การให้เหตุผลทางคลีนิก


นศ.กบ.ทิพาพร ปัทมะเสวี 5923008

การให้เหตุผลทางคลีนิกทางกิจกรรมบำบัด (ฝ่ายเด็ก)กรณีศึกษา : ด.ช.โอ อายุ 4 ปี 8 เดือน Dx : Attention Deficit Hyperactive Disorder (ADHD) 


                                                                                  ด้านการวินิจฉัยทางการแพทย์ 

         จากการสัมภาษณ์ผู้ปกครองเล่าว่า ตอนอายุ 1 ปี เด็กไม่ยอมพูด จึงพาไปพบแพทย์ ได้รับการวินิจฉัยว่า เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาที่ล่าช้า ซึ่งตอนอายุ 2 ปี 6 เดือน เพิ่งเริ่มพูดเป็นคำ ตอนอายุ 3 ปี พูดเป็นประโยคและพูดมากแต่คนอื่นฟังไม่รู้เรื่อง เด็กมักจะพูดเสียงดังแต่พูดรัวเร็วและไม่ค่อยชัด มักจะเล่นรุนแรงและไม่รักษาของเล่นทำเสียหายบ่อย และที่โรงเรียน คุณครูสังเกตถึงพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งและวิ่งเกือบตลอดเวลา ไม่ค่อยตั้งใจเรียน เล่นของเล่นพังเสียหายบ่อยและมักแสดงอารมณ์รุนแรงเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการ เช่น ครูประจำชั้นที่เด็กเชื่อฟังย้ายไปประจำชั้นห้องอื่น ทำให้เด็กไม่พอใจและแสดงอาการก้าวร้าวกับเพื่อนที่จะเข้ามาเล่นกับเด็ก โดยนำอาการต่างๆมาเทียบอิงตามเกณฑ์การวินิจฉัย DSM-V ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน หรือ “Hyper kinetic Disorder” (ตามเกณฑ์ ICD-10 ขององค์การอนามัยโลก รหัส F90) ซึ่งอาการดังกล่าวข้างต้น เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับระดับอายุและพัฒนาการ แล้วแสดงออกก่อนอายุ 12 ปี และในหลายบริบท เช่น ที่บ้าน ที่โรงเรียน อาการคงอยู่อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 6 เดือน และส่งผลรบกวนหรือลดคุณภาพในการเรียน การเข้าสังคม 


                                                                 ด้านการวินิจฉัยทางกิจกรรมบำบัด 

           จากการสังเกต ขณะทำกิจกรรมในห้องฝึกและพูดคุยกับเด็ก พบว่า เด็กพูดค่อนข้างเร็วและพูดไม่ค่อยชัด มักจะพูดมากและพูดโพล่งในช่วงที่ผู้อื่นพูดคุยกัน เด็กไม่รู้จักรอหรือยับยั้งตัวเองได้ โดยเด็กมักจะชอบปีนป่ายและกระโดดจากที่สูง ไม่ค่อยระมัดระวัง ซึ่งทำให้เด็กหกล้มและเจ็บตัวบ่อยๆ แล้วเมื่อเด็กทำกิจกรรมที่ต้องมีสมาธิ เด็กจะหันเหความสนใจง่าย จึงทำให้ทำงานที่ได้รับมอบหมายไม่ค่อยเสร็จและหลีกเลี่ยงที่จะทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความพยายาม แล้วเมื่อเก็บของเล่นมักจะโยนของเล่นเก็บไม่เรียบร้อย ไม่รู้จักรักษาของและเด็กมักจะเล่นรุนแรงระหว่างเล่นจิ๊กซอว์เด็กดึงและต่อด้วยแรงที่มากทำให้ของเล่นพัง และเมื่อเด็กเล่นร่วมกับผู้อื่นมักจะแย่งของเล่นที่ตนเองต้องการ ไม่รู้จักพูดขอคนอื่น จากการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง เด็กเป็นลูกคนเดียวไม่มีพี่น้อง แล้วช่วงระหว่างวันเด็กอยู่กับย่าเป็นส่วนใหญ่ และเวลากลางคืนจะอยู่กับพ่อและแม่ ซึ่งเป็นเวลานอน ทำให้ไม่ค่อยได้มีกิจกรรมทำร่วมกับเด็ก ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับเด็กไม่ค่อยดี เนื่องจากแม่ไม่ค่อยตามใจเด็ก และมักจะพูดห้ามหรือบังคับเด็กจึงทำให้เด็กไม่ค่อยเชื่อฟัง ซึ่งในระหว่างที่อยู่บ้านเด็กมักจะทำกิจกรรม 2 อย่างพร้อมๆกัน เช่น เล่นของเล่นพร้อมกับเปิดโทรทัศน์ เด็กปฏิเสธไม่ยอมเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

+Occupational Disruption : จากการที่เด็กพูดเร็วและไม่ชัด ทำให้เพื่อนหัวเราะล้อเลียน เด็กจึงไม่อยากพูดออกเสียงให้ถูกต้อง และจากการสังเกตพบผู้ปกครองซึ่งมักจะพูดกับเด็กด้วยคำว่า “วันนี้ดื้อหรือซนไหม” ทำให้เด็กแสดงออกทางพฤติกรรมไม่ค่อยเหมาะสม เด็กมักจะถูกเตือนหรือบังคับให้เด็กทำในสิ่งที่ไม่ชอบ เช่น เมื่อมีใครตักเตือนเด็กมักจะเงียบและเพิกเฉยเหมือนไม่ได้ยิน และเปลี่ยนเรื่องไปสนใจอย่างอื่นแทน


การแปลความทางกิจกรรมบำบัด Scientific Narrative Reasoning ประกอบด้วย
การให้เหตุผลค้นหาปัญหาและวิธีการเลือกสื่อกิจกรรมบำบัด Procedural Reasoning :

               ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง จึงเลือกสร้างสัมพันธภาพในการใช้ Free play ให้เด็กเล่นเป็นอิสระ จะได้เห็นถึงความต้องการและสิ่งที่เด็กชอบ เพื่อนำไปสู่การเลือกกิจกรรมที่เด็กสนใจและเป็นการแรงจูงใจให้เด็กหันมาทำกิจกรรมและพูดมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น พบว่า เด็กวิ่งรอบห้อง เดินขึ้นแทมโพลีน กระโดดสูงๆ พร้อมกับหมุนตัวประมาณ 5 - 6 ครั้ง ระหว่างที่กระโดด เด็กจะหัวเราะส่งเสียงดัง แล้วพูดว่า “เหนื่อยแล้ว จะเล่นบ่อบอล” เด็กปีนบ่อบอลด้วยความรีบร้อน ทำให้ล้มบ่อย(Hyperactive and Impulsiveness) ดังนั้นจึงเลือกวิธีการ Sensory Integration เป็นการปรับ optimum arousal เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทำกิจกรรม โดยให้กระโดดแทมโพลีน 10-20 ครั้ง(ตามความตื่นตัวในแต่ละวันของเด็กว่าจะมากหรือน้อย) ร่วมกับออกเสียงนับเลข เพื่อฝึกควบคุมตัวเองให้นับเลขเรียงตามลำดับ ซึ่งเด็กมักจะนับข้ามหรือหยุดนับเลขกลางคันและพยายามหันไปทางอื่น จึงต้องนับร่วมกับเด็กและชูนิ้วให้เด็กดู จากนั้นเด็กวิ่งปีนก้าวบันไดสไลเดอร์โดยปีนข้ามขั้นด้วยความรีบร้อน ต้องคอยตักเตือนและให้เห็นถึงอันตราย เมื่อให้ทำกิจกรรมที่มีเป้าหมาย เช่น หยิบลูกปัดสีใส่หลัก เด็กจะหยิบไปหลายๆชิ้นหรือจะบอกว่า ปวดปัสสาวะแล้วรีบเดินไปห้องน้ำ แม้จะบอกว่ามีคนเข้าอยู่ก็ตาม เด็กไม่สามารถควบคุมตัวเอง พยายามที่จะเดินไปที่หน้าห้องน้ำและเมื่อเด็กทำกิจกรรมได้สำเร็จหรือมีการช่วยเหลือผู้อื่นก็จะให้คำชื่นชมทันที(Positive reinforcement) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ถ้าทำพฤติกรรมที่ดีจะได้รับคำชม และจากการประเมินผ่านกิจกรรมที่ต้องมีสมาธิจดจ่อ เช่น ในกิจกรรมหยิบของตามคำบอก พบว่า เด็กยังจดจำตัวเลขไม่ได้ โดยมักจะตอบแบบสุ่มตัวเลข ซึ่งเด็กมีสายตาปกติ โดยเด็กสามารถจับกลุ่มสีได้ แต่เมื่อเป็นตัวเลขมีรูปร่างที่ซับซ้อนขึ้น ในเรื่องเกี่ยวกับการเรียนเด็กไม่ค่อยสนใจและหลีกเลี่ยง และนั่งไม่นิ่งในขณะที่นั่งทำกิจกรรมบนโต๊ะที่ต้องใช้ความพยายาม เช่น วาดรูปวงกลม ไม่ค่อยมีความจดจ่อในการเล่นมักจะเปลี่ยนของเล่นบ่อย จากการทำกิจกรรมเด็กมักจะห่วงเล่นและสนใจแต่สิ่งที่ตนเองต้องการเล่น ซึ่งเด็กเลือกของเล่นได้เหมาะสมตามวัย มักจะเลือกเล่นต่อจิ๊กซอว์เป็นหุ่นยนต์ ในขณะที่เล่นเดินตามฐานร่วมกับผู้อื่น เด็กมักจะไม่รู้จักรอแล้วยังควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้ เช่น เดินตามฐานเด็กมักจะเดินแซงไม่รู้จักรอคนข้างหน้า จะเดินแต่ตามทางที่ตัวเองต้องการไม่เดินตามทางที่วางไว้

-การให้เหตุผลปฏิสัมพันธ์เมื่อพบหน้ากรณีศึกษา Interactive Reasoning

        Therapeutic use of self and activity โดยการเลือกกิจกรรมที่เด็กสนใจและเป็นแบบอย่างให้เด็กได้เห็นผ่านสื่อกิจกรรมในการเล่นต่อจิ๊กซอว์ร่วมกับเด็ก โดยให้เด็กต่อจิ๊กซอว์ตามจินตนาการ พบว่า เด็กต่อเป็นหุ่นยนต์ จากนั้นให้เด็กเล่าเกี่ยวกับนิสัยของหุ่นยนต์ตัวนั้น เด็กบอกว่า มีนิสัยดุร้าย ชอบต่อสู้ และเด็กได้นำจิ๊กซอว์มาสู้กัน ดังนั้นจึงใช้จิ๊กซอว์หุ่นยนต์เป็นแบบอย่างให้กับเด็ก โดยผ่านการเล่าเรื่องแล้วให้เด็กจินตนาการตามว่า “ถ้าหุ่นยนต์มีนิสัยใจดี ชอบแบ่งปัน พูดช้าๆและพูดไพเราะ ก็จะกลายเป็นหุ่นยนต์ตัวใหญ่ยักษ์ที่มีแต่คนรักและชื่นชอบ น้องโออยากเป็นแบบนั้นไหม ซึ่งจะกลายเป็นหุ่นยนต์ที่แข็งแรงและมีกำลังเยอะ” ในระหว่างนั้นเด็กมีความจดจ่อและตั้งใจฟัง มีการปรับเลี่ยนพฤติกรรมพูดน้ำเสียงนุ่มนวลขึ้นและเชื่อฟังเมื่อบอกว่าหมดเวลาก็ยอมเก็บของเล่น ซึ่งเด็กเก็บจิ๊กซอว์โดยการโยนเก็บลงกล่อง จึงได้พูดปรับพฤติกรรมทางบวกให้เด็กฟังว่า “ถ้าเก็บช้าๆและเบามือ ครั้งหน้าจะได้มีจิ๊กซอว์ไว้สร้างหุ่นยนต์ที่ตัวใหญ่แข็งแรงและต่อได้สวยงามในครั้งหน้าได้นะ” ซึ่งเด็กมีการตอบสนองโดยเก็บจิ๊กซอว์เบามือลงและพูดไพเราะขึ้น ให้คำชื่นชมและรางวัลที่เด็กอยากเล่นตามต้องการ

-การให้เหตุผลเงื่อนไขเมื่อตัดสินด้วยเหตุผล จินตนาการและหยั่งรู้ด้วยตนเอง เพื่อกำหนดบริบทปัจจุบันถึงอนาคตที่เหมาะสมกับสถานการณ์จริงของกรณีศึกษา Conditional Reasoning

>กรอบอ้างอิง Sensory integration based intervention โดยใช้ Physical exertion combat เป็นการกระตุ้นให้ผู้รับบริการได้รับ Sensory ในส่วนที่ผู้รับบริการต้องการ เพื่อปรับให้อยู่ในระดับ Optimal arousal 

>กรอบอ้างอิง Behavioral therapy โดยใช้วิธี Shaping behavior(เพื่อปรับพฤติกรรมบุคคลให้เป็นไปตามที่ต้องการ) : เมื่อเด็กได้รับคำชมหลังจากแสดงพฤติกรรมที่ดี ส่งผลให้เด็กมีความกระตือรือร้นและพร้อมจะแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์


SOAP Note ครั้งแรกในการเจอกับผู้รับบริการเด็กผู้ชายอายุ 4 ปี 8 เดือน Dx.ADHD 

S : เด็กผู้ชายวิ่งเข้ามาในห้องฝึกด้วยตนเอง มักจะพูดโพล่งเสียงดังและพูดเร็วลิ้นพัน 

O : ให้กิจกรรม Free play พบว่า เด็กมักจะเลือกกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น กระโดดแทมโพลีน ปีนสไลเดอร์ Putty และให้กิจกรรมนั่งโต๊ะ เช่น หยิบหมุดใส่หลุม ใส่รูปทรงในหลุม ระหว่างทำกิจกรรมเด็กได้บอกขอไปเข้าห้องน้ำถึง 2 ครั้ง

A : Distract by visual and auditory, Respect hyperactivity with proprioceptive and vestibular, Short attention span, Able to 3 steps follow command, Respect Fair self control โดยระหว่างทำกิจกรรมไม่ระมัดระวังในการเล่นทำให้หกล้มและเจ็บตัวบ่อย จากการทำกิจกรรมนั่งโต๊ะ เด็กมีช่วงความสนใจจดจ่อได้ 2-3 นาทีและมักจะพูดเรื่อยเปิ่อยโดยพูดเลี่ยงที่จะไม่ทำกิจกรรมนั่งโต๊ะและนั่งไม่อยู่นิ่ง หันเหความสนใจง่ายและรู้จักสีแต่ไม่รู้จักรูปทรง เด็กวิ่งไปเข้าห้องน้ำ ซึ่งเด็กพยายามเดินไปหน้าห้องน้ำโดยไม่ยอมฟังแม้ว่าจะมีคนอื่นเข้าห้องน้ำอยู่

P : ให้ Physical exertionและกิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจเพื่อฝึกความจดจ่อในการเตรียมพร้อมก่อนทำกิจกรรมอื่นได้ต่อเนื่อง และประเมิน Development กับ ESP

ครั้งสุดท้ายการเจอกับผู้รับบริการ

S : เด็กผู้ชายเดินเข้ามาในห้องฝึกด้วยตนเอง พูดโพล่งเสียงดังและยังมีพูดเร็วอยู่บ้าง อยู่ไม่นิ่ง

O : ให้ pt.ทำกิจกรรม Physical exertion เพื่อปรับarousal ให้อยู่ในระดับ optimal level และทำกิจกรรมนั่งโต๊ะที่มีเป้าหมายตามความสนใจของ pt. เช่น เล่นสมมติเป็นพ่อครัว ต่อจิ๊กซอว์หุ่นยนต์ และเมื่อเล่นร่วมกับผู้อื่นในการเล่นสลับร่วมกับผู้อื่นได้แต่ต้องตักเตือนยับยั้ง เพื่อให้เด็กฝึกควบคุมตัวเองให้ได้

A : Hyperactivity,Impulsivity, Seeking proprioception and vestibular, Able to play construction, Increase short attention span, Fair self control ;เด็กมีความจดจ่อในการทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น 5-7 นาที แต่ในระหว่างกิจกรรมจะนั่งไม่ค่อยนิ่ง ขยับตัวไปมา และเด็กยังเล่นรุนแรงไม่ค่อยระมัดระวัง ซึ่งเด็กเริ่มที่จะพูดเกี่ยวกับกิจกรรมที่เล่นอยู่ได้โดยมีปฏิสัมพันธ์พูดคุยกับผู้อื่นได้ตรงกับสถานการณ์มากขึ้น 

P : ให้ Physical exertion เพื่อลดความตื่นตัวให้อยู่ในระดับใกล้เคียงปกติและให้กิจกรรมนั่งโต๊ะที่มีเป้าหมายสลับกับกิจกรรมที่เด็กสนใจหรือชอบโดยเพิ่มเวลาและจำนวนครั้งมากขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเรียนในอนาคต


เปิดวงอภิปรายระหว่างพี่ที่ดูแลระหอาจารย์ว่างฝึกปฏิบัติทางคลีนิกและว่าจะจัดการความขัดแย้งทางคุณค่าที่กรณีศึกษาควรได้รับการใช้สื่อกิจกรรมบำบัดที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมในคลินิก เรียกการให้เหตุผลแบบปฏิบัติดี Pragmatic Reasoning
การให้เหตุผลวิธีการเพื่อแนะนำให้นักกิจกรรมบำบัดคิดถึงความสามารถที่เป็นปัญหาแท้จริง Procedural Reasoning

ปัญหาอยู่ที่ขาด Positive communication ระหว่างครอบครัวในการพูดคุยเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขให้เด็ก ทำกิจกรรมที่มีเป้าหมายและทำได้สำเร็จก่อนแล้วค่อยชื่นชมในสิ่งที่เด็กทำได้ดี และร่วมไปถึงการพูดคุยกับครูประจำชั้นเรื่องที่เพื่อนล้อเลียน และในการรักษาพฤติกรรมการเล่นให้มีความจดจ่อในการทำกิจกรรมที่โรงเรียนและควรอดทนรอดูพฤติกรรมของเด็ก ในการหาสาเหตุที่เด็กเคยมีอาการก้าวร้าวนั้นเกิดจากอะไร

การให้เหตุผลปฏิสัมพันธ์เพื่อแนะนำให้นักกิจกรรมบำบัดเข้าใจความเป็นมนุษย์ของกรณีศึกษา Interactive Reasoning :
Play fullness and Mindfulness การเล่นด้วยความสนุกและเปิดโอกาสให้เด็กได้ลองเล่นในสิ่งที่ตนเองต้องการเพื่อดึงความสนใจในสิ่งที่เด็กชอบในการเป็นแบบอย่างที่ดีให้เกิดการเรียนรู้ เช่น การเล่นแสดงบทบาทสมมติ(Role play)และส่งเสริม Emotional stability พร้อมกับส่งเสริมการเล่นในสิ่งที่เด็กชอบร่วมกับกิจกรรมที่มีเป้าหมาย เพื่อฝึกความจดจ่อโดยเพิ่มเวลาในแต่ละกิจกรรมให้มากขึ้นและมีความท้าทายกับช่วงอายุของเด็ก จากนั้นส่งเสริมให้เด็กได้เล่นหรือทำกิจกรรมร่วมกับเด็กวัยเดียวกันโดยให้เล่นสลับกันเพื่อให้รู้จักรอและควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้ได้ เป็นการเรียนรู้สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น 

การให้เหตุผลเงื่อนไข เพื่อแนะนำให้นักกิจกรรมบำบัดตั้งเป้าหมายในทักษะที่ควรจะเป็นตลอดชีวิตของกรณีศึกษา Conditioning Reasoning
> Behavior theory and Play theory ส่งเสริมให้เกิด play fullness and emotional stability เช่น เด็กชอบต่อจิ๊กซอว์เป็นหุ่นยนต์ แล้วให้เด็กพูดเล่าเรื่องนิสัยของหุ่นยนต์ เพื่อให้พูดให้ตรงประเด็นและมีความจดจ่อมากขึ้น แล้วสลับกับการทำกิจกรรมที่มีเป้าหมาย เช่น เสียบหมุดจากจำนวนน้อยแล้วค่อยเพิ่มจำนวน เพื่อเป็นการเพิ่มเวลาจดจ่อในกิจกรรมนั่งโต๊ะ เพื่อส่งเสริมต่อการเรียนในอนาคต ร่วมกับการให้คำปรึกษาผู้ปกครองในการใช้คำพูดที่ดีและการรู้จักชมเชยเด็ก เมื่อเด็กทำสิ่งที่ดีและถูกต้อง เพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจและเข้าใจในการกระทำแบบใดคือการกระทำที่ดี(Positive reinforcement) เช่น เด็กรู้จักเก็บของให้เป็นที่และรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น ก็ให้คำชม แล้วตามด้วยการกระทำที่ดีที่เด็กได้ลงมือทำ ว่า “เป็นเด็กดีมากเลยครับ รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น” เพื่อปรับพฤติกรรมและรู้จักเข้าร่วมทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้


                                                                                   Story Telling 

          ความรู้ที่ได้จากการฝึกปฏิบัติจริงกับผู้รับบริการเคสนี้คือการที่เราจะฝึกกับเด็กนั้นควรที่จะอิงตามพัฒนาการก็จริงแต่เราไม่ควรจะคาดหวังเกินความสามารถของผู้รับรับบริการมากจนเกินไป ซึ่งทำให้เรามองว่า ผู้รับบริการของเราไม่มีพัฒนาการที่ดีขึ้น โดยความสามารถและปัจจัยในสิ่งแวดล้อมรอบข้างของผู้รับบริการที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่อาจเป็นสาเหตุทำให้ความสามารถของผู้รับบริการไม่ได้พัฒนาขึ้น อย่างเช่น ความผูกพันธ์ระหว่างพ่อและแม่ของผู้รับบริการที่ตอนนั้นเราไม่ค่อยได้ concern เรื่องนี้ไปให้กับครอบครัว เนื่องจากพอได้มาคิดวิเคราะห์ทบทวนก็รู้สึกว่า การที่เด็กพยายามพูดเสียงดังแทรกกับเราหรือเรียกร้องความสนใจให้เราชื่นชมเขานั้น อาจเป็นสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการการชดเชยจากพ่อแม่ที่ไม่ค่อยได้มีเวลาและอยู่ดูแลด้วยกันมากนัก ปัจจัยนี้อาจเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับการพัฒนาในด้านการเรียนรู้ด้านภาษาในการสื่อสารให้ได้อย่างเต็มที่และรวมไปถึงสังคมที่โรงเรียน คุณครู และเพื่อนที่อยู่รอบตัวผู้รับบริการ ซึ่งอาจเป็นปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้รับบริการขาดการพูดสื่อสารที่ดี เช่น การถูกเพื่อนล้อเลียนเมื่อพูดไม่ชัดก็ทำให้ผู้รับบริการไม่ยอมพูดต่อแต่จะเงียบแทนแล้วอาจทำให้ผู้รับบริการปิดกั้นไม่อยากที่จะเรียนรู้ในการพูดสื่อสารที่ถูกต้องและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น 

           ส่วนความท้าทายที่ได้รับจากกรณีศึกษานี้คือ การที่ต้องเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมและดึงความสนใจของผู้รับบริการให้มาสนใจทำกิจกรรมในการรักษาเพื่อช่วยพัฒนาความสามารถของผู้รับบริการให้ดีขึ้นและตรงตามความต้องการของผู้ปกครอง เช่น ผู้รับบริการชอบเล่นต่อจิ๊กซอว์หุ่นยนต์มาก จึงใช้หุ่นยนต์นั้นเป็นสื่อที่มาช่วยรักษาผู้รับบริการเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี ในการใช้ของเล่นเป็นตัวเชื่อมระหว่างการเลียนแบบพฤติกรรมและการยอมรับ ก็พบว่า ผู้รับบริการให้ความสนใจและอยากที่จะเป็นแบบหุ่นยนต์ตัวนั้น ทำให้ได้เห็นว่า ผู้รับบริการสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามต้นแบบ ซึ่งต้องการการยอมรับและการได้รับคำชื่นชมเมื่อเราได้ทำในสิ่งที่ดีก็ควรจะได้รางวัลเป็นสิ่งตอบแทน เช่น หลังจากที่ผู้รับบริการทำตามสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสม พูดไพเราะตามหุ่นยนต์ ช่วยคนอื่นเก็บของ ทำให้ได้เห็นถึงรอยยิ้มและความภาคภูมิใจในของผู้รับบริการ แต่ในทางตรงกันข้าม เมื่อมีใครพูดตำหนิหรือกล่าวตักเตือนด้วยน้ำเสียงจริงจังผู้รับบริการจะฟังในช่วงแรกแต่สุดท้ายจะต่อต้านและไม่ยอมรับฟังด้วยความเต็มใจ ซึ่งอาจทำให้ไปขัดขวางความสามารถหรือนิสัยดีจริงที่มีอยู่ เพื่อให้ได้รับการขัดเกลาและพัฒนาได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น การที่จะเลือกสื่อหรือกิจกรรมให้เหมาะกับผู้รับบริการและให้ตรงกับบริบทที่แท้จริงนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อนำมาเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับผู้รับบริการสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง

Ethical reasoning มาตรฐานการปฏิบัติการทางกิจกรรมบำบัด

หมายเลขบันทึก: 669792เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2019 22:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2019 01:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท