ค่ายพัฒนาผู้นำเยาวชนเทพศิรินทร์ 2562


โรงเรียนในเครือข่ายเทพศิรินทร์โดยโรงเรียนเทพศิรินทร์ขอนแก่นร่วมกับมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและ Chira  Academy โดย ศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ร่วมกันจัดกิจกรรมค่ายพัฒนาผู้นำเยาวชนเทพศิรินทร์ 2562 (Knowledge Camp Debsirin 2019) "ผลกระทบจากสงครามการค้าโลกต่อการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไทย" "Effects of World Trade War on Thai Economy Transform" ระหว่างวันที่ 17 ถึง 20 ตุลาคม 2562 

ในการนี้ จึงขอเปิด blog นี้เพื่อเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ต่อไป

วันที่ 17 ตุลาคม 2562

กล่าวต้อนรับ โดย นายสุพจน์ หล้าธรรม

ผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์

ในฐานะตัวแทนโรงเรียนในเครือเทพศิรินทร์ทั้ง 10 แห่ง ขอขอบคุณที่ท่านอรรถนิติให้เกียรติเป็นประธานเปิดค่าย

โรงเรียนในเครือเทพศิรินทร์ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียนให้มีความพร้อมนำความรู้ไปขยายผลให้นักเรียนด้วยกัน ปีนี้ โรงเรียนเทพศิรินทร์ขอนแก่นเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรม มีนายจงจิต ดวงสนาม ผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ขอนแก่นจัดกิจกรรมให้เกิดขึ้นร่วมกับสมาคมนักเรียนเก่า

มีวิทยากรให้เกียรติคือ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และมีคณะผู้บริหารโรงเรียนในเครือเทพศิรินทร์ทั้ง 10 แห่ง เป็นพี่เลี้ยง

ในนามโรงเรียนในเครือเทพศิรินทร์ทั้ง 10 แห่ง ขอต้อนรับและขอขอบคุณท่านองคมนตรีและศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ที่ให้เกียรติกล่าวรายงานและบรรยายพิเศษและขอขอบคุณผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ขอนแก่นในการดำเนินการจัดกิจกรรมครั้งนี้

กล่าวรายงานโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมเคารพรักท่านอรรถนิติ ท่านให้เวลากับโรงเรียนมาก

ผมเป็นรุ่นพี่ของน้องๆทุกคน เมื่อผมได้มีโอกาสได้มาทำงานให้โรงเรียน ก็เป็นความสุขที่มีค่ามาก

ผมเข้าโรงเรียนนี้แล้วเรียน 8 ปี ตั้งแต่ ม.1- ม.8 เรียนรุ่นเดียวกับท่านอรรถนิติ ท่านอยู่ศาล ผมอยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลายครั้งท่านให้ผมไปช่วยพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธิรรม

ผมคิดเรื่องนี้มาเป็นเวลานาน เพราะผมโตมาเป็นนักเศรษฐศาสตร์

พ่อผมเป็นนักเรียนเก่า เป็นรัฐมนตรีคลังและจบเศรษฐศาสตร์เคมบริดจ์

เทพศิรินทร์เคยชนะจตุรมิตร ผมเคยมาหาที่โรงเรียนนำนักเรียนไปฝึก ออกเงินเอง หลังจากนั้น 3 ปี สมาคมไปศึกษา ได้แก่ คุณกฤชและอาจารย์พงษ์ศักดิ์ และขอให้ผมมาช่วยทำต่อ เรียกว่า เป็นทุนมนุษย์ คนจะเก่งได้ต้องลงทุน

ตอนที่ผมเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนติดอันดับ 1 ของประเทศ เมื่อจบไปก็ไม่คิดว่า เป็นอันดับสอง

ผมได้ทำงานต่อเนื่องมา 14-15 ปีแล้วเว้นช่วงหนึ่ง

ตอนที่เว้นไป โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้าและโรงเรียนเทพศิรินทร์สมุทรปราการจัดโครงการในระดับอาเซียน ม.ล.ปนัดดา ดิศกุลให้เกียรติมาเป็นประธานพิธีปิดและอยู่ในเว็บของเมืองไทยตลอดเวลา ตอนนั้นต้องคัดเด็กพูดภาษาอังกฤษได้มาร่วมโครงการ

ผมภูมิใจในงานวันนี้ เราควรปรับ Mindset เราเก่งฟิสิกส์เก่ง แต่ไม่รู้จักเพื่อน เราชอบกิจกรรมแต่ไม่ชอบเรียน ค่ายนี้ทำให้เราปรับตัว ขอขอบคุณท่านผู้อำนวยหารและท่านอรรถนิติที่กรุณาให้เกียรติ ผมจะไปร่วมค่ายอยู่แล้ว

ขอแสดงความยินดีกับโรงเรียน ขอให้น้องๆมีความสุข

กล่าวเปิด โดย ศาสตราจารย์(พิเศษ)อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ องคมนตรี

ผมขอขอบคุณที่ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นและอย่างดียิ่งผมรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาร่วมพิธีเปิดกิจกรรมชาวเทพศิรินทร์และมีความประทับใจในความร่วมมือร่วมใจของชาวเทพศิรินทร์ที่สนับสนุนการดำเนินงานกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมเสมอมา

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ผมมีโอกาสร่วมในพิธีเปิดกิจกรรมค่ายผู้นำเยาวชนเทพศิรินทร์หลายครั้งซึ่งมีที่มาจากแนวคิดของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ดีเด่นและเสียสละอุทิศเวลาทำคุณประโยชน์ต่อเทพศิรินทร์ตลอดมา

กิจกรรมค่ายผู้นำเยาวชนเทพศิรินทร์นี้ในแต่ละปีจะมีหัวข้อเรื่องของกิจกรรมที่ทันต่อเหตุการณ์และมุ่งมั่นต่อเยาวชนเทพศิรินทร์ เยาวชนไทยให้มีความเป็นผู้นำในหลายสาขาวิชา โดยเฉพาะปีนี้ในหัวข้อที่ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์คือ เรื่องผลกระทบจากสงครามการค้าโลกต่อการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไทย ซึ่งต้องขอชื่นชมในวิสัยทัศน์ของผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนในเครือที่เล็งเห็นความสำคัญและพัฒนากิจกรรมนี้อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะโรงเรียนเทพศิรินทร์ขอนแก่นซึ่งเป็นเจ้าภาพดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้

เครือข่ายเทพศิรินทร์เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของไทยมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆของเยาวชนไทย ในโอกาสนี้เพื่อเป็นแนวทางและความรู้ในการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนเทพศิรินทร์และเยาวชนไทย จึงขอนำพระราชดำริและพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีพระราชปณิธานในการสืบสาน รักษา และต่อยอดโครงการต่างๆของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรตามพระปฐมบรมราชโองการเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 โดยเฉพาะในด้านการศึกษามาเสนอแก่ผู้เข้าร่วมประชุม ณ ที่นี้

โครงการกองทุนการศึกษาเป็นหนึ่งในโครงการที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปณิธานสืบสาน รักษาและต่อยอดโครงการนี้สำเร็จขึ้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2555 ขณะที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงประชวรประทับรักษาพระวรกายที่โรงพยาบาลศิริราชพระองค์ทรงรับสั่งให้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีในขณะนั้นเข้าเฝ้า ทรงมีพระราชดำรัสให้โรงเรียนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารอยู่ห่างไกลขาดแคลนถูกทอดทิ้งสภาพไม่อำนวยต่อการศึกษามีผลกระทบต่อการเรียนการสอนเยาวชนในโรงเรียนเหล่านั้นเพื่อให้โรงเรียนเหล่านั้นอยู่ในสภาพที่ดีขึ้นใกล้เคียงหรือเท่าเทียมกับโรงเรียนในพื้นที่ที่เจริญร่วมกันสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง ได้ทรงมอบหมายให้คณะองคมนตรีรับผิดชอบดูแลและทรงเน้นให้สร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง เน้นการปลูกฝังนักเรียนในด้านคุณธรรม จริยธรรมให้เป็นคนดีมีคุณธรรม พระองค์ได้ทรงพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นเงินกองทุนในการดำเนินงานและได้พระราชทานทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ขาดแคลนแต่มีความประพฤติดี

คณะองคมนตรีได้รับสนองพระราชประสงค์มาดำเนินการจนถึงวันเสด็จสวรรคตรวม 155 โรงเรียนโดยสร้างความพร้อมด้านศักยภาพให้แก่โรงเรียนพัฒนาความรู้และความเป็นอยู่แก่ครู สร้างจิตสำนึกให้แก่ครูรักศิษย์ ศิษย์รักครู นำรูปแบบโรงเรียนคุณธรรมมาปรับใช้ รวมทั้งหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วย 3 ห่วงและ 2 เงื่อนไข กล่าวคือ

1.ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ  

2.ความมีเหตุผล เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ

3.การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนั้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

ส่วน 2 เงื่อนไขก็คือ การตัดสินใจและการดำเนินการกิจกรรมต่างๆให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐานประกอบไปด้วย

นอกจากแนวพระราชดำริที่จะสืบสาน รักษาและต่อยอดโครงการกองทุนการศึกษาแล้ว พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยเด็กและเยาวชนซึ่งถือเป็นอนาคตของชาติซึ่งเป็นที่ประจักษ์ได้จากการที่พระราชทานพระบรมราโชวาทเพื่อเป็นแนวทางและเครื่องมือยึดถือปฏิบัติเนื่องในวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2562 ความว่า

“เด็กทุกคนควรหมั่นศึกษาหาความรู้และประพฤติตนเป็นคนดีมีระเบียบวินัยเพราะว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้จะช่วยให้แต่ละคนประสบแต่ความสุขความเจริญและความสำเร็จในชีวิตได้”

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงให้ความสำคัญกับการศึกษา การประพฤติตนและการมีระเบียบวินัย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นรากฐานของความสำเร็จโดยนำพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทในโอกาสต่างๆมาประยุกต์ให้เข้าถึงความหมาย

การศึกษาหาความรู้

พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสต่อคณะองคมนตรีในโอกาสที่เข้าเฝ้าส่วนพระองค์ว่า

“การศึกษาคือความมั่นคงของประเทศ การศึกษาต้องสร้างให้คนไทยมีทัศนคติที่ดีและถูกต้อง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงเข้มแข็ง มีอาชีพ มีงานทำและมีความเป็นพลเมืองดี มีระเบียบวินัย”

จากพระราชดำรัสดังกล่าวถือเป็นพระราโชบายทางด้านการศึกษาโดยจำแนกได้เป็น

มีทัศนคติที่ดีและถูกต้องคือ

1.มีความรู้และความเข้าใจต่อบ้านเมือง ยึดมั่นในศาสนา ยึดมั่นคงในสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีความเอื้ออาทรต่อครอบครัวและชุมชนของตน

2.มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงและเข้มแข็ง คือ รู้จักแยกแยะสิ่งที่ผิดชอบชั่วดี ปฏิบัติแต่สิ่งที่ชอบสิ่งที่ดีงาม ปฏิเสธสิ่งที่ผิดสิ่งที่ชั่ว ด้วยการสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง

3.มีอาชีพ มีงานทำ คือ การเลี้ยงดูลูกหลานในครอบครัว การฝึกฝนอบรมในสถานศึกษาต้องให้เด็กรักงาน สู้งาน ทำงานจนสำเร็จ มีการฝึกอบรมทั้งในด้านหลักสูตรและนอกหลักสูตร ต้องมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนทำงานเป็น และมีงานทำในที่สุด ต้องสนับสนุนผู้สำเร็จหลักสูตรมีอาชีพ มีงานทำจนสามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัว

4.เป็นพลเมืองดีมีวินัย การเป็นพลเมืองดีเป็นหน้าที่ของทุกคน โดย ครอบครัวสถานศึกษาและสถานประกอบการต้องส่งเสริมให้ทุกคนมีโอกาสทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี เช่น งานอาสาสมัคร งานบำเพ็ญประโยชน์ งานสาธารณกุศล ให้ทำตัวด้วยความมีน้ำใจและอาทร

คณะองคมนตรีได้นำพระราโชบายดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาและเป็นแนวทางในการดำเนินงานของโรงเรียนกองทุนการศึกษาทุกโรงเรียน และขณะนี้ กำลังขยายเครือข่ายโรงเรียนไปยังโรงเรียนต่างๆที่มีคุณสมบัติที่จะดำเนินการดังกล่าว

ในเรื่องของการประพฤติตนพระองค์ทรงมีพระบรมราโชวาทที่สำคัญ เมื่อวันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 ความว่า

“ข้อสำคัญ การจะเป็นคนเก่งและดีแท้นั้นต้องเป็นให้ตลอด กล่าวคือ ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด ในสถานะใดก็ตาม ต้องตั้งตัว ตั้งใจให้มันคงหนักแน่นที่จะประพฤติตน ปฏิบัติงานทุกอย่างโดยยึดมั่นในความดีและความถูกต้องเสมอไป อย่างน้อยบุคคลทั้งผู้ที่ออกไปศึกษาต่อและประกอบอาชีพการงานได้รักษาความเก่งและความดียิ่งที่มีอยู่พร้อมทั้งสร้างเสริมให้เจริญงอกงามยิ่งๆขึ้นเพราะคุณสมบัติเหล่านี้จะเกื้อหนุนให้บุคคลประสบความสุขความสำเร็จทั้งในชีวิตการงานอย่างแท้จริง”

ความมีระเบียบวินัย

พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระวชิระเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันพุธที่ 11 มิถุนายน 2521 มีความตอนหนึ่งว่า

“วินัยนั้น คือ ระเบียบปฏิบัติที่ดีที่จะนำบุคคลให้ก้าวหน้าไปถึงความดีและความเจริญ ดังนั้นเราจะต้องถือวินัยเพื่อเสริมสร้างคุณค่าในตัวเราเองให้บริบูรณ์ขึ้นและเสริมสร้างความพร้อมเพรียงสมัครสมาน ความเป็นปึกแผ่นมั่นคง และความเจริญก้าวหน้าของหมู่คณะของเราให้บริบูรณ์ขึ้นเช่นกัน ข้อสำคัญอย่างหนึ่ง เราจะต้องระวังตัว เราจะต้องระวังตั้งใจมิให้ถือวินัยอย่างผิดๆ เช่นถือไว้ใช้เป็นเครื่องหลอกตนเองว่า ตนเองเป็นผู้เลิศแล้วเพ่งโทษผู้อื่น เบียดเบียนข่มเหงผู้อื่นโดยใช้ระเบียบข้อบังคับเป็นเครื่องมือ เพราะการถือวินัยอย่างนั้นไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์อะไรเลย มีแต่จะก่อให้เกิดความเกลียดชังและแตกแยก จึงควรศึกษาวินัยให้กระจ่างว่า จะให้สามารถถือวินัยได้อย่างถูกต้องและได้รับประโยชน์จากการถือวินัยอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์ทุกแง่ทุกมุม”

นอกจากนี้ยังทรงให้ความสำคัญกับการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและการมีจิตอาสาดังที่ปรากฏตามที่ได้พระราชทานแนวทางเพื่อให้รัฐบาลนำไปยึดถือปฏิบัติเป็นหลักในการบริหารประเทศในวันที่ 8 สิงหาคม 2560

แนวพระราชดำริในการสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณี มีพระราชดำริตอนหนึ่ง เมื่อวันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2550 มีความตอนหนึ่งว่า

“ชาติไทยเรามีศิลปวัฒนธรรมครบทุกสาขา สิ่งเหล่านี้เป็นสมบัติที่ล้ำค่าที่บ่งบอกให้เห็นถึงความเจริญของชาติไทยและคนไทยซึ่งบรรพชนของเราได้สร้างสมความเป็นไทยชั่วอายุคน ผู้มีจิตสำนึกในความเป็นไทยจึงควรศึกษาให้เห็นซึ้งถึงคุณค่าและร่วมกันธำรงรักษาไว้เพื่ออนุชนรุ่นหลังได้มีสิ่งที่ควรแก่การภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทยและคนไทยตลอดไป”

การมีจิตอาสา

พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 ซึ่งมีความตอนหนึ่งว่า

“การบำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือกันเป็นปัจจัยที่จะสร้างสรรค์ความมุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน ความรักใคร่เผื่อแผ่ในกันและกัน ซึ่งในที่สุดจะก่อให้เกิดความสามัคคีเป็นปึกแผ่นในชาติ ความสามัคคีเป็นปึกแผ่นของคนทั้งชาติที่จะช่วยกันสนับสนุนนี้คือพลังอันยิ่งใหญ่ที่จะสามารถที่จะรักษาความเป็นอิสระความมั่นคงของชาติไทยและบ้านเมืองไทยของเราไว้ให้ยั่งยืนอยู่ตลอดไป”

จากพระราชดำรัสพระบรมราโชวาทและพระราโชบายที่กล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นพระราชดำริและพระราโชบายด้านการศึกษาต่างๆซึ่งอาจนำมาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาของเด็กและเยาวชน ทั้งถ้อยคำที่พระองค์ท่านทรงแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักหน้าที่ของตนเองเพื่อไว้เป็นข้อคิดและเตือนสติให้ระลึกยึดถือเป็นแนวปฏิบัติและนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นหลักในการดำเนินชีวิต

ผมหวังว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะมุ่งมั่นตั้งใจและร่วมกันประกอบกิจกรรมให้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่คณะทำงานคณะวิทยากรและผู้ให้การอนุเคราะห์ต่างสนับสนุนและตั้งใจมอบสิ่งดีๆ ให้กับอนาคตของเยาวชนเทพศิรินทร์และขอขอบคุณทุกท่านที่เกี่ยวข้อง

สุดท้ายนี้ ขออำนวยอวยพรให้ผู้ร่วมกิจกรรมประสบแต่ความสุขความเจริญในอนาคต ความมุ่งมั่นในทุกสิ่งให้สำเร็จสมปรารถนาและขอเปิดกิจกรรมค่ายพัฒนาผู้นำเยาวชนเทพศิรินทร์ 2562


ปาฐกถา “ทุนมนุษย์สำหรับผู้นำ (หลักคิดและกระบวนการเรียนรู้ 8K’s+5K’s)”

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรมีกระดาษดินสอ จดประเด็น

นักเรียนห้องนี้บางคนอาจมีเงินมากในอนาคต แต่ก็ควรจะรักษาความเป็นเลิศของเทพศิรินทร์มา

หลังจากบรรยาย จะเปิดโอกาสให้ออกความเห็นเป็นนักเรียนเทพศิรินทร์ต้องกล้า

ในอนาคต จะมีการแข่งขันมหาศาล

เวลาคนเวียดนามมาไทย ก็ถามทุกเรื่อง ไม่เหมือนคนไทยที่เงียบในการประชุมทุกที่

การศึกษาไทยมีความโบราณ ต้องมีคนนอกเข้ามาช่วย

8K’s+5K’s เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของอาจารย์จีระ ประเด็นสำคัญที่สุด ตอนทีทำหนังสือยังไม่มี AI, Robotics มีแค่การเปลี่ยนแปลงคือ อินเตอร์เน็ตช่วงแรก

การเปลี่ยนแปลงแต่ละช่วงมีดังนี้

ช่วงที่ 1 เครื่องจักรไอน้ำที่อังกฤษ

ช่วงที่ 2 น้ำมัน ไฟฟ้า โทรศัพท์ที่อเมริกา

ช่วงที่ 3 อินเตอร์เน็ต

ช่วงนี้ 4.0 Internet of Things

สิ่งที่อาจารย์จีระพูดตอบโจทย์อินเตอร์เน็ต และ Internet of Things

ในอนาคต อาจมี K’s เพิ่มก็ได้

จากรูปนี้ของ Peter Senge (MIT) เรียนแล้วต้องมีศักยภาพเพิ่มขึ้น เป็นการดึงศักยภาพที่ซ่อนอยู่ออกมา

อย่าเรียนเหมือนเดิม

ต้องทันเหตุการณ์

อาจารย์จีระมี Mindset คือ เรียนวิชาใดก็ได้ แต่ขอให้เก่ง

อาจารย์จีระไปเรียนต่างประเทศ ตอนอยู่เมืองไทยก็เป็นนักกีฬาติดทีมชาติ

ต่อมาอาจารย์จีระสอบชิงทุนไปเรียนต่างประเทศได้

สำคัญที่สุดในวันนี้คือ ค้นหาตัวเองว่า สิ่งที่อยู่ข้างในมีอะไรแล้วดึงออกมา อย่าทำตัวแบบอยู่บนผิวน้ำ

อาจารย์จีระเวลาไปเรียนต่างประเทศก็ถูกกดดัน การกดดันทำให้มีความเป็นเลิศ

แต่ครูไทยสอนแล้วให้นักเรียนคิดแต่ในกรอบ

นักเรียนไทยไม่ได้เป็นรองใครแต่ถูกยัดเยียดความรู้

การเรียนยุคต่อไปก็ต้องมีพื้นฐานก่อน อาจารย์จีระเรียนจบปริญญาเอกก็ต้องอ่านผลงานของคนที่ได้รางวัลโนเบลก่อน เมื่อทราบราก 8K’s+5K’s ก็ต้องตอบโจทย์ยุคดิจิตอลแบบลึก ตอนนี้ไม่ใช่อเมริกาชนะอย่างเดียว สมัยนี้เด็กอาจเรียนครึ่งวันแล้วทำ Co-working Space ในสวนต่อ

ทุกคนได้ดีวันนี้เพราะมาจากการลงทุนตั้งแต่เกิดออกมา ถ้าเราล้มเหลวตั้งแต่แรก ไอคิวเราตกต่ำก็อาจจะไม่ได้เรียนโรงเรียนในเครือเทพศิรินทร์ เมื่อเก่งแล้วต้องไม่โกงด้วย

ทุนมี 4 อย่างคือ ทรัพยากรธรรมชาติ เงิน เทคโนโลยีและคน

ผอ.ทำเรื่องทุนมนุษย์ แต่กระทรวงศึกษาไม่เก่งเรื่องคน ไปลงทุนแต่เทคโนโลยี ไม่มีสมองคนจะรอดไหม

มีทรัพยากรธรรมชาติใส่ปุ๋ยมากก็ดินเสื่อม มีเงินมากก็โกง

ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าสิงคโปร์ แต่สิงคโปร์ลงทุนเรื่องคน รายได้เฉลี่ยต่อหัวเป็น 8 เท่าของคนไทย

ปัญหาคือ ไทยลงทุนเรื่องคนแล้วได้ผลติดลบหรือเท่าเดิม

เมื่อ 50 ปีที่แล้ว Gary Becker บอกว่า ถ้าเราลงทุนในคน ใครเรียนมาก จะมีรายได้สูง คนจบปริญญาโทมีรายได้เฉลี่ยมากกว่าคนจบป.4

แต่บางคนไม่เรียนมหาวิทยาลัย เช่น บิล เกตส์ แต่เงินมหาศาล แสดงว่า วัดด้วยปริมาณปีที่เรียนไม่ได้แล้ว ต้องดูว่า เก่งแบบไหน อาจารย์จีระจึงมองว่า ความสามารถของมนุษย์ไม่ได้วัดจากปริมาณแต่วัดจากความจริง ได้ปรัชญาจากรัชกาลที่ 9 คือ “ปริญญาไม่ใช่ปัญญา” บางคนเรียนมากแต่โกง หรือไม่มีเพื่อนเลย ทำให้มีแนวคิดใหม่เรียกว่า 8K’s

K1 ทุนมนุษย์ ต้องลงทุนด้านทุนมนุษย์ต่อไป

ค่ายนี้เป็นค่ายปัญญา ส่งเสริมให้คิดนอกกรอบไม่ใช่ลอก ทุกเช้าอาจารย์จีระอ่านหนังสือ 4 ชั่วโมง เป็นการอ่านแบบมีความสุข

คนเรียนจบปริญญาก็ควรจะมีปัญญาหรือความสามารถในการแก้ปัญหามากขึ้น

K2-8 เป็นทุนลูก เมื่อมีปัญญา ทุนมนุษย์ก็ดีขึ้น ปัญญามาจากวิธีเรียน Learning how to learn ซึ่งเน้นในค่ายนี้ ลูกศิษย์อาจารย์จีระกลับมาหาทุกคนเพราะสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเรา

ทุนทางจริยธรรมตรงกับรัชกาลที่ 9 และท่านอรรถนิติ คนเรียนมาแล้วโกงมากเพราะฉลาด นำทุนทางปัญญาไปโกงเชิงนโยบาย โกงแล้วคนจับไม่ได้ อย่าเป็นคนเก่งแต่โกง

สิ่งหนึ่งที่อาจารย์จีระทำได้ดีมาก คือ Happiness at Work หรือ Happiness in class หรือ Learn and plearn

ความสุขในการแบ่งปันความเห็นเป็นเรื่องสำคัญ ครูควรให้เด็กออกความเห็น

ทุนแห่งความยั่งยืน ยิ่ง 5.0 หรือ 6.0 สำคัญเพราะคนต้องหาความรู้ตลอดชีวิต ต้องบอกพ่อแม่ว่า ถ้าเราเรียนจบแล้ว อายุ 25 ต้องหาวิธีเรียนต่อ ต้องเป็นสังคมการเรียนรู้ อ่านเรื่องอื่นๆด้วย อย่าบ้าตำราเรียนและเกรดเท่านั้น

ถ้าไม่มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ก็จะไม่มีทุนแห่งความยั่งยืน ดาราบางคนขอดังและมีความสุขแค่ 10 ปี เขาคิดว่า ทำศัลยกรรมเดี๋ยวก็ตายแล้ว

Digital Capital ไม่ใช่แค่อินเตอร์เน็ต แต่เป็น Internet of Things

5K’s (ใหม่)

ถ้าเรามีความคิดสร้างสรรค์ มีความรู้

ไทยควรมีทักษะ Robot ต่ต้องมีความรู้ Data, algorithm

ต้องมีนวัตกรรม มีทุนทางอารมณ์

ต้องรู้จักรากเหง้าของตนเอง และรู้ดีเรื่องประวัติศาสตร์ของโรงเรียน

ถ้าเราจะปรับ 8K’s+5K’s มาเป็นสมัยใหม่ ควรปรับ Mindset ความคิดข้างในก่อน เช่น คนเรียนฟิสิกส์เก่งต้องไม่มี Mindset ว่าตนไม่เก่ง คนไม่เก่งต้องปรับความคิดว่าตนสู้ได้

จากบทความล่าสุดของอาจารย์จีระ ตอนเรียนนิวซีแลนด์ อาจารย์จีระบอกตัวเองว่า อย่าให้พ่อและโรงเรียนเสียใจ จึงไปหาข้อมูลมาวิจารณ์ English I ก็ต้องไปอ่านบทความอื่นมาประกอบการวิจารณ์เชคสเปียร์

การปรับ Mindset ในยุคนี้สำคัญมาก คนเก่งต้องพร้อมหาความรู้เพิ่มเติม คนไม่เก่งก็ต้องไม่ยอมแพ้ คนเก่งกับคนไม่เก่งต้องปรับตัวเข้าหากันและเรียนรู้จากกัน ในอนาคต จะมีความรู้ใหม่ๆเข้ามา ต้องปรับ Mindset ด้วย

ข้อสรุปเกี่ยวกับทฤษฎี 8K’s+5K’s (ใหม่)

1. 8K’s+5K’s (ใหม่) ในยุค Disruption แตกต่างจากยุคแรก

 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้พูดถึง 8K’s และ 5K’s มาตลอดระยะเวลา 16 ปี

2. ในยุคอินเตอร์เน็ต (3.0)   8K’s และ 5K’s มีความสำคัญและจะยังมีความสำคัญอยู่ แต่เข้มข้นขึ้น ดังนี้

-ทุนทางจริยธรรม มีความสำคัญและจะยังสำคัญอยู่ ต้องประกาศตนเองว่า รุ่นนี้จะไม่โกง ตอนนี้โลกเต็มไปด้วยความโลภ

-ทุนแห่งความยั่งยืน ศาสตร์พระราชา เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน เรื่องความยั่งยืนสำคัญ คนในอนาคตจะตกงานเพราะโลกเปลี่ยนแปลงมาก คนจะเอาอะไรไปขาย ความยั่งยืนคือ อยู่วันนี้คือวันหน้าอยู่ได้ เมื่อมีวิกฤติเศรษฐกิจ ก็ต้องรู้จักพอเพียง

-ทุนทางปัญญา การรู้จักแก้ปัญหา ต้องมีมากขึ้น ปัญญาต้องลึกซึ้งมากและต้องข้ามศาสตร์ นายกประยุทธ์เน้น STEM แต่ Steve Job มี Design และลูกค้าด้วย การขายของอย่ารู้แต่วิทยาศาสตร์และฟิสิกส์ ต้องทำให้ลูกค้าพอใจด้วย

-ทุนทางสังคม ต้องทำงานแบบมีเครือข่ายมากขึ้น

-ทุนทางนวัตกรรมและทุนทางความคิดสร้างสรรค์มีความเข้มข้นขึ้น

   -ที่จำเป็นมากคือ ทุนทางอารมณ์ ต้องมีการควบคุมอารมณ์

   -ทุนทางวัฒนธรรม ต้องทำงานเป็นพหุวัฒนธรรมมากขึ้น

3. ต่อไปนี้จะต้องมีทุนมนุษย์แบบใหม่ๆเกิดขึ้น เช่น

   - Relationship Capital เป็นทุนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนในองค์กร

   - Intergeneration Capital เป็นทุนที่เกี่ยวกับการทำงานกับคนต่างวัยกัน

อย่าแบ่งแยกรุ่น คนรุ่นเก่าบางคนก็หาความรู้ตลอดชีวิต ต้องเคารพยกย่องคนอายุมากกว่าด้วย ไม่ใช่คิดว่ามีแต่คนรุ่นใหม่ที่เก่งเท่านั้น

   ในอนาคต ทุนต่างๆเหล่านี้ก็จะมีประโยชน์มากขึ้น

4. ต้องมีการปรับ Mindset ของตัวละครที่เกี่ยวข้องคือ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และสังคม

ช่วงแสดงความคิดเห็น

คนที่ 1 นักเรียนเทพศิรินทร์สมุทรปราการ

ตนชอบตั้งคำถาม

อาจารย์มี Mindset ที่ดีจริงหรือที่บอกให้ปรับ Mindset

ที่พูดว่า ไม่แน่จริงเหมือนการเปรียบเทียบ พวกผู้หญิงไม่กล้าทำ

Mindset ที่ดีเป็นอย่างไร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าไม่ปรับ Mindset ก็อยู่ไม่ได้

ผู้หญิงสอบได้ดี แต่เวลายังไม่ค่อยกล้าเป็นผู้นำ สถิติระบุว่า ผู้บริหารที่เป็นผู้หญิงมีน้อย

Mindset ถูกกำหนดจากสิ่งจ่างๆ เช่น ครอบครัว โรงเรียน

บางคนก็คิดว่า ตนเองไม่เก่ง ก็ยอมแพ้

บางคนเรียนเก่ง เวลาไปเรียนต่างประเทศ ครูให้เขียนวิทยานิพนธ์แต่ท้าทายก็ไม่ปรับตัว

คนที่ 1 นักเรียนเทพศิรินทร์สมุทรปราการ

เราไม่ได้เรียนแย่แต่ก็ไม่ได้ดีมาก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ตอนนี้ทุกคนอยู่ใน turning points

เวลาเรียนปริญญาเอก ต้องปรับความคิด ต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับอาจารย์ที่ปรึกษา

คนที่ 2 นักเรียนเทพศิรินทร์

8K’s 5K’ทุกคนต้องมี

ต้องมีอีกทุนเพิ่มออกมาจาก 8K’s คือ ทุนสุขภาพ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

มีคนบอกมากเรื่องทุนสุขภาพ แต่ยังไม่ได้เพิ่ม

ในอนาคต นักเรียนอาจจะนำมาเขียนก็ได้

พูดถูกเรื่องสุขภาพ

ขอบคุณมาก

คนที่ 3 นักเรียนเทพศิรินทร์ 9 โครงการหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์

อาจารย์บอกว่า ทุกวันนี้คนจบปริญญาอาจหางานไม่ได้ ไม่มีความคิดเป็นผู้นำได้ ใบปริญญาวัดคุณค่าคนไม่ได้ เด็กที่จะจบจะเรียนอย่างไร จำเป็นต้องเรียนมหาวิทยาลัยหรือออกไปหาประสบการณ์ชีวิต

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เด็กดอยฉลาด

คำถามนี้นายกก็ยังตอบไม่ได้ แต่ก็ต้องคิด ดร.สุวิทย์ก็เป็นนักเรียนเก่าและค.ร.ม.นี้

ในอนาคต ต้องดูว่า มีงานอะไรเหลือบ้าง จะต้องเรียนรู้งานอะไรบ้าง ครูแนะแนวต้องสนใจการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเศรษฐกิจ

ต้องรู้ว่าชอบอะไรแล้วศึกษาให้ดี มหาวิทยาลัยบางแห่งยังอยู่ได้อยู่

วันแรกที่เข้ามหาวิทยาลัย อย่ามองแค่คณะหรือภาควิชา อาจจะไปเรียนวิชาคณะอื่นด้วย แล้วสามารถมีสังคมที่สามารถคุยกันได้

ดีใจที่ทำให้นักเรียนเปิดกว้าง ต้องมี Mindset ที่พร้อมที่จะเก่ง คนไม่เก่งก็สามารถเปลี่ยนให้เก่งได้ ไอน์สไตน์ก็เคยสอบตกมาก่อน

สิ่งสำคัญคือมุ่งมั่น ไม่ยอมแพ้

Happy กับทั้งสามคำถามนี้

เสวนา : สังคมและวัฒนธรรมการเรียนรู้ในเครือข่ายเทพศิรินทร์..........สู่การนำการศึกษาในศตวรรษที่ 21

โดย ครูในเครือข่ายเทพศิรินทร์

ดำเนินรายการโดย ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ในเอกสารมีทฤษฎีการเรียนรู้ 4L’s ที่สำคัญที่สุดคือ Learning Environment เป็นบรรยากาศการเรียน วันนี้ให้อาจารย์แสดงความเห็นและขอให้นักเรียนมีบทบาทด้วย เมื่อรู้แล้วต้องต่อยอดด้วย

เมื่อปะทะกันทางปัญญา มีความคิดใหม่ แล้วต้องเปลี่ยนเป็นการกระทำ

สิ่งที่พูดกันในวันนี้ เราหวังดีต่อโรงเรียน เรามีประสบการณ์การทำงาน

อาจารย์ถือเป็นหลักของโรงเรียนเพราะต้องอยู่กับนักเรียน ถ้าอาจารย์เก่ง ก็สบายใจ

เมื่อฝึกนักเรียนแล้วต้องฝึกครูด้วย

ถ้าเราสามารถเสริมจำนวนครูมากขึ้น อาจมีหลักสูตร Learning how to learn วิธีการกระตุ้นนักเรียน

ครูยุคนี้ถูกมองเทียบกับยุคก่อน

ครูอายุน้อยแต่พูดจาฉะฉาน ถ้ามี Mindset สู้กับบริบท ก็ทำได้

อยากเห็นโรงเรียนของท่านและการร่วมมือเป็นอย่างไร

ความประทับใจคือ ไม่ค่อยได้ยินครูมาอยู่บนเวทีแบบนี้ วันนี้ประทับใจและขอให้กำลังใจอาจารย์ต่อไป

อาจารย์จีระเขียนถึงท่านกำธน ท่านบอกว่ามีเทพเดียวประกอบด้วย 10 โรงเรียน

ถ้าปรับ Mindset ก็เป็นไอน์สไตน์ได้

ครูเป็นข้าราชการพิเศษคือ มีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้

บางเรื่องที่ครูพูด อาจารย์จีระก็สอนไม่ได้

วันนี้มีความรู้สึกที่ดีมาก

ดร.บุญเกื้อ ตั้งศรีตระกูล

ชมเชยครูทุกท่านที่มา เป็นคนที่มีศักยภาพ เสียสละ แกร่งกล้า

นักเรียนท่านก็จะแสดงศักยภาพให้ครูได้เห็น

ครูบางท่านมาหลายครั้งแล้ว บางคนเพิ่งมา

ท่านกำธนบอกว่า ทุกเทพรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ฝากให้ทำนักเรียนให้เป็นคนดี

นายสัตวแพทย์ กิจ สุนทร

สังคมมองว่า ครูยังไม่ตรงตามความต้องการของสังคม

จีนใช้เวลา 30 ปีพัฒนาประเทศ

ทุกอย่างขึ้นกับกรอบ

ท่ามกลาง Disruption อยู่ในกำมือของครู

คุณกฤช สินอุดม

ดีใจที่เห็นครูทุกท่าน ส่วนใหญ่เป็นครูรุ่นใหม่ กิจกรรมนี้เติมไฟให้ท่านได้ ถ้าท่านเปิดรับทุกเรื่อง

เรื่องที่ท่านวิทยากรพูดต่างจากที่ท่านพบในงาน เป็นโอกาสที่จะหลุดจากโลกใบเดิม

สิ่งที่อาจารย์พูดโดนใจ และสามารถสร้างแรงบันดาลใจนำไปประยุกต์ได้

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครูแต่ละท่านอยากเห็นอะไรต่อจากนี้ไป

ขอยกย่องทีมงานเรื่องวิธีคิดโดยนำครูขึ้นไปก่อน แล้วค่อยเสริมในประเด็นที่คาดไม่ถึง

ครูต้องคิดนอกกรอบ

ครูเทพศิรินทร์พุแค

สิ่งที่อยากจะแชร์ ตอนเรียนม.ปลาย สายวิทย์คณิต เคยอ่อนภาษาอังกฤษ แต่สอบภาษาอังกฤษได้ ต้องเดินหน้าต่อ เพราะสมัยนั้นเปลี่ยนไม่ได้ ไม่ว่าจะเจออะไร ต้องสู้และพัฒนา ศึกษา ขยัน จดศัพท์ ท่องศัพท์ ก่อนหน้าเป็นครู ก็ทำงานที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ การใช้ภาษาทำให้ชำนาญ ต้องเรียนคำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการทำงาน เพื่อให้มีรายได้ให้คืนเงินกยศ.ได้

สู้แล้วต้องมีเป้าหมาย ต่อมาเรียนรู้วิชาชีพครูเมื่อเป็นครูแล้ว เด็กรุ่นแรกเหมือนฝึกครูและนักเรียนไปด้วยกัน

เราทำด้วยกันกับเด็ก อาจจะไม่ใช่การสอนอย่างเดียว ไม่ปล่อยเด็ก

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

พูดอย่างนี้ดี รุ่นเราเกิดมา มันไม่สำเร็จ

รัชกาลที่ 9 บอกว่า ขาดทุนคือกำไร

กลับมา Growth Mindset ไม่ยอมแพ้ บางคนล้มเหลวเพราะคิดว่า ความสำเร็จนั้นยั่งยืน

ของครูคือ Pain is gain.

อนาคตยุค Disruption มีทั้ง Pain and gain มากขึ้น

เรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับมนุษย์ ไม่มีใครเกิดมาแล้วประสบความสำเร็จทันที

ครูเทพศิรินทร์ขอนแก่น

อยากให้นักเรียนนำ social media มาหาความรู้นอกเหนือจากสิ่งที่ครูสอน อาจนำไปสู่อาชีพในอนาคต

ควรเลือกอาชีพจากสิ่งที่ชอบ

ทุกคนตั้งเป้าหมาย ค้นหาตนเองจากสิ่งที่ชอบ เพื่ออนาคตจะได้ดีขึ้น

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ที่ครูพูด อาจารย์จีระชอบมาก คนต้องมีเป้าหมาย

นักเรียนจีนมองว่า เด็กไทยไม่รู้ตัวเองว่ามาเรียนเพื่ออะไร

ต้องมุ่งมั่นสู้ความล้มเหลวแล้วจะเอาชนะได้

ตอนที่เรียนเทพศิรินทร์ ก็ซนมาก ถูกตีทุกวัน แต่ในที่สุดก็เอาชนะมันได้ มีเป้าหมาย

ต้องมีความสุขในการเรียน

ครูเทพศิรินทร์ร่มเกล้า คนที่ 1

ตอนที่อยู่ม.3 ที่โรงเรียนมีการให้คนเกรดเกิน 3 เลือกสายการเรียนได้ จึงเลิกศิลป์ มาเรียนการสอนสังคม มศว. ครูที่โรงเรียนเดิมบอกว่า เรียนไปตกงานแน่นอน แต่ตอนเรียนม.ปลายทำให้ทราบเป้าหมายชัด จึงเดินหน้าต่อ จะไม่เชื่อเมื่อทำสิ่งนั้นด้วยตนเอง

เมื่อเรียนจบ ก็มาเป็นครู แล้วเรียนต่อปริญญาโท จึงเลือกเรียนสาขาสังคมศาสตร์ เพราะเป็นสิ่งที่ตนอยากรู้มากกว่าสิ่งที่สังคมอยากรู้

ตอนมาเป็นครู ทราบว่า นักเรียนต้องการให้ครูพัฒนาตนเองและเข้าใจนักเรียน

แล้วเราจะไม่ต้องมากดดันนักเรียน เราต้องหาจุดเด่นด้านอื่นในตัวนักเรียนแล้วผลักดันเขาด้วยประสบการณ์เรา

ด้วยภาระงานมากมาย แต่มาค่ายต่างๆเพราะมาเรียนรู้ไปพร้อมๆกับนักเรียน กล้ายอมรับผิด เด็กศรัทธาครูที่ยอมรับความจริง

ประทับใจพระเทพ เทคโนโลยีไม่สามารถแทนครูได้ ต้องสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กก้าวไปในอนาคตได้

ครูเทพศิรินทร์ร่มเกล้า คนที่ 2

เวลาสอน ก็เล่าประสบการณ์ตนเองก่อน

เหตุการณ์พลิกผันคือการเลือกแผนการเรียน ครูถามว่า วางแผนเรียนมหาวิทยาลัยหรือยัง

พ่อแม่ไม่เคยบังคับให้เป็นข้าราชการ ตนอยากเป็นครู ตอนเรียนเป็นเด็กหลังห้อง แต่ประทับใจสิ่งที่ครูถ่ายทอด สอนให้รู้จักคิด เป็นแรงบันดาลใจให้ ได้ไปเรียนมหาวิทยาลัยแล้วมาสอบบรรจุ

จากการที่อาจารย์สอนให้คิด ต้องรู้ว่าชอบอะไรแล้วทำให้ดีที่สุด

เทอมที่ผ่านมาได้สอนม.6 ก่อนหน้านี้เคยสอนแต่ม.1 ก็ได้มีโอกาสถ่ายทอดในแบบที่เรียนมา

ต้องให้อิสระทางความคิดแก่เด็ก อยากเห็นนักเรียนใช้ศักยภาพไปพัฒนาต่อยอด

อยากให้นักเรียนเข้าใจตัวเอง ถ้ารู้ความชอบ ให้ทำให้ดีที่สุด

ครูเทพศิรินทร์ปทุมธานี

ตนเป็นเด็กต่างจังหวัดภาคอีสาน และลูกคนโต พ่อแม่คาดหวังให้เป็นครูเพราะมองว่าเป็นอาชีพที่สุดยอด

เมื่อเลือกเรียนแผนวิทย์คณิต เจอครูสอนคณิตศาสตร์ ตนเป็นคนชอบทำกิจกรรม รู้ทุกอย่างแต่ไม่เก่งสักอย่าง มองว่า ตนไม่เก่งอะไรสักอย่าง แต่ทำได้ทุกอย่าง ตอนม.6 จึงเลือกสอบครูประถมวัย ครูคณิตศาสตร์แนะให้ไปสอบเป็นครูคณิตศาสตร์เพราะครูเชื่อว่าทำได้ เมื่อเรียนจบ ยังสอบบรรจุไม่ได้ คิดว่า จะลดภาระพ่อแม่ จึงขอทำงานเป็นครูก่อนในขณะที่ยังสอบบรรจุไม่ได้ สอบไปเรื่อยๆแล้วเพิ่งได้บรรจุ ถือว่า ช้ากว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน บอกตัวเองว่า วันหนึ่งจะต้องทำให้ได้

ความพยายามจะนำพาไปสู่ความสำเร็จ

โลกเทคโนโลยีก้าวล้ำไปเรื่อยๆ จนครูอาจตามไม่ทัน อยากให้นักเรียนเลือกสิ่งที่ชอบแล้วทำให้ดีที่สุด อย่าปิดกั้นตนเองโดยดูถูกตนเองว่า ทำไม่ได้

ค่ายนี้ เคยเห็นบางคนเสนอความเห็น แต่บางคนไม่กล้า อยากให้แย่งกันแสดงความเห็นกันมากขึ้น

ครูคณิตศาสตร์ เทพศิรินทร์ลาดหญ้า

ตอนที่เรียน แรงบันดาลใจที่อยากเป็นครูคือการสอนการบ้านเพื่อน เพื่อนบอกว่าเข้าใจดี เด็กห้องกิฟท์ถูกปลูกฝังให้เรียนสายสุขภาพทำให้ไม่รู้ตัว เลือกโควตาสอบเป็นแพทย์กับเภสัช พลาดทั้งหมด จึงกลับมาทบทวนว่าชอบจริงหรือไม่ ถ้าชอบ ก็จะทำได้ดีกว่านี้

อยากให้เรียนรู้ตนเองให้ไว สรุปแล้วชอบอะไร มุ่งไปตรงนั้นเต็มที่จะได้ไม่เสียเวลาชีวิต

ครูภาษาจีน เทพศิรินทร์ลาดหญ้า

จากการเป็นครูภาษาจีน ประทับใจครูภาษาจีน มีวิธีสอนที่กดดันดี ให้มองภาษาจีนเป็นศิลปะที่ต้องการเรียนรู้และทำความเข้าใจกับมัน ต้องรู้วิธีการนำไปใช้ อย่าท่องจำ แต่ต้องนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันให้ได้ เรียนรู้ คิด วิเคราะห์ตาม แล้วนำไปต่อยอดในอนาคต

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ที่ผ่านมาเป็นประโยชน์ เกี่ยวกับ Mindset เอาชนะอุปสรรคได้

ครูเทพศิรินทร์เชียงใหม่

ตอนแรกไม่อยากมาค่าย เพราะตนเป็นหัวหน้าทะเบียนวัดผล

ตนเป็นหัวหน้าระดับและเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ที่มาค่ายคืออยากให้เด็กได้มาหาประสบการณ์

พบว่า เด็กขาดแรงจูงใจ ยังไม่รู้ตนเอง

อยากให้ค่ายจุดประกาย พบเพื่อนมากมายทำให้ได้ประสบการณ์

การเรียนสำคัญที่สุด เป็นทางเลือกที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

ชอบสิ่งที่เรียน สิ่งที่ชอบกับสิ่งที่ใช่มันไม่ตรงกัน

อย่าทิ้งความชอบ

เราใช้ชีวิตกับสิ่งที่ชอบ ก็ต้องมีสิ่งที่ใช่มารองรับเมื่อไม่เป็นไปตามความคาดหวัง

ตอนที่เรียนจบครูมา ก็เปิดร้านเช่าการ์ตูน แต่เจ๊งเมื่อมีอินเตอร์เน็ตมา เปิดร้านโทรศัพท์ก็เจ๊ง เคยแข่งขายของออนไลน์ E-bay ได้ที่ 1 ของประเทศ แล้วได้ไปดูงาน E-bay สิงคโปร์ ต่อมามาเรียนปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แล้วสอบบรรจุครู ก็ได้ที่ 1 ของจังหวัด เป็นทางเลือก เลือกบรรจุครูก่อนเพื่อความมั่นคง เป็นการเลือกสิ่งที่ใช่ก่อน แล้วสิ่งที่ใช่นำมาสู่สิ่งที่ชอบ สิ่งที่ชอบมันเกื้อหนุนก่อน

ตอนหลังธนาคารนำคอมพิวเตอร์มาทำงานแทนจนจึงปิดสาขาลงมาก

เมื่อได้เป็นตัวแทนค่าย ต้องก้าวข้ามอุปสรรค ถ้าตั้งใจเรียน จะทำให้มีทางเลือกที่หลากหลายขึ้น

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ค่ายนี้ ทำมากว่า 10 ปีแล้ว

อาจจะได้พบวัฒนธรรมการเรียนรู้ เป็นทีม และตลอดชีวิต มีความข้ามศาสตร์ เป็นความจริงของชีวิต

สีจิ้นผิงมีหนังสือออกมาว่า อะไรไม่ตรงความจริง อย่าทำ

ต้องเรียนเพื่อเอาชีวิตให้รอดก่อน อาจไม่ต้องเรียนก็ได้ แต่ต้องไม่หยุดการเรียนรู้ สิ่งที่สำเร็จเร็ว อาจจะล้มเหลวต่อมาก็ได้

เรียนแล้วต้องนำไปปะทะกับของจริง

ค่ายนี้ทำให้หลุดออกจากกรอบ

การอ่านหนังสือ การแลกเปลี่ยนความเห็น การหาความรู้เป็นเรื่องสำคัญ

เวลาเวียดนามมา เขาขอไมโครโฟนเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ เป็น Bus Seminar เวียดนามถามทุกเรื่อง มีความข้ามศาสตร์ วิทยาศาสตร์กับสังคมศาสตร์ต้องผสมผสานกันเพราะโลกปัจจุบันไม่แบ่งสาขาแล้ว

ขอบคุณท่านอาจารย์ที่ได้แสดงความเห็น

การหาความรู้ตลอดชีวิตสำคัญ ความรู้ที่ได้วันนี้อาจจะล้าสมัยเร็วกว่า 3 ปี

ครูเทพศิรินทร์ 9 โครงการหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์

สิ่งที่ยากสุดคือ การเริ่มต้น

วันนี้มาค่ายเป็นครั้งแรก เมื่อมาอยู่ที่นี่ ก็ได้เรียนรู้ว่า ทุกคนเท่ากันจริง ดีใจมากที่ได้มาอยู่ที่นี่

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าเรายอมรับว่า คนอื่นเก่ง ประเทศก็อยู่ได้

สิ่งที่พูดคือความสามัคคีของประเทศไทย

เทพศิรินทร์ผลิตบุคลากรชั้นนำของประเทศและโลก

วันสุดท้ายก็อาจจะได้แลกเปลี่ยนความเห็นกันอีก

จากการฟังวันนี้ ทำให้ได้รับความรู้มาก และคิดว่า น่าจะมีโอกาสได้ถ่ายทอด

วันนี้ที่ครูพูดก็มีความหวังสำหรับครูเทพทุกแห่ง

ควรมีค่ายให้ครูใกล้ชิดนักเรียนเก่ามากขึ้น

ครูเทพศิรินทร์สมุทรปราการ

นักเรียนที่มาผ่านกระบวนการทดสอบ สอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ 2 รอบ

การมาค่ายนี้ นักเรียนต้องการมาเป็นผู้นำด้านความคิด นักเรียนมีแนวคิดอย่างไรในเรื่องเศรษฐกิจปัจจุบัน แม้นักเรียนมองว่าไกลตัว แต่ในอนาคตจะต้องพัฒนาชาติต่อไป ต้องเป็นน้ำไม่เต็มแก้ว เติมความรู้ตลอดเวลา ก็จะเรียบเรียงแล้วถ่ายทอดให้คนรอบข้างได้อีก อยากให้นำสิ่งที่ได้จากค่ายไปแบ่งปันให้เพื่อน

นักเรียนมาจากพื้นฐานที่หลากหลาย จะทำให้ได้ความคิดหลายมุมมอง

ต้องมีการแบ่งปันความรู้กัน รวมกันเป็นหนึ่งแล้วไปพร้อมกันได้

เพื่อนครูเคยสอนนักร้องเกาหลี ตอนเรียนเขามีความหวังไปฝึกฝนจนประสบความสำเร็จในปัจจุบัน

ควรทำในสิ่งที่ชอบแล้วประสบความสำเร็จ แชร์ออกมาทำให้เป็นแรงบันดาลใจคนรุ่นต่อไป

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คนคิดไม่เหมือนกันไม่เป็นไร

ทุกคนเป็นความหวังสร้างความสำเร็จให้ประเทศ

ครูบนเวทีนี้ทำให้อาจารย์จีระศรัทธาครูมากขึ้น

Mindset มาก่อนทัศนคติ หลายท่านพูดเรื่องการปรับ Mindset

ครูเทพศิรินทร์

1.อยากให้นักเรียนรู้ตัวเอง อยากทำอะไรก็ลอง

2.โอกาสไม่ได้มีทุกวัน เราเป็นผู้สร้างโอกาส เมื่อมีโอกาส ต้องทำให้เต็มที่

3.กล้าปรับเปลี่ยนและพร้อมที่จะเปลี่ยน จะอยู่ได้อย่างมีความสุข

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สีจิ้นผิงบอกว่า เมื่อมีโอกาสแล้ว อย่าพลาด มันไม่ได้มีบ่อย ต้องมีความพร้อมในการคว้าโอกาส ความสำเร็จของคนขึ้นกับจังหวะของชีวิต

สิ่งที่อาจารย์พูดเปลี่ยนความคิดอาจารย์จีระ

กระทรวงศึกษามักมองครูมุมเดียว ครูมีศักยภาพมหาศาลแต่ไม่ได้มีการลงทุนในการลงทุนในครูอย่างต่อเนื่องต่างจากบริษัทใหญ่ๆ

การไปเรียนเมืองนอกเป็นการเปิดโลกทัศน์ที่ดี ไม่มีงบพัฒนาคน

ความคิดเห็นจากนักเรียน

คนที่ 1 นักเรียนเทพศิรินทร์ขอนแก่น

ครูคิดว่า เป็นครูที่ดีสำหรับนักเรียนหรือยัง

คนที่ 2

โรงเรียนในเครือเทพศิรินทร์สามารถพัฒนาหลักสูตรเทียบเท่าเทพศิรินทร์ใหญ่ได้ไหม

ครูเทพศิรินทร์สมุทรปราการ

ครูเราเคยได้ทำ Workshop หลักสูตรเทพศิรินทร์ จะให้นักเรียนทั้งหมดรู้ความเป็นมาหรือบริบทของเทพศิรินทร์

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เป็นคำถามที่ดี

หลักสูตรใกล้เคียงกันก็เป็นประโยชน์

คนที่ 3 นักเรียนเทพศิรินทร์

วันนี้ได้ความรู้มาก

อย่างที่ครูหลายคนบอกทุกคนล้วนแตกต่าง ถ้าเราคิดต่างจากคนที่อาวุโสกว่า เราจะแสดงความเห็นอย่างไร

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ในเมืองไทย เราต้องยกย่องให้เกียรติอาจารย์ ต้องทำให้ครูให้เกียรตินักเรียนด้วย

ครูเทพศิรินทร์

ปัจจุบันโลกเปลี่ยน เด็กมีสิทธิ์แสดงความเห็นมากขึ้น

ครูต้องปรับตัวเข้าหาเด็ก ต้องเข้าใจว่า เด็กต้องการรู้มุมมองใหม่จากครูจริงๆ

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรแสดงความเห็นด้วยก่อน แต่นำเสนอว่า หาข้อมูลจากแหล่งอื่นแล้วจึงขอนำเสนอแนวทาง

ควรฝึกวิชาการถ่ายทอดการสื่อสาร Communication Capital สื่อสารแบบยกย่องให้เกียรติกัน

คนที่ 3 นักเรียนเทพศิรินทร์

ความสุขในการทำงานเป็นครูเกิดจากอะไร

ครูเทพศิรินทร์เชียงใหม่

ได้เห็นนักเรียนพัฒนาตนเองเพิ่มขึ้น

ครูเล่าประสบการณ์เพื่อถ่ายไม่ให้เจอประสบการณ์แบบครูแล้วพัฒนาตนเอง

ครูมีวิธีการพัฒนานักเรียนต่างกันไป เช่น ให้คะแนนตามความเป็นจริงเพื่อให้นักเรียนพัฒนาตนเอง แล้วรู้ความถนัดของตนเองเพื่อวางแผนการเรียนและอาชีพในอนาคต

ความดีของครูขึ้นอยู่กับว่า นักเรียนจะเห็นความจริงใจของครูหรือไม่

ครูมีทั้งดีและไม่ดี ต้องรู้จักแยกแยะ ถ้าแบบใดไม่ดี ก็ไม่ต้องทำตาม ถ้าพบครูไม่ดี ก็อาจจะไปเรียนผอ.

คนที่ 4

ครูคิดว่า นโยบายการแก้ปัญหาพฤติกรรมนักเรียนทำได้จริงหรือไม่

คนที่ 5

ครูคิดอย่างไรเกี่ยวกับระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนตลอดและจะปรับการสอนอย่างไร

คนที่ 6

ครูจะได้อะไรจากค่ายนี้และจะปรับใช้ในการสอนอย่างไร

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ดีมาก

คนที่ 7

ถ้าเด็กสนใจความสุขตนเอง แต่ไม่สนคนอื่นจะทำอย่างไร

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ดีมาก

เคยดูรายการทีวีดาวเทียมเมืองไทยมีความสุขมาก ตอนนี้ทุกอย่างฟรีหมด Social media ก็เปิดเสรี

ครู+วัด+ครอบครัว

สื่อตอนนี้ไม่พูดถึงคุณธรรมจริยธรรม

ถ้าติดยาหรือการพนัน ก็ไม่รอด โลกในอนาคตเต็มไปด้วยความโลภ

ถ้าปลูกฝังค่านิยม ก็เป็นประโยชน์มาก

ครูเทพศิรินทร์

บางทีในโรงเรียนไม่มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิด นี่เป็นโอกาสปรับเปลี่ยนไปด้วยกัน

ครูจะปรับตัวให้เข้าใจนักเรียนมากขึ้นและหวังว่า นักเรียนจะเข้าใจครูมากขึ้น

นายสัตวแพทย์ กิจ สุนทร

คุณครูจะได้อะไรก็ต่อเมื่อสองวันพรุ่งนี้นักเรียนได้อะไร ให้ข้อคิดเห็นอะไร แล้วครูจะนำไปปรับใช้อะไรบ้าง

สิ่งที่นักเรียนคาดหวังก็คือการนำไปรับใช้กับการเรียนการสอน คงได้ความรู้ ความคิดสำหรับการทำ Workshop ต่อไป

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอชมเชยครูทั้ง 10 ท่าน

ประทับใจมาก อยากจะมีโอกาสได้ติดต่อประสานงานต่อไป

นอกจากค่ายนี้อยากจะไปเยี่ยมโรงเรียนแต่ละแห่ง อยากพบครู ลูกศิษย์และผู้ปกครอง

จะพูดเกี่ยวกับสถานการณ์ในตอนนั้น เช่น เรื่องระหว่างประเทศ สิ่งแวดล้อม การเมือง ทำให้โลกทัศน์คนเทพศิรินทร์กว้างขึ้น อย่าเก่งแคบและโง่กว้าง

เทพศิรินทร์สอนให้เป็นผู้นำเปลี่ยนแปลงประเทศได้

อาจจะเป็นแนวร่วมกัน

ขอขอบคุณอาจารย์ทั้ง 10 ท่าน

วันที่ 20 ตุลาคม 2562

Workshop & Presentation & Comment :

Trade War…!!!. . .&. . . Thai Economy Transform…(Final)

โดย ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผศ. พงษ์ศักดิ์ กรรณล้วน

ดร.บุญเกื้อ ตั้งศรีตระกูล

นายสัตวแพทย์ กิจ สุนทร

กลุ่ม 1 Education Transform การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา

ความสำคัญการพัฒนาการศึกษา

ถ้าไม่พัฒนา ทำให้ประเทศเสียหาย ปัจจุบัน เด็กลาออกจากระบบการศึกษามาก

วิธีการ

เริ่มจากครูแนะแนวช่วยชี้แจงระบบการศึกษาให้เด็กเข้าใจมากขึ้น

ข้อเสนอแนะ

ควรสอนเทคโนโลยีให้เด็กเตรียมตัว

ใช้ 8K’s แก่เด็กเพื่อต่อยอดอนาคต

ปฏิรูปหลักสูตรเก่าๆ เปลี่ยนจากคำถามท้ายบทเป็นการลงมือทำ

ผลิตบุคลากรที่ให้ความรู้ ต้องทำให้ปรับตัวเข้ากับเด็กได้ด้วย

เรียนรู้ตลอดเวลา พัฒนาทุกอย่างให้ก้าวหน้าขึ้น จะพัฒนาจากจังหวัดรอบนอก ติดเชื้อความรู้กัดกินเข้าสู่กรุงเทพ

ควรนำดิจิตอลมาเสริมการศึกษา

ความเชื่อผิดๆ

คนส่วนมากตัดสินจากเกรดเฉลี่ยของเด็ก

กฎระเบียบโรงเรียนมียาวนาน เช่น การตัดผมไม่เกี่ยวกับการเรียนเก่ง ห้องเรียนร้อยปีที่แล้วไม่ต่างจากปัจจุบัน

ค่านิยมและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ให้ความสำคัญกับชื่อเสียงโรงเรียน

ความคิดเห็น

คนที่ 1

อยากให้เมืองใหญ่ในแต่ละภาคช่วยกระจายการศึกษา จะทำได้มากกว่าขยายจากจังหวัดรอบนอกเข้ากรุงเทพ

คนที่ 2

เกรดเป็นความรับผิดชอบของนักเรียนในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย เราต้องให้ความสำคัญ

กลุ่ม 1

มาตรฐานแต่ละโรงเรียนต่างกัน มีผลต่อเกรดด้วย

คนที่ 3

ขอเสริมเรื่องการแต่งกาย มันไม่ส่งผลการศึกษา แต่สะท้อนวินัยของนักเรียน ถ้าไม่มีวินัย ประเทศล่มจม

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอชมเชยกลุ่มนี้ทำงานเป็นทีม ประเด็นหลากหลาย

เริ่มด้วยการศึกษาคือมนุษย์

การศึกษาของประเทศไทยอ่อนแอ

ถ้าเราทำต่อ กลุ่มนี้ควรมีไลน์ของตัวเอง

อาจารย์จีระก็เคยพูดเรื่องการศึกษาระดับชาติ

ที่เวียดนาม รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาเป็น 10 ปี และเลือกสุดยอดนักวิชาการมาเป็นต่างจากประเทศไทยที่ขาดความต่อเนื่อง

ประเทศไทยมีปัญหาการศึกษาตั้งแต่ระดับการเมือง ไม่ได้ให้โอกาสทางการศึกษา มีโรงเรียนดีเพียงจำนวนน้อย

ประเทศไทยขาดทุนทางจริยธรรม มีการฮั้วกัน นำเด็กไปประท้วง

ขอให้กลุ่มนี้ย่อยเป็นหัวข้อต่างๆ แล้วทำต่อ

ส่วนรุ่นต่อไป ควรนำรุ่นพี่เป็นหลักให้ทำต่อ

สื่อสังคมออนไลน์ทำให้การศึกษาไทยเสียหาย

ขอให้กลุ่มนี้กระชับพื้นที่ เลือก 3 หัวข้อที่เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนแล้วสร้างไลน์กลุ่มทำต่อ

ตอบได้ดี ตรงประเด็นแต่ยังไปปฏิบัติไม่ได้

กลุ่ม 7 Innovation Transform การเปลี่ยนแปลงทางนวัตกรรม

นวัตกรรมคือ การทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงการคิด ผลิต กระบวนการและองค์กร

ต้องมีความแปลกใหม่ชัดเจน

เป้าหมายนวัตกรรมเน้นเชิงบวกเพื่อแก้ไขปัญหา ตอบสนองความต้องการของมนุษย์

พลังงาน มนุษย์ใช้มากขึ้น คิดนวัตกรรม เช่น Solar cell

ระยะแรก คนคิดนวัตกรรมได้ช้า ใช้เวลาร้อยปีกว่าจะคิดได้

ระยะหลัง คนคิดนวัตกรรมได้เร็วขึ้น

ชุมชนเศรษฐกิจดีมีความคล่องตัวในการสร้างนวัตกรรมมากว่า

นวัตกรรมที่ส่งผลด้านเศรษฐกิจ

ถ้านำมาใช้ทำงานแทนคน ก็ลดการจ้างคน

บางประเทศที่ไม่ได้รับผลกระทบ

ไทยเน้นภาคบริการ พวกหุ่นยนต์ยังทำแทนมนุษย์ได้ไม่ดีนัก

นวัตกรรมอาจลดความเหลื่อมล้ำของมนุษย์

การแข่งขันทางเศรษฐกิจ เช่น โทรศัพท์มีการพัฒนาเพื่อความอยู่รอดและสร้างประโยชน์ต่อสังคมได้

นวัตกรรมสร้างประโยชน์และข้อเสีย

มนุษย์ต้องควบคุมนวัตกรรม

Design Thinking เป็นนวัตกรรมความคิดสำหรับสร้างนวัตกรรมต่อไป

ระบุปัญหาและแนวทางทดลองปฏิบัติ

นำความคิดมาต่อยอดให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

ความคิดเห็น

คนที่ 1

การเข้ามาของนวัตกรรมอย่างน้อยก็มีส่วนทดแทนคน

กลุ่ม 7

บางประเทศอาจไม่ได้รับผลกระทบจากนวัตกรรมที่นำเข้ามาทำงาน เช่น ประเทศไทยเด่นด้านบริการ

คนที่ 2

นวัตกรรมไม่ทำให้คนมีเงินตกงาน แต่คนไม่มีเงินก็ตกงาน

คนที่ 3

จะตกงานหรือไม่ขึ้นอยู่กับการปรับตัว

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การศึกษาต้องสอนให้คนคิดไม่ใช่แค่ลอก

ในการเรียนที่ต่างประเทศ คนที่จะได้เกรด A จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์

ครูบางคนไม่รู้เรื่อง Design Thinking

นวัตกรรมต้องมาหลังจากปัญญาและจริยธรรม

ต้องมีคุณธรรมจริยธรรมกำกับนวัตกรรมด้วย

กลุ่มนี้น่าจะเรียนด้านวิทยาศาสตร์

ขอแสดงความยินดีด้วย

กลุ่ม 6 Communication Networking Transform การเปลี่ยนแปลงทางเครือข่ายการสื่อสาร

5G เป็นเทคโนโลยีทางการสื่อสารล้ำสมัยกำลังจะเข้ามา มีทั้งดีและเสีย

ข้อดี

ประมวลผลเร็ว

ความสามารถทำงาน

พัฒนาเทคโนโลยีเร็วสูงในการดาวน์โหลด

ประหยัดเวลาในการทำสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน เช่น การสมัครงานผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

นำข่าวสารจากทั่วทุกมุมโลกเข้ามาในประเทศ นำมาสร้างเป็นช่องทีวีเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจประเทศและโลก

ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมศึกษาวางแผนการกัดเซาะชายฝั่ง

ข้อเสีย

ปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวน้อยลง

ทุกคนพร้อมเข้า 5G หรือไม่

ความคิดเห็น

คนที่ 1

ความคุ้มในการทำทีวีมีน้อย แต่ละคนดูช่องยูทูปจากโทรศัพท์มือถือ ประหยัดได้มากกว่า

นายสัตวแพทย์ กิจ สุนทร

เป็นหัวข้อที่น่าคิด

ทุกคนบริโภคสื่อ เราเป็นทาสหรือเจ้านายของสื่อ

คนไทยใช้สื่อเพื่อความบันเทิงมากกว่าหาความรู้ คุ้มค่าไหม

ถ้าไทยมีสื่อเอง มีประโยชน์กว่าไหม

จะบริหารจัดการเนื้อหาสื่อภาษาต่างประเทศได้อย่างไร ปัญหาคือคนไทยไม่เก่งภาษาต่างประเทศจึงเก็บเกี่ยวประโยชน์ได้น้อย

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เวลาที่เรียนมหาวิทยาลัย อย่ากลัวภาษาอังกฤษหรือภาษาจีน

ถ้ามีความรู้แต่ถ่ายทอดไม่ได้ ก็มีปัญหา จะเป็นผู้นำได้อย่างไร

หัวข้อนี้ดีมาก

กลุ่ม 2 Science Technology Transform การเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

เมื่อเทคโนโลยีมากขึ้นจะมาแทนแรงงานคน เพราะทำงานได้มีประสิทธิภาพรวดเร็วกว่า คนต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย

สื่อสังคมออนไลน์ช่วยหาความรู้ได้เร็ว สามารถติดต่อกับเพื่อนที่จากกันไปได้โดยประหยัดค่าใช้จ่าย

สื่อสังคมออนไลน์อาจมีข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ ต้องใช้วิจารณญาณ

บางครั้งมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์หลอกลวง และขโมยข้อมูล

สื่อสังคมออนไลน์ทำให้การเมืองเปลี่ยนแปลงไป เมื่อไม่มีความมั่นคงทางการเมือง คนมีความเครียดมากขึ้นอาจจะทำให้ก่ออาชญากรรมได้

Cyberbully ตอนนี้เป็นปัญหามาก เป็นการระบายความไม่ชอบผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ควรใช้วิจารณญาณพิจารณาผลกระทบก่อนจะแสดงความคิดเห็น

การเหยียดเพศที่ 3 เป็นความคิดแบบโบราณ เวลาถูกด่า คนกลุ่มนี้รู้สึกเจ็บจนตาย

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นเรื่องของมนุษย์และคุณธรรมจริยธรรม

ดร.บุญเกื้อ ตั้งศรีตระกูล

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สำคัญสุดคือการศึกษาอบรมเพราะเป็นตัวแปรในการเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆ ของสังคม

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สื่อสังคมออนไลน์ช่วยคนระบายความเครียดแต่ก็สร้างปัญหามากมาย

ต้องเข้มแข็ง มีเหตุผล

ขอบคุณที่พูดถึงคุณธรรม จริยธรรม

นายสัตวแพทย์ กิจ สุนทร

ข้อมูลข่าวสารจากหนังสือพิมพ์และทีวีต่างจากสื่อสังคมออนไลน์เพราะหนังสือพิมพ์และทีวีมีบรรณาธิการรับผิดชอบข่าว แต่สื่อสังคมออนไลน์ไม่มี

กลุ่ม 5 Political Transform การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

การเปลี่ยนแปลงการปกครองจะขึ้นกับเศรษฐกิจของโลก

ในอนาคต การเปลี่ยนแปลงการเมืองจะมาจากเศรษฐกิจโลกและความอุดมสมบูรณ์ของประเทศ

อยากให้รัฐบาลมองความเป็นอยู่ของประชาชน ควรนำเงินมาพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนมากกว่าไปซื้ออย่างอื่น

ในอนาคต ประชาชนจะถูกควบคุม ฝ่ายค้านจะมีอำนาจลดลง

ดร.บุญเกื้อ ตั้งศรีตระกูล

ต้องมีการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมการเมือง การปกครอง

กลุ่ม 3 Environmental Transform การเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมเป็นผลมาจากกการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม

เมื่อเกิดสงครามการค้า ประเทศมหาอำนาจแข่งกันด้วยวิธีต่างๆ ส่งผลต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำเสีย มลพิษทางอากาศ

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทำได้ตรงและอ้อม

ทางตรง

ใช้อย่างประหยัด

นำกลับมาใช้ซ้ำ

บำบัดฟื้นฟู

ทางอ้อม

พัฒนาประชาชนให้ร่วมมืออนุรักษ์จริงจัง

ใช้มาตรการทางกฎหมาย ตั้งชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ส่งเสริมประชาชนให้มีส่วนร่วม

ส่งเสริมวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีบริหารทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอชมเชย

วิทยาศาสตร์มีทั้งช่วยและทำลายสิ่งแวดล้อม

การกล่าวถึงจิตสำนึกเป็นเรื่องดีมาก

ควรเรียนด้านเศรษฐศาสตร์และสิ่งแวดล้อม

ธรรมชาติอยู่ได้โดยไม่มีมนุษย์ แต่มนุษย์ขาดธรรมชาติไม่ได้

ในอนาคต จะมีรถที่ใช้น้ำมันจำนวนน้อยลง แต่จะมีรถใช้พลังงานทดแทน เช่น รถไฟฟ้ามากขึ้น

กลุ่ม 8 Science Technology Transform การเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

วิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าได้ไม่มีที่สิ้นสุด

ที่สหรัฐอเมริกามีการฝังไมโครชิพเก็บข้อมูลทางการแพทย์ของผู้ป่วยทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น

การศึกษาก็มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ด้วยการเกิดเทคโนโลยีหรือ AI

ในอนาคต อาจจะมีการเรียนโดย Application หรือฝังไมโครชิพในสมอง เป็นการใช้สมองเพียงเล็กน้อยแต่เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้มากขึ้น

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะพัฒนาไปเรื่อยๆ เพื่อตอบสนองให้มนุษย์สะดวกสบาย เช่น การซื้อของผ่าน Application ใช้อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ทำงานที่บ้าน ใช้ระบบ AI ทำงานซ้ำๆ

ต้องปรับตัวให้เข้ากับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ความคิดเห็น

คนที่ 1

การฝังไมโครชิพถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่ ดูเหมือนกับไม่ต่างจากการควบคุมหุ่นยนต์

กลุ่ม 8

การฝังไมโครชิพเป็นสิทธิ์แล้วแต่บุคคล ไม่ได้ฝังทุกคน จะเลือกใช้ระบบเดิมก็ได้

คนที่ 2

แม้จะฝังไมโครชิพ คนก็ยังมีอารมณ์และความรู้สึกอยู่

นายสัตวแพทย์ กิจ สุนทร

อาจารย์จีระพูดถึงรถไฟฟ้า

การพัฒนารถไฟฟ้าในไทยไม่ได้ช่วยลดมลภาวะ แต่กระบวนการผลิตไฟฟ้าทำให้เกิดมลภาวะเพราะมาจากพลังงานฟอสซิล

กลุ่ม 5 Cultural Transform การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม

มนุษย์สร้างวัฒนธรรมขึ้นเพื่อความสะดวกในการดำเนินชีวิต

วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างและยอมรับในบริบทของสังคมแล้วสืบทอดต่อๆกันมา

วัฒนธรรมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวให้กับสังคม โดยต้องปฏิบัติตามวัฒนธรรมให้ถูกต้อง

สงครามการค้าทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ เช่น วัฒนธรรม ทำให้คนในชาติรักใคร่กลมเกลียวแล้วสามารถพัฒนาประเทศได้ต่อไป

สงครามการค้าก็ก่อให้เกิดวิกฤติทางด้านวัฒนธรรมด้วย ทำให้ชีวิตคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป วัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาแทนที่

การพัฒนาวัฒนธรรมต้องเริ่มจากระดับบุคคลแล้วขยายออกไปสู่สังคมวงกว้าง ทำให้คนมีคุณภาพมากขึ้น มีความคิดที่จะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

สมัยก่อน บ้านเรือนอยู่ใกล้ชิดกัน วัฒนธรรมของชาวไทย ตื่นเช้าขึ้นมาก็ยิ้มและทักทายกัน เป็นวัฒนธรรมที่ดีต่อกัน

ปัจจุบัน การอยู่อาศัยของผู้คนเปลี่ยนไป การอยู่อาศัยเป็นบ้านเดี่ยวหรือทาวน์เฮ้าส์ ทำให้วัฒนธรรมการอยู่อาศัยและแก้ปัญหาในชุมชนแตกต่างกันไป

สงครามการค้ามีผลต่อเศรษฐกิจและเศรษฐกิจก็จะส่งผลต่อวัฒนธรรม เพราะเศรษฐกิจทำให้วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไป

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ท่านผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ขอนแก่นเป็นเจ้าภาพที่น่ารักมาก โครงการนี้ทำให้ได้ความรู้มากจึงขอเชิญท่านในฐานะเจ้าภาพได้กล่าวแสดงความคิดเห็นด้วย

นายจงจิต ดวงสนาม ผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ขอนแก่น

ผมเป็นเด็กบ้านนอกยากจน เมื่อมาได้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ก็ถือว่าเป็นบุญ ยิ่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเครือข่ายเทพศิรินทร์ก็เป็นบุญมากกว่า

เมื่อ 2 วันที่ผ่านมาก็ได้สร้างเครือข่ายให้เทพศิรินทร์ขอนแก่น ใช้แรงตัวเองโดยเล่นฟุตบอลการกุศลเพื่อที่จะนำแรงพลังจากขอนแก่นมาให้เทพศิรินทร์

โครงการนี้สิ่งที่ได้คือความรู้จากการเรียนรู้ในห้องเรียน ไอทีและทุกอย่าง

นี่คือค่าย Knowledge Camping ของนักเรียนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เมื่อนักเรียนแต่ละคนออกมาพูดก็มีคำถามที่บางคนอยากจะมาพูดแต่ไม่มีโอกาส แต่จะบอกเป็นเชิงลึกว่า ถ้าจะมาเอาความรู้จริงๆ ขอให้จำไว้ 3 เรื่อง

1.ต้องรู้ตัวเอง คือต้องรู้ให้ชัดในเรื่องที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

2.รู้ลึก เป็นระดับที่มากกว่าชัด

3.รู้กว้าง คือมองภาพรวมในสังคมที่เราอยู่

มีเงื่อนไข 2 เงื่อนไขที่จะนำไปใช้

1.ความรู้ ซึ่งเป็นเรื่องที่หาได้จากไอทีจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

2.แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่มากับความรู้ก็คือคุณธรรม

รู้สึกประทับใจมากที่ให้โอกาสแก่โรงเรียนเทพศิรินทร์ขอนแก่นเป็นเจ้าภาพ

ขอขอบพระคุณผู้อำนวยการทุกโรงเรียนในเครือข่ายเทพศิรินทร์ เจ้าของสถานที่จัดงาน และวิทยากร

โครงการนี้จะช่วยพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนเทพศิรินทร์ในอนาคต

นายสุพจน์ หล้าธรรม ผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์

ขอขอบพระคุณอาจารย์จีระ ท่านวิทยากรและผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ขอนแก่น

ได้ฟังท่านวิทยากรพูดแล้วก็ชื่นใจ

ค่ายนี้ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งที่เห็นท่านวิทยากรผู้ทรงคุณค่าซึ่งเป็นนักเรียนเก่าที่มีความรักและกตัญญูต่อสถาบัน ได้มีโอกาสให้ความรู้และคำแนะนำที่ดีต่อรุ่นน้องถือว่าเป็นรุ่นพี่ที่ดีเยี่ยม

ขอให้นำความรู้และแนวคิดไปประยุกต์ใช้เพื่ออนาคตตนเองและสถาบัน

นอกจากความรู้แล้วกิจกรรมนี้เป็นการสร้างความรักความสามัคคีสร้างความเป็นหนึ่งของความเป็นเทพศิรินทร์ และสำคัญยิ่งได้มีโอกาสพัฒนาน้องๆรุ่นใหม่ๆให้มีความรู้ได้มีประสบการณ์

ขอให้ทุกคนได้นำความรู้และประสบการณ์ในครั้งนี้ที่ผู้ใหญ่ให้มาและที่นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนและศึกษาในอนาคตตลอดจนการพัฒนาประเทศชาติและสถาบันของเรา

ทั้ง 10 โรงเรียนในเครือข่ายเทพศิรินทร์มีความตั้งใจจะพัฒนานักเรียนให้เป็นคนดีและคนเก่งและประสบความสำเร็จในชีวิตในอนาคต

ขอขอบคุณอาจารย์จีระท่านวิทยากรและคุณกฤชและทีมงานเป็นอย่างยิ่งได้เสียสละทุกเรื่องเพื่อเยาวชนเทพศิรินทร์ให้เป็นคนที่มีคุณค่าต่อสังคม

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เวลามาที่ค่ายนี้ประทับใจที่ว่า คุณสำเร็จ โชติมงคล นายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์เลือกสถานที่มีที่พักสบายมีการอำนวยความสะดวก ท่านกับผมช่วยเหลือกันมาตั้งแต่สมัยที่ยังไม่มีสมาคม ตอนที่ผมเป็นนายกสมาคม ท่านก็เป็นเลขาธิการสมาคม

นายสำเร็จ โชติมงคล นายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์

ขอขอบคุณอาจารย์จีระซึ่งท่านก็เป็นรุ่นพี่ของผม แล้วยังขอขอบคุณผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์และผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ขอนแก่น

น้องๆที่ได้มาที่ค่ายนี้เป็นผู้ที่โชคดีที่สุด ในกิจกรรมของเทพศิรินทร์ของเราที่จะช่วยเหลือโรงเรียนในเครือทั้งหมดกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญและโรงเรียนให้ความเอาใจใส่เป็นอย่างดีมาก ใน 3 วันไม่มีกิจกรรมใดที่ใช้เวลานานเท่านี้

น้องๆคงจะกอบโกยความรู้ทุกอย่าง ทุกคนต้องมีความดีนอกเหนือจากความเก่ง

การเป็นคนกล้าตัดสินใจเป็นสิ่งที่ดี ขอให้ตั้งอยู่ในความถูกต้อง

สถานที่จัดงานนี้มีธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ มีทั้งน้ำและภูเขา ขอให้เรารักธรรมชาติอยู่กับธรรมชาติและรักษาธรรมชาติ

ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมเป็นคนที่ใช้แนวเทพเป็นหนึ่ง แล้วท่านกำธน สินธวานนท์ก็ได้จากเราไป สมัยก่อนท่านเคยมาเปิด Knowledge Camping เราต้องรำลึกถึงผู้นำที่จากไปแล้ว ท่านบอกว่าไม่มีเทพใหญ่เทพเล็ก แต่มีเทพเดียว ท่านพูดกับผมตลอด

ในการทำเรื่องคนให้ประสบความสำเร็จ ต้องทำอย่างต่อเนื่องชนะเล็กๆ กลับไปบ้านหรือก่อนจะไปควรจะเขียนไว้ 3 เรื่อง ว่าได้อะไร อย่างไรก็ตามก็มีช่องว่างอยู่

น้องๆควรออกไปชนบทด้วยเพื่อเรียนรู้ธรรมชาติ

ขอขอบคุณผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ขอนแก่นและโรงเรียนอื่นๆในเครือข่ายเทพศิรินทร์ รวมถึงทีมงานคุณกฤชอันที่จริงแล้วเราเคยทำร่วมกันในระดับอาเซียนด้วย

สิ่งที่ผมต้องการรับใช้โรงเรียนก็คือเป็นคนดีและมาช่วยงานในเวลาที่ต้องการ

ผู้แทนกลุ่ม 3 กล่าวขอบคุณวิทยากร

ขอขอบพระคุณอาจารย์จีระทางโรงเรียนและคณะผู้จัดงานที่ทำให้โรงเรียนเทพศิรินทร์ 10 แห่งได้มาพบกัน ขอบคุณที่ช่วยเสริมสร้างมิตรภาพให้พวกเรา

รายการวิทยุ

รายการวิทยุ 2

บทความ

บทความ2

บทความ 3

สรุปประเด็นสำคัญข้อเสนอแนะจากครู

รูป1

รูป2

รูป3

#KCD2019

หมายเลขบันทึก: 670859เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2019 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2019 16:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท