การพัฒนาครูโดยใช้ระบบการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(Coaching and Mentoring: CMS) โรงเรียนเมืองกระบี่ ปีการศึกษา 2557 - 2559


สิ่งที่ทำ

ผมได้รับคำสั่งให้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองกระบี่ เดินทางมารายงานตัว และปฏิบัติหน้าที่ ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนเมืองกระบี่เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 มีนักเรียนในปีการศึกษา 2558 จำนวน 1,732 คน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 124 คน โรงเรียนตั้งอยู่ในตัวเมืองกระบี่ ตำบลกระบี่ใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เข้าโครงการสำคัญมาแล้ว ได้แก่ โรงเรียนในฝัน รุ่นที่ 2 โรงเรียนมาตรฐานสากล(World – Class Standard School) และโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ECO – School) เมื่อปีการศึกษา 2557 โรงเรียนยังคงประสบปัญหาคุณภาพการศึกษาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ และเมื่อพิจารณาผลการประเมินคุณภาพระดับชาติ (O-Net) พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยของโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอเมืองของทุกจังหวัด และต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาผลลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารและการจัดการศึกษาของโรงเรียนเมื่อเดือนมกราคม 2558 พบว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการบริหารและการจัดการศึกษาของโรงเรียนโดยรวมในระดับมาก และผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของครู ปีการศึกษา 2557 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของครูในระดับมาก ผมได้ศึกษาข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ อีกมากมายทั้งเอกสาร ตัวบุคคล ทั้งการพบปะพูดคุยแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ครอบคลุมกลุ่มบุคคลทั้ง สภานักเรียน คณะกรรมการบริหารโรงเรียน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง คณะกรรมการชมรมศิษย์เก่า ผู้แทนชุมชน ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานสถานศึกษาในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนและในจังหวัดกระบี่ รวมทั้งองค์กร หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษากับโรงเรียน และสุดท้ายให้คณะครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนโรงเรียนเมืองกระบี่ได้แสดงความคิดเห็นถึงแนวทางการพัฒนาโรงเรียนเมืองกระบี่ โดยเขียนในกระดาษ ข้อความส่งผ่านสื่อออนไลน์ เช่น e-mail, facebook และ Line เป็นต้น ผู้รายงานได้นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ จัดอันดับความสำคัญของปัญหาอุปสรรคและความต้องการในการแก้ไขและพัฒนาโรงเรียน ปัญหาบางอย่างเป็นเรื่องธรรมดาขั้นพื้นฐานที่สามารถแก้ไขได้ทันที แต่หลายปัญหา ซับซ้อน เกิดขึ้นมานาน คงต้องใช้เวลาและการมีส่วนร่วมของหลายฝ่าย ซึ่งผู้รายงานได้กำหนดเป็นภารกิจสำคัญ 2 ข้อที่จะต้องบริหารและจัดการศึกษาโรงเรียนเมืองกระบี่ และได้นำเสนอต่อที่ประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษา และทุกองค์คณะที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการบริหารและการจัดการศึกษาของโรงเรียน เพื่อทราบและให้ข้อเสนอแนะ ซึ่งภารกิจดังกล่าวต่อไปนี้ มิได้ส่งผลกระทบต่อแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนและแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียนแต่อย่างใด ภารกิจดังกล่าวมีดังนี้ ภารกิจที่ 1 บริหารและจัดการศึกษาให้โรงเรียนเมืองกระบี่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา ใช้เวลาตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 – 2559 กิจกรรมที่ 1 บริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ 1.1 พัฒนาระบบบริหารจัดการด้วยวงจรแห่งความสำเร็จ Deming Circle: PDCA 1.2 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา กิจกรรมที่ 2 พัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ภารกิจที่ 2 บริหารและจัดการศึกษาให้โรงเรียนเมืองกระบี่เป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลอย่างแท้จริง ใช้เวลาตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 – 2561 กิจกรรมที่ 1 บริหารจัดการโรงเรียนตามกรอบโรงเรียนมาตรฐานสากล กิจกรรมที่ 2 บริหารจัดการห้องเรียนพิเศษ EIS เมื่อกำหนดภารกิจที่สำคัญ 2 ภารกิจดังกล่าวแล้ว ในการขับเคลื่อนโรงเรียนให้บรรลุทุกภารกิจได้นั้น ข้าพเจ้าได้น้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" และ หลักทรงงานขององค์ทั้ง 23 ข้อ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร มาปรับใช้ในการบริหารและการจัดการศึกษา ในการน้อมนำยุทธศาสตร์การพัฒนาของพระองค์ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาปรับใช้ในการบริหารและการจัดการศึกษานั้น ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติตามภารกิจทั้ง 2 ภารกิจที่โรงเรียนเมืองกระบี่ดังที่กล่าวข้างต้น ผมในฐานะผู้อำนวยการโรงเรียนจะต้อง “เข้าใจ” สภาพปัจจุบัน ปัญหาของโรงเรียน รวมทั้งความต้องการของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และจะต้อง “เข้าถึง” ข้อมูล สารสนเทศ ข้อเท็จจริง สภาพจริงต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา เพราะทรัพยากรบุคคลสำคัญที่สุด ถ้าได้คนแล้วจะได้งาน ดังนั้นการเข้าถึงใจของคนส่วนใหญ่ในองค์กรได้ ก็จะทำให้การปฏิบัติงานตามภารกิจประสบความสำเร็จ ดังนั้น เมื่อเข้าใจ และเข้าถึงดังกล่าวแล้ว ก่อนที่จะ “พัฒนา” จะต้องหาวิธีการให้คนระเบิดออกมาจากข้างใน เพราะการระเบิดมาจากข้างใน จะเกิดความเต็มใจ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเข้าใจและมีความสุข รู้รัก สามัคคี เกิดความยั่งยืนของการพัฒนา ในขณะเดียวกันก็จะต้องน้อมนำหลักทรงงานของพระองค์มาปรับใช้ทั้งในการบริหารจัดการและการพัฒนาบุคลากร กล่าวคือ 1) จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ 2) ให้ระเบิดจากภายใน 3) มองในภาพรวมแต่แก้ปัญหาจากจุดเล็ก 4) ทำตามลำดับขั้น 5) ให้ความสำคัญกับภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์ 6) ทำงานแบบองค์รวม 7) ไม่ติดตำรา 8) ประหยัด 9) ทำให้ง่าย 10) ใช้การมีส่วนร่วม 11) ยึดประโยชน์ส่วนรวม 12) บริการที่จุดเดียว 13) ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ 14) ใช้อธรรมปราบอธรรม 15) ปลูกป่าในใจคน 16) ขาดทุนคือกำไร 17) พึ่งตนเอง 18) พออยู่พอกิน 19) เศรษฐกิจพอเพียง 20) ซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน 21) ทำงานอย่างมีความสุข 22) ใช้ความเพียร และ 23) รู้ รัก สามัคคี นอกจากยุทธศาสตร์พระราชทานและหลักทรงงานของพระองค์ท่านแล้ว ผมยังได้ศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผู้รายงาน มีความสนใจในเรื่อง จิตตปัญญาศึกษา(Contemplative Education) เป็นการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ ซึ่งเป็นกระบวนการของการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การเข้าใจตนเองก่อให้เกิดความรู้ทางปัญญาที่เชื่อมโยงระหว่าง 3 ภาค คือ ภาคความรู้ ภาควิชาชีพ และภาคจิตวิญญาณ จุดมุ่งหมายของกระบวนการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษา คือ การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตนเอง (Transformative Learning) ได้แก่ การเข้าใจตนเอง ผู้อื่น และสรรพสิ่งอย่างลึกซึ้ง ความรักเมตตา ความอ่อนน้อมถ่อมตน และการเกิดจิตสำนึกต่อส่วนรวม อันจะนำไปสู่การกระทำเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมและโลก ซึ่งผมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการโรงเรียนมีความเห็นร่วมกันว่า กระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางดังกล่าวนี้ จะเป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้ครูเกิดการระเบิดจากข้างใน และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ตัวครู ไปสู่คุณภาพที่ตัวผู้เรียนได้อย่างแท้จริง และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยเพราะการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดมาจากเนื้อในตนของแต่ละบุคคล จะยั่งยืนกว่าการถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลงจากภายนอก ผมจึงศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริหารจัดการโรงเรียนทั้งระบบ(A Whole School Approach) สู่ความยั่งยืน(Sustainability) อีกทั้งศึกษาปรัชญาการศึกษาของโลกฝั่งตะวันออกในเรื่อง โรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้(School as Learning Community: SLC) จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ผมในฐานะผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งเป็นผู้นำองค์กรที่จะต้องร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องหาวิธีการใหม่ ๆ หรือที่เรียกว่า “นวัตกรรม” มาทำให้คนในองค์กรระเบิดจากข้างใน แล้วร่วมกันแก้ไขปัญหา พัฒนาองค์กรโรงเรียนเมืองกระบี่ให้บรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และแผนงาน โครงการ กิจกรรม ที่กำหนดไว้ และเมื่อได้ศึกษากระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) ซึ่งเป็นรูปแบบ CU-CMS ตามแนวทางที่ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยรองศาสตราจารย์ ดร.สิริพันธ์ สุวรรมรรคา และคณาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้พัฒนาขึ้น เห็นว่าเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุด และประหยัดงบประมาณที่สุด ที่จะพัฒนาครูให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากเนื้อในตนอย่างยั่งยืน โรงเรียนได้รับความเมตตาจากท่านอาจารย์พวงเพชร กันยาบาล อดีตศึกษานิเทศก์ี่เชี่ยวชาญ กรมสามัธศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ประสานงานและเรียนเชิญรองศาสตราจารย์ ดร.สิริพันธ์ สุวรรมรรคาและคณาจารย์จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาให้การอบรมและร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมตามโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) ตั้งแต่่ปีการศึกษา 2558 มาจนถึงปัจจุบัน โดยมีรูปแบบการพัฒนาครูโรงเรียนเมืองกระบี่โดยใช้ระบบการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(Coaching and Mentoring System: CMS) การถอดประสบการณ์เพื่อศึกษาบทเรียนร่วมกัน(Lesson Study: LS) การพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 มีดังนี้

ผมเริ่มการพัฒนาครูโดยการศึกษาข้อมูลสภาพทั่วไปของโรงเรียน และบริหารจัดการโดยใช้วงจรแห่งความสำเร็จ (Deming Circle: PDCA) ดังนี้ 1. ขั้นวางแผน(P: Plan) 1.1 ศึกษาบริบท สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ ของคุณครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ศิษย์เก่า และชุมชน วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ โดยดำเนินการดังนี้ 1.1.1 ศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ เช่น แผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการประจำปี รายงานผล การพัฒนาคุณภาพการศึกษา(SAR) ผลการวัดและประเมินระดับห้องเรียน ระดับชั้นเรียน และเอกสารประกอบต่าง ๆ 1.1.2 ศึกษาข้อมูลจากผู้มีส่วนร่วมกับการบริหารและการจัดการศึกษาของโรงเรียน ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารโรงเรียน คณะครู สภานักเรียน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้แทนศิษย์เก่า ผู้แทนชุมชน หน่วยงาน สถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบุคคลอื่น ๆ ที่ให้ข้อมูลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการศึกษาของโรงเรียน เมืองกระบี่ ซึ่งในส่วนของคณะครูและนักเรียนนั้น ให้ทุกท่านได้เสนอความคิดเห็นได้ในหลายช่องทาง ได้แก่ เขียนความคิดเห็น ข้อเสนอ โดยใช้กระดาษ Line ส่วนตัว ข้อความใน facebook และ E-mail ถึงผม โดยตรง ข้อมูลเป็นความลับ 1.1.3 ศึกษาหลักทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร แล้วน้อมนำมาบูรณาการ กับการบริหารและการจัดการศึกษาของโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนา “การเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” 1.1.4 ศึกษากระบวนการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษา คือ การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตนเอง(transformative learning) ได้แก่ การเข้าใจตนเอง อันก่อให้เกิดความรู้ทางปัญญาที่เชื่อมโยงระหว่าง 3 ภาค คือ ภาคความรู้ ภาควิชาชีพ และภาคจิตวิญญาณ การเข้าใจผู้อื่น และสรรพสิ่งอย่างลึกซึ้ง ความรักเมตตา ความอ่อนน้อมถ่อมตน และการเกิดจิตสำนึกต่อส่วนรวม อันจะนำไปสู่การกระทำเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมและโลก 1.1.5 พบปะพูดคุย และประชุมทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการกับฝ่ายบริหารโรงเรียน คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ทั้งรายงาน รายกลุ่มย่อย รายกลุ่มสาระการเรียนรู้ รายระดับชั้น รวมทั้งนักเรียน ทั้งรายคน รายกลุ่ม และสภานักเรียน ทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน 1.2 นำข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ แล้วแยกประเด็นปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการบริหารและการจัดการศึกษา พร้อมทั้งนับความถี่ของแต่ละประเด็น จัดลำดับความสำคัญเร่งด่วน โดยจัดประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนและการจัดการเรียนการสอน เป็นลำดับแรก ลำดับถัดมาได้แก่ ด้านข้าราชการครูและบุคลากรทางศึกษา ด้านอาคารสถานที่ และด้านงบประมาณ ตามลำดับ 1.3 วิเคราะห์ประเด็นที่จะแก้ไข พัฒนา ในประเด็นการพัฒนาครูไปสู่คุณภาพนักเรียน 1.4 เขียนโครงการพัฒนาครูโดยใช้ระบบการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (CMS) ประจำปีงบประมาณ 2558 1.5 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการ 1.6 ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงาน 2. ขั้นปฏิบัติ(Do: D) 2.1 ก่อนดำเนินการ(Before Action Review: BAR) 2.1.1 ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน และรองผู้อำนวยการโรงเรียนทั้ง 4 ท่าน นอกจากจะมีหน้าที่รับผิดชอบบริหารจัดการในฝ่ายที่ตนรับผิดชอบแล้ว ยังได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ในการพัฒนาครูโดยใช้ระบบการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(CMS) ดังนี้ 2.1.1.1 การพัฒนาครูในครั้งนี้ มี 3 ฝ่าย ร่วมรับผิดชอบ ประกอบด้วย 1) งานนิเทศภายใน ฝ่ายบริหารวิชาการ รับผิดชอบในการขับเคลื่อนระบบการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(CMS) ทั้งโรงเรียน โดยการประสานงานผ่านทั้งหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และหัวหน้าระดับ 2) งานส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ฝ่ายบริหารงานบุคคล มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดประชุม อบรม สัมมนาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครูนี้ 3) งานหัวหน้าระดับ ฝ่ายกิจการนักเรียน มีหน้าที่กำกับ ดูแล การปฏิบัติงานของหัวหน้าระดับให้เป็นไปตามกระบวนการพัฒนาครูที่กำหนดไว้ 2.1.1.2 มีหน้าที่ดูแล และร่วมปฏิบัติกิจกรรมการพัฒนาครูโดยใช้ระบบการชี้แนะและ การเป็นพี่เลี้ยง(CMS) ในระดับที่ตนรับผิดชอบให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ดังนี้ 1) ผู้อำนวยการโรงเรียน รับผิดชอบทุกระดับชั้น (ม.1 – ม.6) 2) รองผู้อำนวยการโรงเรียน คนที่ 1 รับผิดชอบ 1 ระดับชั้น โดยสมัครใจ 3) รองผู้อำนวยการโรงเรียน คนที่ 2 รับผิดชอบ 1 ระดับชั้น โดยสมัครใจ 4) รองผู้อำนวยการโรงเรียน คนที่ 3 รับผิดชอบ 2 ระดับชั้น โดยสมัครใจ 5) รองผู้อำนวยการโรงเรียน คนที่ 4 รับผิดชอบ 2 ระดับชั้น โดยสมัครใจ 2.1.2 แจกเอกสารที่เกี่ยวกับการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring: CM) ให้ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และคณะครูทุกคน ได้ศึกษา เป็นเวลา 7 วัน ก่อนวันประชุมเชิงปฏิบัติการ 2.1.3 ดำเนินการประชุมครูทั้งโรงเรียนเพื่อดำเนินกิจกรรมดังต่อไปนี้ 2.1.3.1. สร้างความตระหนักในวิชาชีพครู 2.1.3.2 สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นครูที่ปรึกษาในระดับชั้นที่สอน แทนการเป็นครูที่ปรึกษาในปีแรกแล้วติดตามไปเป็นที่ปรึกษานักเรียนจนจบช่วงชั้นโดยไม่ได้สอนนักเรียนที่ประจำชั้น 2.1.3.3 ขอมติที่ประชุม ให้ครูที่ปรึกษาประจำชั้นนักเรียนที่ตนเองสอนเท่านั้น ทั้งนี้ อยู่บนเงื่อนไขของความสมัครใจเป็นที่ตั้ง 2.1.4 ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (CM) กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง และเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2.1.5 แยกกลุ่ม ประชุมกลุ่มย่อยครูที่ปรึกษาแยกเป็นระดับ ม.1 – ม.6 ให้ดำเนินการดังนี้ 2.1.5.1 ทบทวนสถานะของหัวหน้าระดับ โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องเป็นครูผู้สอนในระดับชั้น นั้น ๆ เท่านั้น หากใช่ ให้คงสภาพเป็นหัวหน้าระดับต่อไป หากไม่ ให้ที่ประชุมระดับเลือกหัวหน้าระดับคนใหม่ 2.1.5.2 หัวหน้าระดับดำเนินการประชุมระดับเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาครูโดยใช้ระบบการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(CMS) ดังนี้ 1) จับคู่ Buddy กับคุณครูที่สอนในระดับชั้นเดียวกัน แต่สอนต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ 2) คู่ Buddy วางแผนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(CM) ร่วมกัน (กรณีครูชาวต่างประเทศ และนักศึกษาฝึกประสบการณ์ จะจับคู่ Buddy เดียวกันกับครูพี่เลี้ยง) 2.2 ดำเนินการพัฒนาครูโดยใช้ระบบการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(CMS) 3 วงจร เรียกย่อว่า วงจร P1, P2 และ P3 ปฏิบติกิจกรรม CMS ระยะเวลา วงจรละ 1 เดือน โดยมีกิจกรรมแต่ละวงจร ดังนี้ 2.2.1 การดำเนินการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(Coaching and Mentoring) วงจรที่ 1(P1), ระยะเวลา 1 เดือน ๆ ละ 1 ครั้ง/วงจร โดยมีกิจกรรม ดังต่อไปนี้ 2.2.1.1 กิจกรรมวางแผนการจัดการเรียนรู้ (Plan) คู่ Buddy แต่ละคน เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และหรือนำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้จัดทำไว้ มาร่วมถอดประสบการณ์ถึงการเขียนแผนฯ ของตน ภายใต้กรอบคำถามสำคัญ 4 คำถาม คือ สิ่งที่ทำ ผลที่เกิด บทเรียนที่ได้ แล้วจะทำอะไรต่อไป โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือ เมื่อคู่ Buddy ท่านหนึ่งพูด อีกท่านจะต้องให้ความร่วมมือด้วยการฟังอย่างตั้งใจ(Deep Listening) 1) สิ่งที่ทำ บอกเล่าตั้งแต่ได้ทำอะไรบ้างก่อนการเขียนแผน เช่น วิเคราะห์หลักสูตร วิเคราะห์ผู้เรียน เป็นต้น เป็นแผนการสอนวิชาอะไร กี่ชั่วโมง สอนชั้นอะไร ห้องอะไร องค์ประกอบของแผนมีอะไรบ้าง 2) ผลที่เกิด กล่าวถึงรายละเอียดของแผนของตน 3) บทเรียนที่ได้ เมื่อเขียนแผนเสร็จแล้ว มีความรู้สึกอย่างไร พึงพอใจมากน้อยแค่ไหน มีปัญหา อุปสรรคอะไรบ้าง 4) แล้วจะทำอะไรต่อไป จากบทเรียนที่ได้จากการเขียนแผนนี้ จะต้องปรับปรุงแก้ไข หรือพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ก่อนนำไปสอนจริงอย่าง หลังจากทั้งคู่ได้ถอดประสบการณ์ตามกรอบคำถามสำคัญ 4 คำถาม ได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ให้คำแนะนำซึ่งกันและกันแล้วจึงนัดหมายไปเยี่ยมชั้นเรียนและสังเกตการณ์สอนตามที่กำหนดไว้ กรณีมีผู้มาร่วมรับฟังการถอดประสบการณ์ครั้งนี้ ซึ่งอาจเป็นหัวหน้าระดับ หัวหน้ากลุ่มสาระ รองผู้อำนวยการโรงเรียน ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนศิษย์เก่า ตัวแทนชุมชน ตัวแทนนักเรียน ผู้แทนอื่น ๆ และหรือผู้อำนวยการโรงเรียน ให้ผู้ที่เป็นตัวแทนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นตามลำดับตั้งแต่ตัวแทนนักเรียน ตัวแทนหัวหน้าระดับ ตัวแทนหัวหน้ากลุ่มสาระ รองผู้อำนวยการโรงเรียน ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนศิษย์เก่า ตัวแทนชุมชน ผู้แทนอื่น ๆ และผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นท่านสุดท้าย 2.2.1.2 กิจกรรมการสอนและการเยี่ยมชั้นเรียน (Do) ในการไปเยี่ยมชั้นเรียนนั้น คู่ Buddy และผู้ที่มีส่วนร่วมไปเยี่ยมชั้นเรียนและสังเกตการสอน จะต้องไปก่อนเวลาประมาณ 10 นาที และจะต้องแสดงบทบาทของผู้สังเกตการณ์ที่ดี กล่าวคือ ต้องนั่งหรือยืน อย่างสงบ ไม่กระทำการใด ๆ อันไปขัดจังหวะ หรือเป็นอุปสรรคต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของคุณครูและนักเรียน งดการพูดคุย ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน และควรปิดเสียงโทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดเพื่อมิให้รบกวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ใช้การสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน พฤติกรรมการสอนของครู จุดที่เหมาะสมที่สุดในการสังเกต คือ ควรอยู่ ณ บริเวณ หน้าห้องด้านขวามือของคุณครูผู้สอน (เมื่อคุณครูยืนหันหน้าไปทางนักเรียน) ในการเยี่ยมชั้นเรียนของ Buddy และคณะ ควรกำหนดขอบเขตดังนี้ 1) สังเกตด้านสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียน ว่าเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนมากน้อยเพียงใด 2) สังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนทุกคน 3) สังเกตพฤติกรรมการสอนของครู 4) สังเกตการณ์เคลื่อนไหวของคุณครู ว่ามีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนเพียงบางคน บางกลุ่ม หรือทั้งชั้นเรียน อย่างไร มากน้อยเพียงใด 5) พิจารณาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ว่าเป็นไปตามแผนที่เขียนไว้หรือไม่ 6) บันทึกทั้งภาพ และลายลักษณ์อักษร เพื่อนำไปใช้ประกอบในการให้ข้อมูลย้อนกลับเมื่อสิ้นสุดกิจกรรม(AAR) 2.2.1.3 กิจกรรมถอดประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกัน (See) หลังสิ้นสุดกิจกรรม(After Action Review: AAR) ของระบบการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(CMS) ให้ถอดประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกันดังนี้ 1) การถอดประสบการณ์การเรียนรู้หลังสิ้นสุดกิจกรรม(AAR) ของคู่ Buddy คู่ Buddy และผู้ร่วมเยี่ยมชั้นเรียนทุกท่าน พบกันหลังสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และหรือในช่วงเวลาที่ทุกท่านว่างจากการสอน(แล้วแต่กรณี) เพื่อดำเนินกิจกรรมหลังสิ้นสุดกิจกรรม(AAR) โดยใช้คำถามสำคัญ 4 คำถาม ดังที่เคยใช้ในข้อ 2.2.1 ดังนี้ (1) สิ่งที่ทำ คู่ Buddy ที่ถูกสังเกตการณ์สอนกล่าวต่อที่ประชุมว่า ตนเองได้สอนวิชาอะไร ชั้น ห้อง อะไร รู้สึกอย่างไร สิ่งใดที่คิดว่าทำได้ดี สิ่งใดที่ต้องปรับปรุง ถ้าให้คะแนนตนเอง เต็ม 10 คะแนน จะให้เท่าไหร่ (2) ผลที่เกิด กล่าวถึงผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเองว่าเป็นอย่างไร(รายละเอียดเหมือนการบันทึกหลังสอน) (3) บทเรียนที่ได้ จากผลการจัดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น มีปัญหา อุปสรรคอะไรบ้าง (4) แล้วจะทำอะไรต่อไป บทเรียนที่ได้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้ จะต้องปรับปรุงแก้ไข หรือการจัดการเรียนรู้อย่างไรบ้าง หลังจากคู่ Buddy ทั้งสองท่านได้ถอดประสบการณ์ตามกรอบคำถามสำคัญ 4 คำถามแล้ว จึงเป็นหน้าที่ของบุคคลอื่นที่มาร่วมเยี่ยมชั้นเรียนและสังเกตการจัดการเรียนรู้ อันประกอบด้วย หัวหน้าระดับ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ รองผู้อำนวยการโรงเรียน ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนศิษย์เก่า ตัวแทนชุมชน ตัวแทนนักเรียน ผู้แทนอื่น ๆ และหรือผู้อำนวยการโรงเรียน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นตามลำดับตั้งแต่ตัวแทนนักเรียน ตัวแทนหัวหน้าระดับ ตัวแทนหัวหน้ากลุ่มสาระ รองผู้อำนวยการโรงเรียน ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนศิษย์เก่า ตัวแทนชุมชน ผู้แทนอื่น ๆ และผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นท่านสุดท้าย 2) การถอดประสบการณ์หลังสิ้นสุดกิจกรรม (AAR) ของโรงเรียน เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมตามกระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(Coaching and Mentoring) วงจรที่ 1 (P1) ของทุกคู่ Buddy ตามแผนที่กำหนดไว้แล้ว โรงเรียนจัดประชุมเชิงปฏิบัติการครูทั้งโรงเรียน เพื่อทำกิจกรรม AAR ใช้เวลา 2 ชั่วโมง โดยดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังนี้ (1) ประชุมรวมทั้งโรงเรียน (15 นาที) ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และคุณครูทุกท่าน ประชุมพร้อมกัน และดำเนินการประชุมโดยผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวเปิดประชุม กล่าวถึงวัตถุประสงค์ ลำดับขั้นตอน วิธีการ สถานที่ ระยะเวลาของการประชุมรวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้อง (2) ประชุมระดับ (60 นาที) แยกประชุมระดับ ตามสถานที่ที่กำหนดไว้ ควรแยกห้องเป็นระดับละ 1 ห้องเพื่อสะดวกในการใช้เสียงประชุม โดยมีรองผู้อำนวยการโรงเรียนที่รับผิดชอบแต่ละระดับไปดูแล ให้กำลังใจและ อำนวยความสะดวกต่าง ๆ แล้วดำเนินการประชุมไปตามขั้นตอนดังนี้ ก. รองผู้อำนวยการโรงเรียน กล่าวทักทาย ทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประชุม ระยะเวลา กิจกรรมและลำดับขั้นตอนของการประชุมระดับ และเน้นย้ำในเรื่องการถอดประสบการณ์การปฏิบัติกิจกรรมตามวงจรที่ 1 (P1) และการเป็นผู้ฟังที่ดี ตั้งใจฟังอย่างตั้งใจ(Deep Listening) และการใช้คำถามสำคัญ 4 คำถามในการถอดประสบการณ์ อันประกอบด้วย สิ่งที่ทำ ผลที่เกิด บทเรียนที่ได้ แล้วจะทำอะไรต่อไป ข. หัวหน้าระดับเป็นประธานในที่ประชุม กล่าวเปิดการประชุมและดำเนินการประชุมไปตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ ก) ให้แต่ละคู่ Buddy ถอดประสบการณ์การปฏิบัติกิจกรรมของวงจรที่ 1 (P1) ที่ผ่านมาให้คู่ของตนได้ฟัง ตามกรอบคำถามสำคัญ 4 คำถาม ข) ให้แต่ละคู่ Buddy ถอดประสบการณ์การปฏิบัติกิจกรรมของวงจรที่ 1 (P1) ที่ผ่านมาให้ที่ประชุมฟัง จนครบทุกคู่ Buddy ในขณะที่แต่ละคู่ Buddy ถอดประสบการณ์ให้ที่ประชุมฟังนั้น สมาชิกในที่ประชุมจดบันทึก เพื่อเป็นข้อมูลสรุปในภาพรวมในตอนท้ายของการประชุม ค) ที่ประชุมสรุปข้อมูลที่จะให้ตัวแทนไปนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ตามกรอบคำถามสำคัญ 4 คำถาม ง) ที่ประชุมมอบหมายตัวแทน 1-2 คน ไปนำเสนอในที่ประชุมตามกรอบคำถามสำคัญ 4 คำถาม จ) คู่ Buddy นั่งเขียนสรุปรายงานตามแบบฟอร์มที่กำหนดคนละ 3 แผ่น ฉ) หัวหน้าระดับ นำข้อมูลสรุปรายงานจากทุกคู่ Buddy มาหลอมรวมเป็นภาพรวมของระดับ ลงในแบบฟอร์มที่กำหนดจำนวน 3 แผ่น ช) หัวหน้าระดับกล่าวปิดการประชุม แล้วไปร่วมประชุมรวมทั้งโรงเรียนต่อไป (3) ประชุมรวมทั้งโรงเรียนอีกครั้ง (45 นาที) จัดโต๊ะประชุมแยกเป็นระดับ รวม 6 กลุ่ม โรงเรียนมอบหมายรองผู้อำนวยการโรงเรียน 1 ท่านเป็นผู้ดำเนินการประชุม รองผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวทักทาย ทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประชุม ระยะเวลา กิจกรรมและลำดับขั้นตอนของการประชุม และเน้นย้ำในเรื่องการถอดประสบการณ์การปฏิบัติกิจกรรมตามวงจรที่ 1 (P1) และการเป็นผู้ฟังที่ดี ตั้งใจฟังอย่างตั้งใจ(Deep Listening) และการใช้คำถามสำคัญ 4 คำถามในการถอดประสบการณ์ อันประกอบด้วย สิ่งที่ทำ ผลที่เกิด บทเรียนที่ได้ แล้วจะทำอะไรต่อไป หลังจากนั้นอาจใช้วิธีการขออาสาสมัครระดับที่พร้อมจะนำเสนอก่อน หรืออาจใช้วิธีการจับฉลากก็ได้ ใช้เวลา ระดับละ 5 นาที รวม 30 นาที อีก 15 นาทีสุดท้ายเป็นการสรุปในภาพรวมของโรงเรียน ตอบข้อ ซักถาม แล้วกล่าวปิดประชุมโดยผู้อำนวยการโรงเรียน คณะกรรมการร่วม 3 ฝ่ายของโรงเรียน นำแบบสรุปข้อมูลของระดับ มาหลอมรวมเป็น ภาพรวมของโรงเรียน แล้วเสนอไปตามสายงานถึงผู้อำนวยการโรงเรียน เงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งของการถอดประสบการณ์ตามกรอบคำถาม 4 ข้อข้างต้นคือ การเป็นผู้ฟังที่ดี ต้องฟังอย่างตั้งใจ (Deep Listening) ไม่พูดขัดจังหวะ ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอน และไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการทำให้ผู้พูดเสียสมาธิ ทั้งนี้ เพื่อฝึกการเป็นผู้พูดที่ดี และเป็นผู้ฟังที่ดี อันเป็นพื้นฐานสำคัญของการให้เกียรติ การยอมรับซึ่งกันและกัน จากที่กล่าวมาข้างตน เป็นอันสิ้นสุดกิจกรรมของการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) วงจรที่ 1 (P1) ของคู่ Buddy แต่ละคู่ แต่ละระดับ และภาพรวมทั้งโรงเรียน แล้วเตรียมการเพื่อขับเคลื่อนวงจรที่ 2 (P2) เป็นลำดับต่อไป 2.2.2 การดำเนินการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(Coaching and Mentoring) วงจรที่ 2(P2), ระยะเวลา 1 เดือน ๆ ละ 1 ครั้ง โดยมีกิจกรรม ดังต่อไปนี้ 2.2.2.1 ก่อนดำเนินการ (Before Action Review: BAR) 1) ประชุมเตรียมการ เป็นวาระการประชุมประจำเดือน เพื่อชี้แจงแนวทาง การขับเคลื่อนวงจรที่ 2 (P2) ภายในระยะเวลาที่กำหนด คู่ Buddy คู่เดิม ดำเนินกิจกรรมตามกระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง วงจรที่ 2 ดังภาพ 2 ภาพ 2 วงจรการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(Coaching and Mentoring) วงจรที่ 2 (P2) 2.2.2.2 กิจกรรมวางแผนการจัดการเรียนรู้ (Plan) คู่ Buddy แต่ละคน เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และหรือนำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้จัดทำไว้ มาร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยแต่ละคนถอดประสบการณ์การเขียนแผนฯ ของตนภายใต้กรอบคำถามสำคัญ 4 คำถาม คือ สิ่งที่ทำ ผลที่เกิด บทเรียนที่ได้ แล้วจะทำอะไรต่อไป โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือ เมื่อคู่ Buddy ท่านหนึ่งพูด อีกท่านจะต้องให้ความร่วมมือด้วยการตั้งใจฟัง 1) สิ่งที่ทำ บอกเล่าตั้งแต่ได้ทำอะไรบ้างก่อนการเขียนแผน เช่น วิเคราะห์หลักสูตร วิเคราะห์ผู้เรียน เป็นต้น เป็นแผนการสอนวิชาอะไร กี่ชั่วโมง สอนชั้นอะไร ห้องอะไร องค์ประกอบของแผนมีอะไรบ้าง 2) ผลที่เกิด กล่าวถึงรายละเอียดของแผนของตน 3) บทเรียนที่ได้ เมื่อเขียนแผนเสร็จแล้ว มีความรู้สึกอย่างไร พึงพอใจมากน้อยแค่ไหน มีปัญหา อุปสรรคอะไรบ้าง 4) แล้วจะทำอะไรต่อไป บทเรียนที่ได้จากการเขียนแผนนี้ จะต้องปรับปรุงแก้ไข หรือพัฒนา แผนการจัดการเรียนรู้ก่อนนำไปสอนจริงอย่างไรบ้าง หลังจากทั้งคู่ได้ถอดประสบการณ์การเขียนแผนฯ ตามกรอบคำถามสำคัญ 4 คำถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ให้คำแนะนำซึ่งกันและกันแล้ว จึงนัดหมายไปเยี่ยมชั้นเรียนและสังเกตการณ์สอนตามที่กำหนดไว้ กรณีมีผู้มาร่วมกิจกรรมวางแผนการจัดการเรียนรู้มากกว่าคู่ Buddy ซึ่งอาจเป็น หัวหน้าระดับ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ รองผู้อำนวยการโรงเรียน ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนศิษย์เก่า ตัวแทนชุมชน ตัวแทนนักเรียน ผู้แทนอื่น ๆ และหรือผู้อำนวยการโรงเรียน ให้ผู้ที่เป็นตัวแทนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นตามลำดับตั้งแต่ตัวแทนนักเรียน ตัวแทนหัวหน้าระดับ ตัวแทนหัวหน้ากลุ่มสาระ รองผู้อำนวยการโรงเรียน ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนศิษย์เก่า ตัวแทนชุมชน ผู้แทนอื่น ๆ และผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นท่านสุดท้าย 2.2.2.3 กิจกรรมการสอนและการเยี่ยมชั้นเรียน (Do) คู่ Buddy และผู้ที่มีส่วนร่วมไปเยี่ยมชั้นเรียนและสังเกตการสอน จะต้องไปก่อนเวลาประมาณ 10 นาที จะต้องแสดงบทบาทของผู้สังเกตการณ์ที่ดี กล่าวคือ ต้องนั่งหรือยืนอย่างสงบ ไม่กระทำการใด ๆ อันไปขัดจังหวะ หรือเป็นอุปสรรคต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของคุณครูและนักเรียน งดการพูดคุย และควรปิดเสียงโทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดเพื่อมิให้รบกวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ใช้การสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน จุดที่เหมาะสมที่สุดในการสังเกต คือ ควรอยู่ ณ บริเวณ หน้าห้องด้านขวามือของคุณครูผู้สอน (ในกรณีที่คุณครูยืนหันหน้าไปทางนักเรียน) ในการเยี่ยมชั้นเรียนของ Buddy และคณะ ควรกำหนดขอบเขตดังนี้ 1) สังเกตด้านสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียน ว่าเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนมากน้อยเพียงใด 2) สังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนทุกคน 3) สังเกตการณ์เคลื่อนไหวของคุณครู ว่ามีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนเพียงบางคน บางกลุ่ม หรือทั้งชั้นเรียน 4) พิจารณาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ว่าเป็นไปตามแผนที่เขียนไว้หรือไม่ 5) บันทึกทั้งภาพ และลายลักษณ์อักษร เพื่อนำไปใช้ประกอบในการให้ข้อมูล ย้อนกลับเมื่อสิ้นสุดกิจกรรม(AAR) 2.2.2.4 กิจกรรมถอดประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกัน (See) หลังสิ้นสุดกิจกรรม(After Action Review: AAR) ของกระบวนการชี้แนะและ การเป็นพี่เลี้ยง(Coaching and Mentoring) ดังนี้ 1) การถอดประสบการณ์การเรียนรู้หลังสิ้นสุดกิจกรรม (AAR) ของคู่ Buddy คู่ Buddy และผู้ร่วมเยี่ยมชั้นเรียนทุกท่าน พบกันหลังสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และหรือในช่วงเวลาที่ทุกท่านว่างจากการสอน(แล้วแต่กรณี) เพื่อดำเนินการกิจกรรมหลังสิ้นสุดกิจกรรม(AAR) โดยใช้คำถามสำคัญ 4 คำถาม ดังนี้ (1) สิ่งที่ทำ คู่ Buddy ที่ถูกสังเกตการณ์สอนกล่าวต่อที่ประชุมว่า ตนเองได้สอนวิชาอะไร ชั้น ห้อง อะไร รู้สึกอย่างไร สิ่งใดที่คิดว่าทำได้ดี สิ่งใดที่ต้องปรับปรุง ถ้าให้คะแนนตนเอง เต็ม 10 คะแนน จะให้เท่าไหร่ (2) ผลที่เกิด กล่าวถึงผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเองว่าเป็นอย่างไร(รายละเอียดเหมือนการบันทึกหลังสอน) (3) บทเรียนที่ได้ จากผลการจัดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น มีปัญหา อุปสรรคอะไรบ้าง (4) แล้วจะทำอะไรต่อไป บทเรียนที่ได้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้ จะต้องปรับปรุงแก้ไขหรือ การจัดการเรียนรู้อย่างไรบ้าง หลังจากคู่ Buddy ทั้งสองท่านได้ถอดประสบการณ์ตามกรอบคำถามสำคัญ 4 คำถามแล้ว จึงเป็นหน้าที่ของบุคคลอื่นที่มาร่วมเยี่ยมชั้นเรียนและสังเกตการจัดการเรียนรู้ อันประกอบด้วย หัวหน้าระดับ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ รองผู้อำนวยการโรงเรียน ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนศิษย์เก่า ตัวแทนชุมชน ตัวแทนนักเรียน ผู้แทนอื่น ๆ และหรือผู้อำนวยการโรงเรียน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ตามลำดับตั้งแต่ตัวแทนนักเรียน ตัวแทนหัวหน้าระดับ ตัวแทนหัวหน้ากลุ่มสาระ รองผู้อำนวยการโรงเรียน ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนศิษย์เก่า ตัวแทนชุมชน ผู้แทนอื่น ๆ และผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นท่านสุดท้าย 2) การถอดประสบการณ์หลังสิ้นสุดกิจกรรม (AAR) ของโรงเรียน เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมตามกระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(Coaching and Mentoring) วงจรที่ 2 (P2) ของทุกคู่ Buddy ตามแผนที่กำหนดไว้แล้ว โรงเรียนจัดประชุมเชิงปฏิบัติการครู ทั้งโรงเรียน เพื่อทำกิจกรรม AAR ใช้เวลา 2 ชั่วโมง โดยดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังนี้ (1) ประชุมรวมทั้งโรงเรียน (15 นาที) ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และคุณครูทุกท่าน ประชุมพร้อมกัน และดำเนินการประชุมโดยผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวเปิดประชุม กล่าวถึงวัตถุประสงค์ ลำดับขั้นตอน วิธีการ สถานที่ ระยะเวลาของการประชุมรวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้อง (2) ประชุมระดับ (60 นาที) แยกประชุมระดับ ตามสถานที่ที่กำหนดไว้ ควรแยกห้องเป็นระดับละ 1 ห้องเพื่อสะดวกในการใช้เสียงประชุม โดยมีรองผู้อำนวยการโรงเรียนที่รับผิดชอบแต่ละระดับไปดูแล ให้กำลังใจและ อำนวยความสะดวกต่าง ๆ แล้วดำเนินการประชุมไปตามขั้นตอนดังนี้ ก. รองผู้อำนวยการโรงเรียน กล่าวทักทาย ทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประชุม ระยะเวลา กิจกรรมและลำดับขั้นตอนของการประชุมระดับ และเน้นย้ำในเรื่องการถอดประสบการณ์การปฏิบัติกิจกรรมตามวงจรที่ 2 (P2) และการเป็นผู้ฟังที่ดี ตั้งใจฟังอย่างตั้งใจ(Deep Listening) และการใช้คำถามสำคัญ 4 คำถามในการถอดประสบการณ์ อันประกอบด้วย สิ่งที่ทำ ผลที่เกิด บทเรียนที่ได้ แล้วจะทำอะไรต่อไป ข. หัวหน้าระดับเป็นประธานในที่ประชุม กล่าวเปิดการประชุมและดำเนินการประชุมไปตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ ก) ให้แต่ละคู่ Buddy ถอดประสบการณ์การปฏิบัติกิจกรรมของวงจรที่ 2 (P2) ที่ผ่านมาให้คู่ของตนได้ฟัง ตามกรอบคำถามสำคัญ 4 คำถาม ข) ให้แต่ละคู่ Buddy ถอดประสบการณ์การปฏิบัติกิจกรรมของวงจรที่ 2 (P2) ที่ผ่านมาให้ที่ประชุมฟัง จนครบทุกคู่ Buddy ในขณะที่แต่ละคู่ Buddy ถอดประสบการณ์ให้ที่ประชุมฟังนั้น สมาชิกในที่ประชุมจดบันทึก เพื่อเป็นข้อมูลสรุปในภาพรวมในตอนท้ายของการประชุม ค) ที่ประชุมสรุปข้อมูลที่จะให้ตัวแทนไปนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ตามกรอบคำถามสำคัญ 4 คำถาม ง) ที่ประชุมมอบหมายตัวแทน 1-2 คน ไปนำเสนอในที่ประชุมตามกรอบคำถามสำคัญ 4 คำถาม จ) คู่ Buddy นั่งเขียนสรุปรายงานตามแบบฟอร์มที่กำหนดคนละ 3 แผ่น ฉ) หัวหน้าระดับ นำข้อมูลสรุปรายงานจากทุกคู่ Buddy มาหลอมรวมเป็นภาพรวมของระดับ ลงในแบบฟอร์มที่กำหนดจำนวน 3 แผ่น ช) หัวหน้าระดับกล่าวปิดการประชุม แล้วไปร่วมประชุมรวมทั้งโรงเรียนต่อไป (3) ประชุมรวมทั้งโรงเรียนอีกครั้ง (45 นาที) จัดโต๊ะประชุมแยกเป็นระดับ รวม 6 กลุ่ม โรงเรียนมอบหมายรองผู้อำนวยการโรงเรียน 1 ท่านเป็นผู้ดำเนินการประชุม รองผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวทักทาย ทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายของ การประชุม ระยะเวลา กิจกรรมและลำดับขั้นตอนของการประชุม และเน้นย้ำในเรื่องการถอดประสบการณ์การปฏิบัติกิจกรรมตามวงจรที่ 2 (P2) และการเป็นผู้ฟังที่ดี ตั้งใจฟังอย่างตั้งใจ(Deep Listening) และการใช้คำถามสำคัญ 4 คำถามในการถอดประสบการณ์ อันประกอบด้วย สิ่งที่ทำ ผลที่เกิด บทเรียนที่ได้ แล้วจะทำอะไรต่อไป หลังจากนั้นอาจใช้วิธีการขออาสาสมัครระดับที่พร้อมจะนำเสนอก่อน หรืออาจใช้วิธีการจับฉลาก ก็ได้ ใช้เวลา ระดับละ 5 นาที รวม 30 นาที อีก 15 นาทีสุดท้ายเป็นการสรุปในภาพรวมของโรงเรียน ตอบข้อซักถาม แล้วกล่าวปิดประชุมโดยผู้อำนวยการโรงเรียน คณะกรรมการร่วม 3 ฝ่ายของโรงเรียน นำแบบสรุปข้อมูลของระดับ มาหลอมรวมเป็น ภาพรวมของโรงเรียน แล้วเสนอไปตามสายงานถึงผู้อำนวยการโรงเรียน เงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งของการถอดประสบการณ์ตามกรอบคำถาม 4 ข้อข้างต้นคือ การเป็นผู้ฟังที่ดี ต้องฟังอย่างตั้งใจ (Deep Listening) ไม่พูดขัดจังหวะ และไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการทำให้ผู้พูดเสียสมาธิ ทั้งนี้ เพื่อฝึกการเป็นผู้พูดที่ดีและเป็นผู้ฟังที่ดีอันเป็นพื้นฐานสำคัญของการให้เกียรติ การยอมรับ ซึ่งกันและกัน จากที่กล่าวมาข้างตน เป็นอันสิ้นสุดกิจกรรมของการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) วงจรที่ 2 (P2) ของคู่ Buddy แต่ละคู่ แต่ละระดับ และภาพรวมทั้งโรงเรียน แล้วเตรียมการเพื่อขับเคลื่อนวงจรที่ 3 (P3) เป็นลำดับต่อไป 2.2.3 การดำเนินการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(Coaching and Mentoring) วงจรที่ 3(P3), ระยะเวลา 1 เดือน ๆ ละ 1 ครั้ง โดยมีกิจกรรม ดังต่อไปนี้ 2.2.3.1 ก่อนดำเนินการ (Before Action Review: BAR) 1) ประชุมเตรียมการ เป็นวาระการประชุมประจำเดือน เพื่อชี้แจงแนวทาง การขับเคลื่อนวงจรที่ 3 (P3) ภายในระยะเวลาที่กำหนด คู่ Buddy คู่เดิม ดำเนินกิจกรรมตามกระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง วงจรที่ 3 ดังภาพ 3 ภาพ 3 วงจรการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(Coaching and Mentoring) วงจรที่ 3 (P3) 2.2.3.2 ;กิจกรรมวางแผนการจัดการเรียนรู้ (Plan) คู่ Buddy แต่ละคน เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และหรือนำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้จัดทำไว้ มาร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยแต่ละคนถอดประสบการณ์การเขียนแผนฯ ของตนภายใต้กรอบคำถามสำคัญ 4 คำถาม คือ สิ่งที่ทำ ผลที่เกิด บทเรียนที่ได้ แล้วจะทำอะไรต่อไป โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือ เมื่อคู่ Buddy ท่านหนึ่งพูด อีกท่านจะต้องให้ความร่วมมือด้วยการตั้งใจฟัง 1) สิ่งที่ทำ บอกเล่าตั้งแต่ได้ทำอะไรบ้างก่อนการเขียนแผน เช่น วิเคราะห์หลักสูตร วิเคราะห์ผู้เรียน เป็นต้น เป็นแผนการสอนวิชาอะไร กี่ชั่วโมง สอนชั้นอะไร ห้องอะไร องค์ประกอบของแผนมีอะไรบ้าง 2) ผลที่เกิด กล่าวถึงรายละเอียดของแผนของตน 3) บทเรียนที่ได้ เมื่อเขียนแผนเสร็จแล้ว มีความรู้สึกอย่างไร พึงพอใจมากน้อยแค่ไหน มีปัญหา อุปสรรคอะไรบ้าง 4) แล้วจะทำอะไรต่อไป จากบทเรียนที่ได้จากการเขียนแผนนี้ จะต้องปรับปรุงแก้ไข หรือพัฒนา แผนการจัดการเรียนรู้ก่อนนำไปสอนจริงอย่างไรบ้าง หลังจากทั้งคู่ได้ถอดประสบการณ์การเขียนแผนฯ ตามกรอบคำถามสำคัญ 4 คำถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ให้คำแนะนำซึ่งกันและกัน แล้วนัดหมายไปเยี่ยมชั้นเรียนและสังเกตการณ์สอนตามที่กำหนดไว้ กรณีมีผู้มาร่วมกิจกรรมวางแผนการจัดการเรียนรู้มากกว่าคู่ Buddy ซึ่งอาจเป็น หัวหน้าระดับ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ รองผู้อำนวยการโรงเรียน ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนศิษย์เก่า ตัวแทนชุมชน ตัวแทนนักเรียน ผู้แทนอื่น ๆ และหรือผู้อำนวยการโรงเรียน ให้ผู้ที่เป็นตัวแทนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นตามลำดับตั้งแต่ตัวแทนนักเรียน ตัวแทนหัวหน้าระดับ ตัวแทนหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ รองผู้อำนวยการโรงเรียน ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนศิษย์เก่า ตัวแทนชุมชน ผู้แทนอื่น ๆ และผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นท่านสุดท้าย 2.2.3.3 ;กิจกรรมการสอนและการเยี่ยมชั้นเรียน (Do) คู่ Buddy และผู้ที่มีส่วนร่วมไปเยี่ยมชั้นเรียนและสังเกตการสอน จะต้องไปก่อนเวลาประมาณ 10 นาที จะต้องแสดงบทบาทของผู้สังเกตการณ์ที่ดี กล่าวคือ ต้องนั่งหรือยืน อย่างสงบ ไม่กระทำการใด ๆ อันไปขัดจังหวะ หรือเป็นอุปสรรคต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของคุณครูและนักเรียน งดการพูดคุย และควรปิดเสียงโทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดเพื่อมิให้รบกวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ใช้การสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน จุดที่เหมาะสมที่สุดในการสังเกต คือ ควรอยู่ ณ บริเวณ หน้าห้องด้านขวามือของคุณครูผู้สอน (ในกรณีที่คุณครูยืนหันหน้าไปทางนักเรียน) ในการเยี่ยมชั้นเรียนของ Buddy และคณะ ควรกำหนดขอบเขตดังนี้ 1) สังเกตด้านสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียน ว่าเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนมากน้อยเพียงใด 2) สังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนทุกคน 3) สังเกตการณ์เคลื่อนไหวของคุณครู ว่ามีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนเพียงบางคน บางกลุ่ม หรือทั้งชั้นเรียน 4) พิจารณาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ว่าเป็นไปตามแผนที่เขียนไว้หรือไม่ 5) บันทึกทั้งภาพ และลายลักษณ์อักษร เพื่อนำไปใช้ประกอบในการให้ข้อมูลย้อนกลับเมื่อสิ้นสุดกิจกรรม(AAR) 2.2.3.4 กิจกรรมถอดประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกัน (See) หลังสิ้นสุดกิจกรรม(After Action Review: AAR) ของกระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(Coaching and Mentoring) มีกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการ 2 กิจกรรม ดังนี้ 1) การถอดประสบการณ์หลังสิ้นสุดกิจกรรม (AAR) ของคู่ Buddy คู่ Buddy และผู้ร่วมเยี่ยมชั้นเรียนทุกท่าน พบกันหลังสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และหรือในช่วงเวลาที่ทุกท่านว่างจากการสอน(แล้วแต่กรณี) เพื่อดำเนินการกิจกรรมหลังสิ้นสุดกิจกรรม(AAR) โดยใช้คำถามสำคัญ 4 คำถาม ดังนี้ (1) สิ่งที่ทำ คู่ Buddy ที่ถูกสังเกตการณ์สอนกล่าวต่อที่ประชุมว่า ตนเองได้สอนวิชา อะไร ชั้น ห้อง อะไร รู้สึกอย่างไร สิ่งใดที่คิดว่าทำได้ดี สิ่งใดที่ต้องปรับปรุง ถ้าให้คะแนนตนเอง เต็ม 10 คะแนน จะให้เท่าไหร่ (2) ผลที่เกิด กล่าวถึงผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเองว่าเป็นอย่างไร(รายละเอียดเหมือนการบันทึกหลังสอน) (3) บทเรียนที่ได้ จากผลการจัดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น มีปัญหา อุปสรรคอะไรบ้าง (4) แล้วจะทำอะไรต่อไป บทเรียนที่ได้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้ จะต้องปรับปรุงแก้ไข หรือการจัดการเรียนรู้อย่างไรบ้าง หลังจากคู่ Buddy ทั้งสองท่านได้ถอดประสบการณ์ตามกรอบคำถามสำคัญ 4 คำถามแล้ว จึงเป็นหน้าที่ของบุคคลอื่นที่มาร่วมเยี่ยมชั้นเรียนและสังเกตการจัดการเรียนรู้ อันประกอบด้วย หัวหน้าระดับ หัวหน้ากลุ่มสาระ รองผู้อำนวยการโรงเรียน ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนศิษย์เก่า ตัวแทนชุมชน ตัวแทนนักเรียน ผู้แทนอื่น ๆ และหรือผู้อำนวยการโรงเรียน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นตามลำดับตั้งแต่ตัวแทนนักเรียน ตัวแทนหัวหน้าระดับ ตัวแทนหัวหน้ากลุ่มสาระ รองผู้อำนวยการโรงเรียน ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนศิษย์เก่า ตัวแทนชุมชน ผู้แทนอื่น ๆ และผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นท่านสุดท้าย 2) การถอดประสบการณ์หลังสิ้นสุดกิจกรรม(AAR) ของโรงเรียน เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมตามกระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(Coaching and Mentoring) วงจรที่ 3 (P3) ของทุกคู่ Buddy ตามแผนที่กำหนดไว้แล้ว โรงเรียนจัดประชุมเชิงปฏิบัติการครูทั้งโรงเรียน เพื่อทำกิจกรรม AAR ใช้เวลา 2 ชั่วโมง โดยดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังนี้ (1) ประชุมรวมทั้งโรงเรียน (15 นาที) ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และคุณครูทุกท่าน ประชุมพร้อมกัน และดำเนินการประชุมโดยผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวเปิดประชุม กล่าวถึงวัตถุประสงค์ ลำดับขั้นตอน วิธีการ สถานที่ ระยะเวลาของการประชุมรวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้อง (2) ประชุมระดับ (60 นาที) แยกประชุมระดับ ตามสถานที่ที่กำหนดไว้ ควรแยกห้องเป็นระดับละ 1 ห้องเพื่อสะดวกในการใช้เสียงประชุม โดยมีรองผู้อำนวยการโรงเรียนที่รับผิดชอบแต่ละระดับไปดูแล ให้กำลังใจและ อำนวยความสะดวกต่าง ๆ แล้วดำเนินการประชุมไปตามขั้นตอนดังนี้ ก. รองผู้อำนวยการโรงเรียน กล่าวทักทาย ทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประชุม ระยะเวลา กิจกรรมและลำดับขั้นตอนของการประชุมระดับ และเน้นย้ำในเรื่องการถอดประสบการณ์การปฏิบัติกิจกรรมตามวงจรที่ 2 (P2) และการเป็นผู้ฟังที่ดี ตั้งใจฟังอย่างตั้งใจ(Deep Listening) และการใช้คำถามสำคัญ 4 คำถามในการถอดประสบการณ์ อันประกอบด้วย สิ่งที่ทำ ผลที่เกิด บทเรียนที่ได้ แล้วจะทำอะไรต่อไป ข. หัวหน้าระดับเป็นประธานในที่ประชุม กล่าวเปิดการประชุมและดำเนินการประชุมไปตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ ก) ให้แต่ละคู่ Buddy ถอดประสบการณ์การปฏิบัติกิจกรรมของวงจรที่ 3 (P3) ที่ผ่านมาให้คู่ของตนได้ฟัง ตามกรอบคำถามสำคัญ 4 คำถาม ข) ให้แต่ละคู่ Buddy ถอดประสบการณ์การปฏิบัติกิจกรรมของวงจรที่ 3 (P3) ที่ผ่านมาให้ที่ประชุมฟัง จนครบทุกคู่ Buddy ในขณะที่แต่ละคู่ Buddy ถอดประสบการณ์ให้ที่ประชุมฟังนั้น สมาชิกในที่ประชุมจดบันทึก เพื่อเป็นข้อมูลสรุปในภาพรวมในตอนท้ายของการประชุม ค) ที่ประชุมสรุปข้อมูลที่จะให้ตัวแทนไปนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ตามกรอบคำถามสำคัญ 4 คำถาม ง) ที่ประชุมมอบหมายตัวแทน 1-2 คน ไปนำเสนอในที่ประชุมตามกรอบคำถามสำคัญ 4 คำถาม จ) คู่ Buddy นั่งเขียนสรุปรายงานตามแบบฟอร์มที่กำหนดคนละ 3 แผ่น ฉ) หัวหน้าระดับ นำข้อมูลสรุปรายงานจากทุกคู่ Buddy มาหลอมรวมเป็นภาพรวมของระดับ ลงในแบบฟอร์มที่กำหนดจำนวน 3 แผ่น ช) หัวหน้าระดับกล่าวปิดการประชุม แล้วไปร่วมประชุมรวมทั้งโรงเรียนอีกครั้ง (3) ประชุมรวมทั้งโรงเรียนอีกครั้ง (45 นาที) จัดโต๊ะประชุมแยกเป็นระดับ รวม 6 กลุ่ม โรงเรียนมอบหมายรองผู้อำนวยการโรงเรียน 1 ท่านเป็นผู้ดำเนินการประชุม รองผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวทักทาย ทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายของ การประชุม ระยะเวลา กิจกรรมและลำดับขั้นตอนของการประชุม และเน้นย้ำในเรื่องการถอดประสบการณ์การปฏิบัติกิจกรรมตามวงจรที่ 3 (P3) และการเป็นผู้ฟังที่ดี ตั้งใจฟังอย่างตั้งใจ(Deep Listening) และการใช้คำถามสำคัญ 4 คำถามในการถอดประสบการณ์ อันประกอบด้วย สิ่งที่ทำ ผลที่เกิด บทเรียนที่ได้ แล้วจะทำอะไรต่อไป หลังจากนั้นอาจใช้วิธีการขออาสาสมัครระดับที่พร้อมจะนำเสนอก่อน หรืออาจใช้วิธีการจับฉลาก ก็ได้ ใช้เวลา ระดับละ 5 นาที รวม 30 นาที อีก 15 นาทีสุดท้ายเป็นการสรุปในภาพรวมของโรงเรียน ตอบข้อซักถาม แล้วกล่าวปิดประชุมโดยผู้อำนวยการโรงเรียน คณะกรรมการร่วม 3 ฝ่ายของโรงเรียน นำแบบสรุปข้อมูลของระดับ มาหลอมรวมเป็นภาพรวมของโรงเรียน แล้วเสนอไปตามสายงานถึงผู้อำนวยการโรงเรียน เงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งของการถอดประสบการณ์ตามกรอบคำถาม 4 ข้อข้างต้นคือ การเป็นผู้ฟังที่ดี ต้องฟังอย่างตั้งใจ (Deep Listening) ไม่พูดขัดจังหวะ และไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ผู้พูดเสียสมาธิ ทั้งนี้ เพื่อการการฝึกการเป็นผู้พูดที่ดี และเป็นผู้ฟังที่ดี อันเป็นพื้นฐานสำคัญของการให้เกียรติ การยอมรับซึ่งกันและกัน จากที่กล่าวมาข้างตน เป็นอันสิ้นสุดกิจกรรมของการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) วงจรที่ 3 (P3) ของคู่ Buddy แต่ละคู่ แต่ละระดับ และภาพรวมทั้งโรงเรียน แล้วเตรียมการเพื่อจัดกิจกรรมนำเสนอผลงาน(Symposium) เป็นลำดับต่อไป เมื่อขับเคลื่อนวงจรของการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) ครบทั้ง 3 วงจร แล้ว โรงเรียนกำหนดกิจกรรมถอดประสบการณ์การเรียนรู้เมื่อเสร็จสิ้นการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการขี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(After Action Review: AAR) ดังนี้ 1. ประชุมครูทั้งโรงเรียน (30 นาที) ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และคุณครูทุกท่าน ประชุมพร้อมกัน และดำเนินการประชุมโดยผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวเปิดประชุม กล่าวถึงวัตถุประสงค์ ลำดับขั้นตอน วิธีการ สถานที่ ระยะเวลาของการประชุมรวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2. ประชุมระดับ (60 นาที) แยกประชุมระดับ ตามสถานที่ที่กำหนดไว้ ควรแยกห้องเป็นระดับละ 1 ห้องเพื่อสะดวกในการใช้เสียงประชุม โดยมีรองผู้อำนวยการโรงเรียนที่รับผิดชอบแต่ละระดับไปดูแล ให้กำลังใจและ อำนวยความสะดวกต่าง ๆ แล้วดำเนินการประชุมไปตามขั้นตอนดังนี้ 2.1 รองผู้อำนวยการโรงเรียน กล่าวทักทาย ทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประชุม ระยะเวลา กิจกรรมและลำดับขั้นตอนของการประชุมระดับ และเน้นย้ำในเรื่องการถอดประสบการณ์การปฏิบัติกิจกรรมตามวงจรที่ 1 - 3 (P1 – P3) และการเป็นผู้ฟังที่ดี ตั้งใจฟังอย่างตั้งใจ(Deep Listening) และการใช้คำถามสำคัญ 4 คำถามในการถอดประสบการณ์ อันประกอบด้วย สิ่งที่ทำ ผลที่เกิด บทเรียนที่ได้ แล้วจะทำอะไรต่อไป 2.2 หัวหน้าระดับเป็นประธานในที่ประชุม กล่าวเปิดการประชุมและดำเนินการประชุมไปตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 2.2.1 ให้แต่ละคู่ Buddy ถอดประสบการณ์การปฏิบัติกิจกรรมของวงจรที่ 1 - 3 (P1 - P3) ที่ผ่านมาให้คู่ของตนได้ฟัง ตามกรอบคำถามสำคัญ 4 คำถาม 2.2.2 ให้แต่ละคู่ Buddy ถอดประสบการณ์การปฏิบัติกิจกรรมของวงจรที่ 1 - 3 (P1 - P3) ที่ผ่านมาให้ที่ประชุมฟัง จนครบทุกคู่ Buddy ในขณะที่แต่ละคู่ Buddy ถอดประสบการณ์ให้ที่ประชุมฟังนั้น สมาชิกในที่ประชุมจดบันทึก เพื่อเป็นข้อมูลสรุปในภาพรวมในตอนท้ายของการประชุม 2.2.3 ที่ประชุมสรุปข้อมูลที่จะให้ตัวแทนไปนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ตามกรอบคำถามสำคัญ 4 คำถาม 2.2.4 ที่ประชุมมอบหมายตัวแทน 1-2 คน ไปนำเสนอในที่ประชุมตามกรอบคำถามสำคัญ 4 คำถาม 2.2.5 ที่ประชุมร่วมกันเขียนข้อความนำเสนอภายใต้กรอบคำถามสำคัญ 4 ข้อ เพื่อนำไปนำเสนอในที่ประชุมใหญ่ของโรงเรียน 2.2.6 คู่ Buddy นั่งเขียนสรุปรายงานตามแบบฟอร์มที่กำหนดคนละ 3 แผ่น 2.2.7 หัวหน้าระดับ นำข้อมูลสรุปรายงานจากทุกคู่ Buddy มาหลอมรวมเป็นภาพรวมของระดับ ลงในแบบฟอร์มที่กำหนดจำนวน 3 แผ่น 2.2.8 หัวหน้าระดับกล่าวปิดการประชุม แล้วไปร่วมประชุมรวมทั้งโรงเรียนอีกครั้ง 3. ประชุมรวมทั้งโรงเรียนอีกครั้ง (45 นาที) จัดโต๊ะประชุมแยกเป็นระดับ รวม 6 กลุ่ม รองผู้อำนวยการโรงเรียนดูแลกลุ่มระดับที่ตนรับผิดชอบ โรงเรียนมอบหมายรองผู้อำนวยการโรงเรียน 1 ท่านเป็นผู้ดำเนินการประชุม รองผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวทักทาย ทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายของ การประชุม ระยะเวลา กิจกรรมและลำดับขั้นตอนของการประชุม และเน้นย้ำในเรื่องการถอดประสบการณ์การปฏิบัติกิจกรรมตามวงจรที่ 3 (P3) และการเป็นผู้ฟังที่ดี ตั้งใจฟังอย่างตั้งใจ(Deep Listening) และการใช้คำถามสำคัญ 4 คำถามในการถอดประสบการณ์ อันประกอบด้วย สิ่งที่ทำ ผลที่เกิด บทเรียนที่ได้ แล้วจะทำอะไรต่อไป หลังจากนั้นอาจใช้วิธีการขออาสาสมัครระดับที่พร้อมจะนำเสนอก่อน หรืออาจใช้วิธีการจับฉลากก็ได้ ใช้เวลา ระดับละ 5 นาที รวม 30 นาที อีก 15 นาทีสุดท้ายเป็นการสรุปในภาพรวมของโรงเรียน ตอบข้อซักถาม แล้วกล่าวปิดประชุมโดยผู้อำนวยการโรงเรียน จากที่กล่าวมาข้างตน เป็นอันสิ้นสุดกิจกรรมของการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) วงจรที่ 1 - 3 (P1 - P3) ของคู่ Buddy แต่ละคู่ แต่ละระดับ และภาพรวมทั้งโรงเรียน แต่ละระดับนำบันทึกรายงานตามแบบฟอร์มที่กำหนด จำนวน 3 แผ่น ไปหลอมรวมเป็นข้อมูลระดับ และในภาพรวมของโรงเรียนต่อไป 3. ขั้นประเมินผล(Check: C) 3.1 สังเกต สังเกตพฤติกรรมของ 1) ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน 2) รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 4 คน 3) หัวหน้าฝ่าย จำนวน 3 คน ประกอบด้วย หัวหน้าฝ่ายบริหารวิชาการ หัวหน้าฝ่ายกิจการนักรเยน และหัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคคล 4) หัวหน้างาน จำนวน 2 คน ประกอบด้วย หัวหน้างานนิเทศภายใน และหัวหน้างานส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน 5) หัวหน้าระดับ จำนวน 6 คน 6) หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 8 คน 7) คู่ Buddy จำนวน 100 คน ผู้สังเกตพฤติกรรม ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าฝ่าย หัวหน้างาน หัวหน้าระดับ หัวหน้ากลุ่มสาระ คู่ Buddy ผู้แทนของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ชมรมศิษย์เก่า เครือข่ายผู้ปกครอง และสภานักเรียน ตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละบุคคล แล้วบันทึกผลในแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมที่กำหนด 3.2 เยี่ยมชั้นเรียน เยี่ยมชั้นเรียนคู่ Buddy จำนวน 100 คน 50 คู่ ผู้เยี่ยมชั้นเรียนประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าฝ่าย หัวหน้างาน หัวหน้าระดับ หัวหน้ากลุ่มสาระ คู่ Buddy ผู้แทนของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ชมรมศิษย์เก่า เครือข่ายผู้ปกครอง และหรือสภานักเรียน ใช้แบบบันทึกการเยี่ยมชั้นเรียนตามที่กำหนด 3.3 วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากกิจกรรม AAR และ Symposium โดยมีขั้นตอนดังนี้ 3.3.1 คู่ Buddy ถอดประสบการณ์การปฏิบัติกรรมตามกระบวนการชี้แนะและการเป็น พี่เลี้ยง(Coaching and Mentoring) แล้วบันทึกในแบบที่กำหนด 3.3.2 หัวหน้าระดับวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศจากแบบบันทึกของคู่ Buddy ทุกคู่ แล้วสรุปเป็นภาพรวมของระดับตามแบบที่กำหนด 3.3.3 หัวหน้าฝ่าย และหัวหน้างานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศจากแบบที่แต่ละระดับบันทึกไว้ และสรุปหลอมรวมเป็นภาพรวมของโรงเรียน 4. ขั้นปรับปรุงและพัฒนา(Act: A) นำผลของการประเมิน มาใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศประกอบการประชุมครูเพื่อรับทราบผลการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(Coaching and Mentoring) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ แล้วร่วมกันวางแผนการดำเนินงานในครั้งต่อไป

ผลที่เกิด

เมื่อดำเนินการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) จนสิ้นภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 แล้ว ปรากฏผลดังนี้ 1. ผลที่เกิดต่อผู้บริหาร 1.1 ผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียนทั้ง 4 ท่าน มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะ กระบวนการ และประสบการณ์ในการบริหารจัดการโรงเรียนตามรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(Coaching and Mentoring) 1.2 คณะผู้บริหารของโรงเรียนมีความรัก ความสามัคคี ร่วมมือกันบริหารจัดการโครงการนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.3 ผลของการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารจัดการโรงเรียนเมืองกระบี่ เมื่อวันที่.............ตุลาคม 2558 มีความพึงพอใจต่อคุณภาพผู้บริหารในระดับมาก และเมื่อวันที่.............เดือน..................... 2558 มีความพึงพอใจต่อคุณภาพผู้บริหารในระดับมาก ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อคุณภาพผู้บริหารสูงขึ้นกว่าผลการประเมินเมื่อวันที่.........กุมภาพันธ์ 2558 2. ผลที่เกิดต่อครู 2.1 ครูยอมรับการปรับระบบครูที่ปรึกษา ซึ่งเดิมใช้วิธีการเริ่มเป็นครูที่ปรึกษาในปีแรกของระดับชั้น แล้วติดตามไปเป็นครูที่ปรึกษา แต่ครูที่ปรึกษาไม่สอนนักเรียนในที่ปรึกษาในปีที่เลื่อนขั้นไป ปรับเป็น ครูที่ปรึกษาสอนชั้นใดก็สมัครใจที่จะเป็นครูที่ปรึกษาในชั้นนั้นเพื่อดูแลนักเรียนทั้งพฤติกรรมทั่วไป และพฤติกรรมด้านการเรียนการสอน 2.2 ครูทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะและประสบการณ์ในการใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(Coaching and Mentoring) 2.3 ครูทุกคนมีความรัก ความสามัคคี เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และร่วมมือกันปฏิบัติงานตามโครงการนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังส่งผลดีต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ ในการพัฒนาโรงเรียนอีกด้วย 2.4 ครูยังประสบปัญหากรณีนักเรียนเดินเรียน ทำให้เสียเวลาระหว่างเปลี่ยนคาบสอน นักเรียนใช้เวลาเดินทางจากคาบเรียนหนึ่งไปยังอีกคาบเรียนหนึ่งซึ่งอาจอยู่คนละอาคารเรียน ทำให้เสียเวลาไปประมาณ 5 – 20 นาที มีเวลาได้เรียนจริงประมาณ 30 – 45 นาทีเท่านั้น ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพผู้เรียนโดยตรง 2.5 ผลของการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารจัดการโรงเรียนเมืองกระบี่ เมื่อวันที่.............กุมภาพันธ์ 2558 มีความพึงพอใจต่อคุณภาพครูในระดับมาก และเมื่อวันที่ ..............เดือน....................พ.ศ. 2558 มีความพึงพอใจต่อคุณภาพครูในระดับมาก 2.6 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของครู เมื่อวันที่...... กุมภาพันธ์ 2558 มีความพึงพอใจในระดับมาก และเมื่อวันที่..............เดือน....................พ.ศ. 2558 มีความพึงพอใจต่อคุณภาพครูในระดับมาก 3. ผลที่เกิดกับนักเรียน 3.1 นักเรียนมีวินัย มีความรับผิดชอบ มีความประพฤติเรียบร้อยมากยิ่งขึ้น อันเกิดจากการดูแลเอาใจใส่ของครูที่มีความรับผิดชอบและดูแลเอาใจใส่นักเรียนได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีนักเรียนกลุ่มเสียงที่ขาดวินัยทางการเรียน เข้าห้องเรียนช้าและหรือหนีเรียน อันเป็นปัญหาด้านพฤติกรรมที่จำเป็นต้องแก้ไขโดยด่วน 3.2 จากการสังเกตขณะเยี่ยมชั้นเรียน นักเรียนตื่นตัวและตื่นเต้นที่มีผู้เข้าไปเยี่ยมชั้นเรียน จะตั้งใจเรียนเป็นพิเศษแตกต่างจากชั่วโมงเรียนปกติ ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นอย่างดี 3.3 สถิติด้านความประพฤติของนักเรียน เมื่อวันที่..........เดือน...............พ.ศ......... นักเรียนมีพฤติกรรมด้าน......................... จำนวน...................ครั้ง และในวันที่..........เดือน...............พ.ศ......... นักเรียนมีพฤติกรรมด้าน......................... จำนวน...................ครั้ง จึงเห็นได้ว่านักเรียนมีพฤติกรรมเสี่ยงลดลง 3.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาต้อนต้น มีผลการเรียนเฉลี่ยทุกรายวิชาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 เท่ากับ ................... และมีผลการเรียนเฉลี่ยทุกรายวิชาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2547 เท่ากับ .................. 3.4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีผลการเรียนเฉลี่ยทุกรายวิชาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 เท่ากับ ................... และมีผลการเรียนเฉลี่ยทุกรายวิชาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2547 เท่ากับ .................. 3.5 ผลของการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารจัดการโรงเรียนเมืองกระบี่ เมื่อวันที่.............กุมภาพันธ์ 2558 มีความพึงพอใจต่อคุณภาพนักเรียนในระดับมาก และ เมื่อวันที่............เดือน.................2558 มีความพึงพอใจต่อคุณภาพนักเรียนในระดับมาก

บทเรียนที่ได้ 1. ด้านการบริหารจัดการ 1.1 ในการบริหารจัดการโรงเรียนนั้น ในฐานะผู้ย้ายมาดำรงตำแหน่ง จำเป็นจะต้องศึกษาสภาพบริบทของสถานศึกษาให้ครอบคลุมทุกด้าน ทุกกลุ่มเป้าหมาย แล้วนำข้อมูลสารสนเทศมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ แล้วใช้หลักการมีส่วนร่วม วางแผนการปฏิบัติงาน นำแผนไปปฏิบัติ มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลและรายงาน อีกทั้งมีการนำผลการประเมินไปปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาต่อไป ผู้บริหารจำเป็นต้องน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทานขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการพัฒนา “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” มาใช้ในการศึกษาบริบทของสถานศึกษา นำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ให้เกิดความเข้าใจ แล้วหาแนวทาง มาตรการในการเข้าถึงซึ่งข้อมูลสารสนเทศ สถานการณ์ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ วิธีการเข้าถึงได้ดีทีสุด คือ น้อมนำหลักทรงงานขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ข้อ 2 ระเบิดจากข้างใน มาปรับใช้ กล่าวคือ เมื่อผู้บริหารมีความเข้าใจในบริบทของสถานศึกษา และเข้าถึงบุคคลทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งรายคน รายกลุ่ม แล้ว ก็จะได้ใจ จนเกิดการระเบิดจากข้างใน พร้อมใจกันที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง ขับเคลื่อนภารกิจต่าง ๆ ของโรงเรียนไปสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน 1.2 คณะผู้บริหาร อันประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน และรองผู้อำนวยการโรงเรียนทุกคนจะต้องยอมรับและปรับตนให้เป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ทำงานเป็นทีม และให้การสนับสนุนการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(Coaching and Mentoring) 1.3 สภาพห้องเรียนและการบริหารจัดการห้องเรียนยังไม่มีคุณภาพ บรรยากาศและสภาพห้องเรียนมีบรรยากาศที่ยังไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ นักเรียนยังใช้เวลาในการเดินเรียนจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่ง ส่งผลให้ต้องสูญเสียเวลาแต่ละคาบเรียนจำนวน 10-15 นาที อันส่งผลกระทบต่อเวลาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ อันส่งผลกระทบทางลบต่อคุณภาพการศึกษา 2. ด้านครู การนำกระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(Coaching and Mentoring) มาเป็นกระบวนการให้ครูระเบิดมาจากข้างใน อันนำไปสู่การพัฒนาโรงเรียนอย่างยั่งยืน จึงเป็นสิ่งจำเป็น ดำเนินการให้เห็นผลตามกระบวนการที่กำหนด โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือ ฝ่ายบริหาร อันประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน และรองผู้อำนวยการโรงเรียน จะต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง เพื่อนำคณะครูปฏิบัติกิจกรรมตามกระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(Coaching and Mentoring) ตามที่กำหนดไว้ อันเป็นกิจกรรมที่ทั้งพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้และเป็นกิจกรรมที่ทำให้คนระเบิดมาจากข้างในตามหลักจิตตปัญญาศึกษา เพราะเมื่อคนพัฒนาตนเองจนมีการระเบิดมาจากข้างใน จะยอมรับการเปลี่ยนแปลง และร่วมปฏิบัติงานในหน้าที่ตนรวมทั้งการพัฒนาโรงเรียนในด้านต่าง ๆ ได้อย่างยั่งยืน เนื่องจากเป็นการทำด้วยใจ มิใช้คำสั่ง มิใช่เกิดจากการบังครับแต่อย่างใด ผลจากการระเบิดจากข้างใน ส่งผลให้คณะผู้บริหารและคณะครูมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางบวก กล่าวคือ มีความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ เอื้ออาทรต่อกันมากขึ้น เนื่องจากเดิมนั้น คณะผู้บริหารจะมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์กันเองน้อยมาก เฉพาะเมื่อมีการประชุมประจำเดือน แต่ในกรณีนี้ คณะผู้บริหารได้พบกันบ่อยแบบไม่เป็นทางการ ทั้งการร่วมปรึกษา หารือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมประเมินสถานการณ์ และร่วมนำผลที่ได้ไปปรับปรุง แก้ไข พัฒนาต่อไป ทั้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการในฝ่ายที่รับผิดชอบ และในเรื่องของการพัฒนาครู ส่งผลให้คณะผู้บริหารมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน ทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือ เอื้ออาทรต่อกัน ส่งผลให้การบริหารจัดการโรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในส่วนของคณะครูนั้น ก่อนที่จะได้รับการพัฒนา คณะครูจะมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์กันน้อยมาก ส่วนใหญ่จะนั่งทำงานที่ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ แล้วไปห้องสอน ไปประชุมเฉพาะเมื่อโรงเรียนจัด จึงรู้จัก สนิทสนมกันเฉพาะเพื่อนครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน แต่เมื่อร่วมกระบวนการพัฒนาครู คุณครูนอกจากจะมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกันแล้ว ยังมีโอกาสเพิ่มมากขึ้นที่จะได้ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนครูต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามกระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(Coaching and Mentoring) ซึ่งนอกจากจะได้ทำงานร่วมกันตามกระบวนการดังกล่าวแล้ว ยังได้มีโอกาสพูดคุยในเรื่องต่าง ๆ อันเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ส่งผลให้เกิดความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจกัน เกิดเป็นความรักความสามัคคีในหมู่คณะครูมากยิ่งขึ้นอันเป็นพลังบวกที่มาร่วมกันพัฒนาตน พัฒนางานในหน้าที่ และพัฒนาโรงเรียนโดยรวม 3. ด้านผู้เรียน โรงเรียนมีห้องเรียนไม่เพียงพอ จึงแก้ปัญหาโดยจัดตารางเรียนให้นักเรียนเดินเรียน ส่งผลกระทบต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพราะเมื่อนักเรียนไม่มีห้องเรียนประจำ ก็เปรียบเสมือนคนไม่มีบ้าน จำเป็นต้องพเนจรไปตามที่ต่าง ๆ อันส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ส่งผลกระทบทางลบต่อคุณภาพของนักเรียนโดยตรง กิจกรรมการโฮมรูมก็ประสบปัญหา และส่งผลกระทบต่อคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านพฤติกรรมทั่วไปพฤติกรรมด้านการเรียน และผลการเรียนของนักเรียน อันเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารและการจัดการศึกษา

สิ่งที่จะทำต่อไป

เมื่อพิจารณาข้อมูลสารสนเทศจากผลที่เกิดและบทเรียนที่ได้จากการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(Coaching and Mentoring) เมื่อสิ้นภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 แล้ว ผู้รายงานจะดำเนินการ ดังต่อไปนี้ 1. พัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(Coaching and Mentoring) อย่างต่อเนื่องในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 1.1 กิจกรรมก่อนการพัฒนาครู (BAR) ได้แก่ กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ 1.2 กิจกรรมพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) วงจร P1, P2 และ P3 1.3 กิจกรรมหลังการพัฒนาครู (AAR) ได้แก่กิจกรรม Symposium 2. ศึกษาแนวทางการจัดห้องเรียนประจำ

หมายเลขบันทึก: 669565เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2019 17:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กันยายน 2019 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท