวณงานเราทั้ง ๒ คน(ผู้เขียนกับคุณอัฒยา)ก็ถึงเวลารายงานตัวกับพี่จิ๋ม, พี่เดชา, พี่ชมพู่, พี่รงค์ และพี่ๆ ในมูลนิธิข้าวขวัญถึงการเดินทางมาเป็นตัวแทนของสรส.ในครั้งนี้             จากการพูดคุยกับพี่ชมพู่และพี่รงค์ โดยผู้เขียนได้โยนคำถามไปว่าจะจัดงานแบบนี้ทุกปีหรือเปล่า?  และก็ทำให้เรารู้คำตอบที่มาที่ไปของงานนี้ว่า..การจัดงานตลาดนัดความรู้เครือข่ายของมูลนิธิข้าวขวัญครั้งนี้เป็นการจัดงานเพื่อนำเสนองานและปิดโครงการการจัดการความรู้ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส.) โดยการขอทุนดำเนินการได้เดินทางมาถึงระยะสุดท้ายแล้ว             ทำให้เราถึงบางอ้อ..ว่า เป็นการจัดงานเพื่อปิดโครงการกับสคส. ดังนั้น คอนเซปต์ในการจัดงานครั้งนี้ก็เพื่อให้เห็นว่ามูลนิธิข้าวขวัญมีการดำเนินงานที่ผ่านมามีอะไรบ้าง ซึ่งเป็นการจัดงานที่ต้องการให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดการเรียนรู้และได้ทดลองปฏิบัติจริง            โดยกำหนดให้มี ห้องเรียนการเรียนรู้ อยู่ ๓ เรื่อง  ดังนี้·        ห้องเรียนที่ ๑ ความรู้เรื่องดิน  วิทยากรคือ คุณณรงค์  อ่วมรัมย์·        ห้องเรียนที่ ๒ ความรู้เรื่องพันธุ์ข้าว  วิทยากรคือ คุณสุขสรรค์  กันตรี·        ห้องเรียนที่ ๓ ความรู้เรื่องแมลง  วิทยากรคือ คุณพรชัย ชูเลิศ  ± หลักสูตรการเรียนรู้ของมูลนิธิข้าวขวัญ            จากการได้รับฟังคำบรรยายจากคุณเดชา  ศิริภัทร ทำให้เราได้รู้ว่าการดำเนินงานของมูลนิธิข้าวขวัญมีการเรียนรู้ที่เป็นระบบมีการจัดการวางแผนการเรียนรู้ที่เหมาะสมและสามารถทำให้งานแต่ละด้านสามารถบรรลุผลสำเร็จทำให้เครือข่ายนักเรียนชาวนาสามารถจับต้องผลงานที่สำเร็จเป็นรูปธรรมได้แท้จริง·        หลักสูตรที่    การจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี·        หลักสูตรที่    การปรับปรุงบำรุงดินโดยชีววิธี·        หลักสูตรที่    การปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าว โดยทั้ง    หลักสูตรก็ได้ถูกย่อลงมาเป็นห้องเรียนรู้ให้แก่ผู้มาร่วมงานได้ทดลองปฏิบัติการจริงภายในงานด้วย     

ความรู้ใหม่

 
การทำจุลินทรีย์ ปุ๋ยหมัก คัดข้าว แมลง สมุนไพร

ภูมิปัญญา

คน
ทุน
เครื่องมือ
Ÿ กองทุนปุ๋ยŸ กองทุนพันธุ์ข้าวเพื่อการพึ่งตนเองŸ เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่ใช้ได้จริง (ดิน จุลินทรีย์ พันธุ์ข้าว)Ÿ เกิดเครือข่ายการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ดิน สมุนไพร พิธีกรรม ความเชื่อ
คุณกิจ  คุณอำนวย  คุณเอื้อ
เงิน  ที่ดิน  อาหาร
โรงเรียนชาวนา    หลักสูตร
ค้นหาทุกข์
วางเป้าหมายร่วมกัน
กระบวนการการจัดการความรู้
วั
              
            สิ่งที่คุณเดชาบอกกับผู้มาร่วมงานถึงแนวทางในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน คือ๑.      การร่วมค้นหาทุกข์ร่วมกัน๒.     การร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ว่าจะทำอะไร  ให้ได้อะไร?๓.     ขั้นทดลองกับกระบวนการ KM   คือ  การใช้ความรู้ใหม่  ภูมิปัญญา  ทุนที่เป็นทั้งด้านตัวคนและเครื่องมือ โดยการเรียนรู้    หลักสูตรกับมูลนิธิข้าวขวัญ โดยสิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการการจัดการความรู้ทั้งหมดถือเป็นนวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นโดยคุณเดชาบอกว่า  นวัตกรรมใหม่ ก็คือ·        เกิดกลุ่มกองทุนปุ๋ย·        เกิดกองทุนพันธุ์ข้าวเพื่อการพึ่งพาตนเอง·        เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เช่น ดิน    จุลินทรีย์ พันธุ์ข้าว เป็นต้น·        เกิดการขยายผลของเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง แม้โครงการการจัดการความรู้จะสิ้นสุดลงก็ตาม ถึงแม้ว่าผลจากการดำเนินโครงการร่วมกับสคส.จะสิ้นสุดลง แต่การดำเนินงานของมูลนิธิข้าวขวัญยังคงผลักดันการทำงานอยู่อย่างต่อเนื่องเพราะในปัจจุบันการขยายผลการทำงานของมูลนิธิข้าวขวัญได้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้กับหลายสถาบัน โดยเฉพาะเครือข่ายปูนซีเมนต์ที่ถือเป็นเครือข่ายหลักที่ต้องการเข้ามาร่วมเรียนรู้การทำงานกับมูลนิธิข้าวขวัญกับเรื่องของการจัดการความรู้อย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อการนำไปปรับใช้ในการทำงานขององค์กรตนเอง  ± ร้อง..เล่น..เต้นรำ  กับกลุ่มนักเรียนภายในงาน            นอกจากมีเครือข่ายของมูลนิธิข้าวขวัญมาร่วมงานครั้งนี้แล้วนั้น ทางมูลนิธิข้าวขวัญได้จัดกิจกรรมที่เอื้อให้เด็กนักเรียนภายในจ.สุพรรณบุรีมาร่วมเรียนรู้ภายในงานด้วย โดยมี·        โรงเรียนบ้านหลักเมตร  อ.เมือง·        โรงเรียนท่าเสด็จ  อ.เมือง·        โรงเรียนหนองปรือ  เด็กๆทั้ง ๓ โรงเรียน ต่างมีหน้าที่มาเรียนรู้และเก็บความรู้ภายในงานมูลนิธิฯ โดยจะมีเด็กนักเรียนคอยเรียนรู้ตามบูธ ตามห้องเรียนต่างๆโดยมีอาจารย์คอยแนะแนวทางให้แก่กลุ่มนักเรียนอยู่ห่างๆ เด็กนักเรียนที่มาร่วมงานเป็นเสมือนสีสันที่ช่วยให้งานมีความคึกครื้นเพราะทางมูลนิธิฯได้จัดกิจกรรมแจกของรางวัลให้แก่ผู้มาร่วมงานโดยการส่งสลากบัตรชื่อตัวเองเพื่อแลกของรางวัลกับทางมูลนิธิฯ ซึ่งกิจกรรมนี้เด็กๆจะให้ความสนใจมากเพราะธรรมชาติเด็กๆจะชอบของขวัญ ของรางวัลอยู่แล้ว คุณอัฒยาเป็นอีกหนึ่งท่านที่โชคดีได้ของรางวัล โดยพี่ชมพู่เรียนเชิญให้ขึ้นบนเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนการแสดงกับของรางวัลที่มูลนิธิข้าวขวัญจัดเตรียมให้มา ๒ คน มีหรือจะขึ้นเวทีคนเดียว คุณอัฒยาได้เชิญให้ผู้เขียนร่วมการแสดงบนเวทีด้วย แต่ผู้เขียนปิ๊งไอเดียเมื่อเห็นเด็กนักเรียนเริ่มสนุกสนานกับการแจกของรางวัล ผู้เขียนเลยเชิญชวนขอให้เด็กนักเรียนที่อยากได้ของรางวัลมาร่วมแสดงออกบนเวที ได้ผลทีเดียวค่ะ..เพราะมีเด็กนักเรียน ๔ - ๕ คนรีบขึ้นมาบนเวทีเพื่อแสดงการเต้นรำเพื่อแลกเปลี่ยนของรางวัลกับมูลนิธิข้าวขวัญ ได้เห็นเด็กๆเขากล้าแสดงออกในทางที่ดี เรา ๒ คนก็อยากส่งเสริมเด็กๆ ก็เลยตัดใจ อุ๊ย! ไม่ใช่ซิ เต็มใจให้ของรางวัลแก่เด็กนักเรียนไป โดยของรางวัลเป็นข้าวปลอดสารพิษของทางมูลนิธิข้าวขวัญที่เขาปลูกขึ้นมาเอง 

ได้เห็นรอยยิ้มของเด็กๆกับการกล้าแสดงออก กล้าร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนานถือเป็นการมาร่วมงาน ได้สร้างกิจกรรมดีๆกับมูลนิธิข้าวขวัญ ก็เป็นที่คุ้มค่ากับเราทั้ง ๒ คน อย่างมากเลยค่ะ

 ± คุณเอื้อใหญ่  คือ สคส.            การทำงานของมูลนิธิข้าวขวัญที่ใช้เรื่องของการจัดการความรู้มาเสริมองค์ความรู้ในการทำงาน    ที่นี้ต้องขออนุญาตกล่าวถึง คุณเอื้อใหญ่ ที่ช่วยสนับสนุนทุนในการดำเนินงานเรื่องการจัดการความรู้กับมูลนิธิข้าวขวัญก็คือ สคส. โดยงานนี้ทางสคส.ยกทัพใหญ่มาร่วมงานกับมูลนิธิข้าวขวัญ ผู้เขียนคาดว่าน่าจะมากันหมดสถาบันฯ (เขาเรียกว่า เจ้าภาพใหญ่..ให้เกียรติตลอดงานจริงๆ)             เป็นการนำทีมโดยคุณหมอวิจารย์  พานิชและคณะทำงานของสคส.ที่มาร่วมเรียนรู้งานกับมูลนิธิข้าวขวัญ พร้อมกับการมาทำงานนอกสถานที่ ที่เรียกว่า สุดฮ็อต ของสคส. ก็คือ การเก็บรายละเอียดงานเพื่อไปเขียนเรื่องเล่าลงบล็อกสคส.นั่นเอง            จากการได้พูดคุยกับทีมงานสคส.หลายท่านไม่ว่าจะเป็น คุณอ้อม  คุณธวัช  ต่างได้บอกกับเราว่า..ได้ถูกรับมอบหมายให้มาสัมภาษณ์และนำไปเขียนบทความกันอย่างถ้วนหน้า (สมชื่อ..สมราคากับการเป็นสื่อกลางเรื่อง KM จริงๆ)  ± จริตการทำงานของสรส. ที่เข้าตา สคส.            ผู้เขียนกับคุณอัฒยาได้มีโอกาสเดินดูห้องการเรียนรู้ต่างๆภายในงานมูลนิธิข้าวขวัญ จนต้องมาหยุดที่ห้องเรียนแมลงดูน่าสนใจดี (แต่ความจริงก็คือบริเวณงานร้อนมากค่ะ ถึงร้อนสุดๆ..บูธแมลงเป็นบูธที่เย็นที่สุดมีลมโชยอ่อนๆพอบรรเทาอากาศที่ร้อนระอุได้ดี..เราเลยมาแวะที่บูธนี้กัน)            ตามวิสัยการทำงานของสรส.ที่ให้หลักการทำงานกับทีมทำงานมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้เขียนและคุณอัฒยาเลยไม่นั่งเฉย ถือโอกาสตั้งคำถามกับกลุ่มนักเรียนโรงเรียนชาวนาบูธนี้ซะเลย             เราพูดคุยกับคุณรอด  สระทองดี ซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนชาวนาจาก ต.บ้านดอน  อ.อู่ทอง  จ.สุพรรณบุรี โดยยกตัวอย่างประเด็นคำถามที่เราถามคุณรอด ก็คือ·        เป็นกลุ่มนักเรียนโรงเรียนชาวนาที่ไหนค่ะตอบ..นักเรียนโรงเรียนชาวนา  ต.บ้านดอน  อู่ทองครับ·        ชื่ออะไรค่ะตอบ..ผมชื่อรอด  สระทองดี จำง่ายๆก็บุญรอดบริเวอรี่นั่นแหละครับ(พร้อมกับหัวเราะไปด้วยอย่างอารมณ์ดี)·        ทำไมถึงได้มาเข้าโรงเรียนชาวนาค่ะตอบ..เพราะเจอปัญหาต้นทุนในการทำนาสูง อยากทำนาลดต้นทุนครับ·        ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มเยอะไหมค่ะตอบ..เมื่อก่อนตอนตั้งใหม่ๆก็ราวๆ ๓๐ คน ปัจจุบันเหลือประมาณ  ๒๐  คน แต่ก็หมุนเวียนกันมาเรียนเรื่อยๆครับเพราะสมาชิกบางคนก็ว่างบ้าง ไม่ว่างบ้าง มาเรียนพร้อมกันบ้าง ไม่พร้อมกันบ้างก็ต้องทำใจ·        สมาชิกลดลงไปบ้างหรือเปล่าค่ะ ในปัจจุบันตอบ..ถ้าเรื่องมาเข้าเรียนลดลงครับ แต่เขาก็ยังทำของเขาไปเรื่อยๆแต่อาจจะไม่ได้มาเข้าเรียนเนื่องจากมีภาระเยอะ  ไม่ว่าง หรือไม่ก็ขี้เกียจมาเรียนคงมองว่าเป็นเรื่องเสียเวลามั้งครับ·        ที่เหลืออยู่ยังสู้ต่อใช่ไหมตอบ..สู้ครับ อยากเรียนรู้และพัฒนาไปเรื่อยๆ·        ท้อไหมค่ะตอบ..ก็มีบ้าง อย่างเช่น อบต.ในพื้นที่ไม่เห็นความสำคัญของพวกเรา ยังไม่มีเงินมาสนับสนุนกลุ่มเลย รู้สึกอิจฉาคนวัดดาวที่อบต.เขาสนับสนุนอย่างเต็มที่ แต่ก็ไม่ท้อหรอก จะทำเรื่องนี้ไปเรื่อยๆครับ·        ในอนาคตวางเป้าหมายของกลุ่มอย่างไรตอบ..อยากให้อบต.ช่วยสนับสนุนเงินงบประมาณกับกลุ่มตนเองให้ทุนหล่อเลี้ยงกลุ่มบ้างครับ             การพูดคุยระหว่างเรา ๒ คน กับกลุ่มเกษตรกรอู่ทองยังมีเรื่องราวความรู้อีกหลากหลายมาก จริงๆผู้เขียนเป็นคนตั้งคำถาม(คุณอำนวย)กับกลุ่มนักเรียนชาวนา ทำให้เวลาในการจดบันทึกประเด็นความรู้ที่สำคัญๆนั้นลดลงไป (แต่คุณอัฒยาจดทันนะคะ..เพราะเป็นคุณบันทึกค่ะ) การพูดคุยกับกลุ่มนักเรียนชาวนาคงออกอรรถรสมากไปหน่อย จนทำให้มองไม่เห็นคุณหมอวิจารย์ที่อยู่บูธเดียวกับพวกเรา  คุณหมอได้เดินมาร่วมพูดคุยกับเราพักใหญ่พร้อมกับแนะนำเรากับกลุ่มนักเรียนชาวนาอู่ทองว่า  คนนี้(ผู้เขียน)เขาทำงานอยู่ที่วัดดาวเป็นเพื่อนกับนายกประทิวนะ..ท่านไม่รู้เหรอ ส่วนอัฒยาเขาอยู่หัวไผ่ สิงห์บุรี ๒ คนนี้เขารู้หมดแหละ คำพูดของคุณหมอวิจารย์ทำให้คุณรอดถึงกับหัวเราะและบอกว่า อ้าว..ผมมานั่งพูดให้กับคนที่เขารู้อยู่แล้วเหรอเนี่ย ทำให้ผู้เขียนกับคุณอัฒยาต้องรีบบอกว่า เราไม่ได้มีความรู้มากมายอะไร..อยากมาร่วมเรียนรู้กับคนที่รู้จริง..จริงๆค่ะ จากนั้นคุณหมอวิจารย์ก็ทำหน้าที่เป็นตากล้องเก็บภาพดาราอย่างเราทั้ง ๒ คน กับคุณรอดเป็นการใหญ่  และทำให้ผู้เขียนรู้ว่า การถ่ายรูป  เก็บภาพมุมกล้องสวยๆ เป็นการทำงานที่คุณหมอวิจารย์ชอบมากที่สุดงานหนึ่งแน่ๆ ไม่ว่าท่านจะเดินเหินไปทางไหน ท่านก็เก็บภาพไปเรื่อยพร้อมกับรอยยิ้มที่มีความสุข ผู้เขียนต้องขอขอบคุณ คุณทรงพลและพี่น้องสรส. ที่ฝังเชื้อ การเป็นคนที่ชอบตั้งคำถาม เพื่อกา
หมายเลขบันทึก: 67119เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2006 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • บันทึกได้ละเอียดมากครับ
  • ถ้าจัดตัวอักษรให้ดีและใช้อักษร Tahoma 14 points จะน่าอ่านมากครับ
  • ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท