ชีวิตที่พอเพียง 3525. จิตมี Feedback loop



เมื่ออ่าน หนังสือชุด ธรรมะใกล้มือ เล่มที่ชื่อ ความเป็นไปของจิต (๑)   จึงได้ทราบมุมมองของท่านพุทธทาส เกี่ยวกับกลไกการเรียนรู้   

ท่านมองว่า “ความรู้สึก” เป็นผลของการนำ “ความรู้” ไปปฏิบัติ    ความรู้สึก จึงเป็นสิ่งที่ได้จากการทบทวน หรือใคร่ครวญไตร่ตรอง ผลของการปฏิบัติ   กล่าวได้ว่า “ความรู้” ได้จากภายนอก (หนังสือ ครู สื่อ)    ส่วน “ความรู้สึก” เป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นเองภายในตัวเรา   จึงอาจนิยามว่า “ความรู้” เป็นความรู้ภายนอก หรือความรู้มือสอง    ส่วน “ความรู้สึก” เป็น ความรู้ภายใน หรือ ความรู้มือหนึ่ง  

ลึกยิ่งกว่า “ความรู้สึก” คือ “ความเห็นแจ้ง” (enlighten)   ซึ่งภาษาการศึกษาอาจเรียกว่า mastery  

ระหว่าง ความรู้ กับ การปฏิบัติ มี “วงจรป้อนกลับ” (feedback loop) ด้วยการใคร่ครวญสะท้อนคิด (โยนิโสมนสิการ) จนเกิดเป็นความรู้สึก    หลายๆ วงจรป้อนกลับ  จากการปฏิบัติหลายครั้ง และจากหลายๆ โยนิโสมนสิการ    เกิดเป็น ความเห็นแจ้ง     

การปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติไม่มีทักษะในการหมุน feedback loop   ย่อมไม่เกิดความเห็นแจ้ง  

การปฏิบัติที่ไม่มี โค้ช ช่วยตั้งคำถาม ให้คิดใคร่ครวญอย่างมีทฤษฎี (ปริยัติ) ประกอบการคิด    ย่อมยากที่จะเกิด การเห็นแจ้ง  

เพื่อเห็นแจ้ง รู้จริง   เราต้องการทั้ง “ความรู้” และการปฏิบัติ   ตามด้วยการสังเกตเก็บข้อมูลผลของการปฏิบัติ    นำมาตั้งคำถามใคร่ครวญสะท้อนคิด   เพื่อเป็น feedback loop  สู่การเรียนรู้ 

วิจารณ์ พานิช  

๑๓ ส..ค. ๖๒


หมายเลขบันทึก: 668685เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2019 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กันยายน 2019 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท