ชินกาลมาลีปกรณ์ฉบับคำกลอนตอน.มหิยังคณะเจดีย์ประเทศศรีลังกา .โดย อาจารย์สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์...


ด้วยหัวใจที่นับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะจากงานวิจัยมาเป็นชินกาลมาลีปกรณ์ฉบับคำกลอนตอน.มหิยังคณะเจดีย์ประเทศศรีลังกา .โดย อาจารย์สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์...

ในภาพอาจจะมี ผู้คนกำลังยืน, ท้องฟ้า, เมฆ และสถานที่กลางแจ้ง

มหิยังคณะเจดีย์ โบราณสถาน
เป็นหนึ่งในโสฬส บุณยสถาน อันศักดิ์สิทธิ์
ฟังตำนาน เล่าขาน กันสักนิด
สถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ ความเป็นมา

หลังพุทธองค์ ตรัสรู้ได้ เก้าเดือน
ทรงเสด็จ มาเยือน รู้กันว่า
ได้ปราบยักษ์ โหดร้าย กลายกลับมา
ประกอบสัมมาทิฏฐิ อย่างรู้กัน

ชินกาลมาลีปกรณ์ เขียนมหิยังคณะเจดีย์ มีความว่า
พระราชา กรุงลังกา ไม่สุขสันต์
ออกไปรบ กับทมิฬ เนิ่นนานวัน
แล้วได้ ชัยชนะนั้น กลับคืนมา

จึงทรงสร้าง กัญจุกสถูป
ที่เคยสูบ ผู้คน ร่วมเข่นฆ่า
เพื่ออุทิศ ส่วนกุศล เป็นมรรคา
ในสนามมหิยังคณะ ศรีลังกา โปรดเข้าใจ

ในสนามมหิยังคณะ มีตำนาน เล่าขานว่า
หลังพระศาสดา ตรัสรู้เก้าเดือน มาเยือนใกล้
ประทับอยู่ กลางอากาศ ในทันใด
ตรงนั้นใช่ คือมหิยังคณะ พระเจดีย์

พุทธองค์ ทรงปราบยักษ์ สิ้นพยศร้าย
ทรงใจหมาย เผยแผ่ ศาสนาไปหลายที่
หลังเสด็จ ปรินิพาน สิ้นชีวี
เรื่องราวมี กล่าวถึง พระสรภู

ว่าได้อัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ
คือพระคีวธาตุ(กระดูกก้านคอ)นำมาสู่
พระภิกษุ ตั้งหลาย ตั้งใจดู
สร้างสถูปสูงอยู่ ๑๒ ศอกมาครอบไว้

ชินกาลมาลีปกรณ์เขียนถึงมหิยังคณะเจดีย์เอาไว้ว่า
พระราชาเหล่าเสนาออกรบไล่

กับพวกทมิฬที่สนามมหิยังคณะชนะชัย
แล้วโปรดให้สร้างกัญจุกสถูปเจดีย์

หลังพุทธเจ้าตรัสรู้ได้เก้าเดือน
ทรงเสด็จเยือนเกาะลังกาในที่นี่
ประทับบนอากาศตรงมหิยังคณะสถูปพอดี
ปราบยักษ์สิ้นฤทธิ์ทันทีแล้วกลับไป

มหิยังคณะสถูปอยู่ในมหานาควันอุทยาน
เรื่องกล่าวขานริมฝั่งแม่น้ำคงคา(ลังกา)รู้ไว้
ครั้นศาสดาเสด็จปรินิพพานลงไป

มีเถระองค์หนึ่งนามใช่คือพระอรหันต์ ...สรภู…

เป็นลูกศิษย์ของพระสารีบุตร
ที่สุดนำพระคีวธาตุ(กระดูกก้านคอ)พุทธองค์มาสู่

สร้างสถูปสูง ๑๒ ศอกครอบแล้วตรองดู
ควรสร้างให้อยู่อย่างสวยงาม

ต่อมาพระเจ้าจุฬาภัยจึงทรงสร้าง
เสริมเจดีย์ปรางงดงามน่าเกรงขาม
สูงอีก๓๐ศอกรู้ไว้ในนิยาม
พระเจ้าทุฏฐคามินีสร้างตาม๘๐ศอกกัญจุกเจดีย์

ในภาพอาจจะมี 2 คน, คนที่ยิ้ม
หมายเลขบันทึก: 668461เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2019 21:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2019 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท