ยาร้อน ยาเย็น


"ยาร้อน ยาเย็น" คำสองคำนี้ เป็นคำที่ "ไม่มีอยู่ในตำราวิชาการใดๆ"

สวัสดีค่ะ  พี่น้องเกษตรกร และผู้สนใจทุกๆ ท่าน

.

วันนี้มีเกษตกรท่านหนึ่ง เข้ามาในร้าน อย่างเร่งด่วน มาถามหา "ยาเย็น"   

ทำนองว่า มีปัญหาเพลี้ยเต็มช่อผลลำใย เขาใช้ยาร้อนพ่นไปแล้ว กะว่าให้เพลี้ยแป้งตาย

นอกจากเพลี้ยไม่ตายแล้ว ปรากฎว่าลูกลำใยมีผิวสีแดง ซะอีก 

"น้องๆ มียาเย็นไหม ช่วยจัดยาเย็นให้พี่หน่อย...ด่วน"
.

พูดเร็วมากกกก..... 

ยุ้ยฟังแทบไม่ทัน แถมไม่เปิดโอกาสให้ยุ้ยซักถามอะไรเลย

มาถึงถามหาแต่ยาเย็น ต้องการยาเย็นไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสวนลำใยของตนเอง

ใจร้อนหนัก เมื่อไม่ได้ของ ก็เดินออกไปจากร้านซะนี่ คงจะไปหาซื้อที่ร้านอื่น
.

ว้าว....

นี่ถ้ายุ้ยอยากขายยาสักขวด โดยไม่สนใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับผลผลิตของเกษตรกร 

ก็คงหยิบยา หาให้สักขวด เอาไอ้ที่ข้างกล่องมันเขียนว่า "ยาเย็น" แล้วบอกว่า 

"จัดไปพี่...นี่ยาเย็น เห็นไหม เขาพิมพ์ติดที่ข้างขวดไว้ เอาไปพ่นตามคำแนะนำของฉลากยา..นะคะ"

รับเงิน ทอนเงิน...จบ

.

ก็คงจะขายได้เนอะ...แต่ยุ้ยไม่ทำอย่างนั้นหรอก 

เพราะนอกจากมันจะแก้ปัญหาไม่ตรงจุดแล้ว 

กลับจะไปซ้ำเติมปัญหาให้เกษตรกรเพิ่มขึ้นไปอีก
.

ทำไม ใจร้อนเกิน ไม่ยอมอยู่ให้ยุ้ยได้ซักถามเลย 

มาถึงก็จะเอาแต่ "ยาเย็น" ไม่คุยกันก่อนเลย

ยุ้ยก็แค่ต้องการจะทราบถึงบริบทการดูแลสวนลำใยของเกษตรกร 

ในช่วงที่ผ่านมาก่อนจะเกิดเพลี้ยแป้ง ก่อนที่ช่อผลลำใยจะแดง 

ถามเพื่อวินิจฉัย หาสาเหตุ และจัดยาช่วยแก้ปัญหาให้ได้

แต่เกษตรกร ก็ใจร้อนเกิน ไม่ตอบคำถาม ไม่ได้ยาเย็นดังใจ ก็เดินออกจากร้านไปซะนี่

คงไม่ต้องวินิจฉัยแล้วล่ะ เพราะ ไม่มีข้อมูลเพียงพอ  

แต่ฟังอาการเบื้องต้น จับใจความได้ว่า เพลี้ยระบาด ช่อผลลำไยแดง
.

ข้อมูลแค่นี้ คาดเดาเบื้องต้น..นะคะ 

ก็เพลี้ยมันเจาะดูดสารอาหารที่จะส่งไปยังช่อผลหมด เมื่อไม่มีสารอาหาร น้ำ ลูกมันก็แดง และแห้งตาย..สิคะ

.

แต่ยุ้ยก็ต้องการรู้เพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมา เกษตรกรเคยได้ใช้ยาอะไร..ถึงได้กำจัดเพลี้ยแป้งไม่ได้ผล

แต่ถ้าหากว่า ได้ใช้ยาถูกต้องแล้ว แต่ลำใยก็ยังแห้ง แสดงว่า มันมีเหตุอย่างอื่นที่ทำให้ลูกลำไยแดง

.

มันก็มีเยอะนะคะ ต้องแยกไปอธิบายเรื่อง 

"ช่อผลลำไยแดง เพราะอะไร ทำงัยดี"

.
แต่วันนี้ต้องการมาอธิบายคำว่า "ยาร้อน ยาเย็น" กันก่อน

.

คำสองคำนี้ แต่ไหน แต่ไรมา เป็นคำที่ "ไม่มีอยู่ในตำราวิชาการใด"

สมัยเรียน อาจารย์ระดับมหาลัย ก็ยังตอบแบบ "แบ่งรับ แบ่งสู้" ดูไม่มั่นใจ

ลองเปิดในอินเตอร์เน็ต ก็มีคำจำกัดความมากมาย ไม่เหมือนกันเลย

.

ดังนั้น ยุ้ยก็ขอให้คำจำกัดความเกี่ยวกับ "ยาร้อน และยาเย็น" ไว้บ้างนะคะ

คำว่า "ยาร้อน ยาเย็น" เป็นคำที่นิยมพูดกันบ่อยๆ ในหมู่เกษตรกร และนักวิชาการรุ่นใหม่  

หมายความถึง  ผลที่พืชแสดงออก ภายหลังจากได้รับปุ๋ย ยา หรือสารเคมีต่างๆ ที่ให้ลงไป แล้วปรากฎผลในรูปแบบต่างๆ ดังนี้ 

แก้ปัญหาได้ : 

.      - แก้ปัญหาเป้าหมายได้ผล

.      - แก้ปัญหาได้ แต่มีผลข้างเคียงบางอย่างเกิดขึ้นเล็กน้อย

.      - แก้ปัญหาได้ แต่มีผลข้างเคียงบางอย่างเกิดขึ้นมาก

แก้ปัญหาไม่ได้ : 

.      - แก้ปัญหาไม่ได้ผล

.      - แก้ปัญหาไม่ได้ แต่กลับมีผลข้างเคียงบางอย่างเกิดขึ้นเล็กน้อย

.      - แก้ปัญหาไม่ได้ แต่กลับมีผลข้างเคียงบางอย่างเกิดขึ้นมากมาย

สรุปสั้นๆ        

ยาร้อน : คือ ยาที่ออกฤทธิ์รักษาอาการของโรคพืช หรือเป็นยาที่นอกจากจะส่งผลกำจัดสัตว์ศัตรูเป้าหมายแล้ว ยังมีผลข้างเคียง โดยไปทำลายพืช แมลง และสัตว์อื่นๆ อีกด้วย
.
ยาเย็น
:
คือ ยาที่ออกฤทธิ์รักษาอาการของโรคพืช หรือเป็นยาที่สามารถทำลายศัตรูพืชเป้าหมายโดยตรง โดยไม่ส่งผลกระทบต่อพืช และสัตว์อื่นๆ ที่อยู่เคียงข้าง

หมายเหตุ : ทั้งนี้ไม่ได้หมายรวมถึงการใช้ปริมาณยาผิดประเภท รวมถึงการให้ระดับความเข้มของยาต่ำกว่า หรือเกินกว่ากำหนด ตามคำแนะนำในฉลากยา..นะคะ
.

ส่วนความรุนแรงในระดับขนาดต่างๆ ที่ปรากฎเป็นผลข้างเคียงนั้น เป็นอีกหัวข้อหนึ่ง 

เรียกว่า "ระดับความเป็นพิษ อันเกิดจากการใช้สารเคมี"

ซึ่งจะนำเสนอในบทความถัดๆ ไปค่ะ ถ้าไม่ลืม

หมายเลขบันทึก: 668941เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2019 21:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2019 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นคุณหมอต้นไม้เลย ;)…

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท