สงครามเย็น


สงครามเย็น [ Cold War ] ค.ศ. 1945 - 1991

           สงครามที่เกิดจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจเกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

      โดยมีประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำของโลกเสรีประชาธิปไตยและสหภาพโซเวียตรัสเซีย ผู้นำของประเทศที่ปกครองในระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์เป็นคู่ความขัดแย้ง

          คำว่าสงครามเย็น ซึ่งแปลมาจากภาษาอังกฤษว่า Cold War  เป็นคำที่ เบอร์นาร์ด บารุค (Bernard Baruch) และวอลเตอร์ ลิปป์มานน์ (Walter Lippmann) ได้กล่าวไว้ใน ค.ศ. 1947 เพื่อบรรยายถึงความตึงเครียดระหว่างประเทศที่กำลังก่อตัวขึ้นระหว่างกลุ่ม ประเทศที่เคยเป็นพันธมิตรกันในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต ซึ่งกลายเป็นอภิมหาอำนาจของโลกหลังสงครามครั้งที่ 2

สาเหตุ

1. การเปลี่ยนแปลงดุลทางอำนาจของโลก

        สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ทำลายมหาอำนาจเดิมอย่างเยอรมนีและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้แพ้สงคราม ส่วนอังกฤษและฝรั่งเศสนั้นก็ได้รับปัญหาจากการเมืองและเศรษฐกิจ ทำให้สหรัฐอเมริกาซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามมากนัก กลายเป็นชาติมหาอำนาจที่มั่งคั่งที่สุดในโลกและมีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง ส่วนสหภาพโซเวียตถึงแม้จะมีความบอบช้ำจากสงครามมาก แต่ก็ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีทรัพยากรสมบูรณ์และมีการเมืองที่มีเสถียรภาพมากคือระบอบคอมมิวนิสต์ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตจึงกลายเป็นชาติมหาอำนาจแทนชาติยุโรปตะวันตกและญี่ปุ่น

2. อุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน

        สหรัฐอเมริกายึดหลักเสรีประชาธิปไตยเป็นอุดมการณ์ทางการเมือง โดยเป็นการเมืองแบบเสรีนิยม มีการเลือกตั้ง และมีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม มีสังคมที่เปิดกว้าง ให้เสรีภาพแก่ประชาชน ส่วนสหภาพโซเวียตที่ยึดถืออุดมการณ์สังคมนิยมมาร์กซิสต์ ซึ่งเป็นการปกครองแบบเผด็จการ มีพรรคคอมมิวนิสต์ปกครองเหนืออำนาจอธิปไตย การปกครองมีลักษณะเป็นศูนย์รวมอำนาจ รัฐมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ ด้วยความแตกต่างนี้ทำให้สองชาติอภิมหาอำนาจต้องเผชิญหน้ากัน ด้วยสหรัฐอเมริกาพยายามรักษาลัทธิทุนนิยมและการปกครองแบบประชาธิปไตย ส่วนสหภาพโซเวียตจ้องการขยายลัทธิสังคมนิยมออกไปสู่ประเทศต่างๆ

3. ความขัดแย้งของผู้นำของชาติอภิมหาอำนาจ

        แฮร์รี เอส. ทรูแมน (Harry S. Truman ค.ศ. 1945-1953) ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกามีนโยบายต่างประเทศที่แข็งกร้าว ซึ่งมาจากการสนับสนุนของชาวอเมริกันที่ต่อต้านสหภาพโซเวียต อีกทั้งนายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill ค.ศ. 1951-1955) ของอังกฤษ ก็มีท่าทีต่อต้านสหภาพโซเวียตด้วยเช่นกัน

        ฝ่ายผู้นำของสหภาพโซเวียต จอมพลโจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin ค.ศ. 1941-1953) ซึ่งเป็นผู้นำเผด็จการ มีนโยบายกวาดล้างและควบคุมการเมืองภายในประเทศอย่างเข้มงวด สตาลินมีความหวาดระแวงท่าทีของฝ่ายพันธมิตรตะวันตกในด้านต่างๆ และเห็นว่าประเทศตะวันตกจ้องทำลายลัทธิคอมมิวนิสต์ ท่าทีของผู้นำของชาติอภิมหาอำนาจจังมีส่วนสำคัญในการเพิ่มความตึงเครียดในสงครามเย็น

ลักษณะสำคัญของสงครามเย็น

ลัทธิทรูแมน (แฮร์รี เอส. ทรูแมน (Harry S. Truman ค.ศ. 1945-1953) ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา)

แผนมาร์แชล (The Marshall Plan)

สนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (The North Atlantic Treaty Organization :นาโต (NATO) )

สภาให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจ (The Council forMutual Economic Assistance) หรือโคมีคอน(COMECON) สนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact)   

วิธีการที่ใช้ในช่วงสงครามเย็น คือ การโฆษณาชวนเชื่อเป็น สงครามตัวแทน [ Proxy War ] โดยใช้ประเทศเล็กเป็นตัวแทน 

หมายเลขบันทึก: 670458เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2019 13:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2019 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท