สัตว์ป่าสงวน


ในอดีตที่ผ่านมาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยอุดมสมบูรณ์พื้นที่ป่า ยังคงปกคลุมทั่ว สัตว์ป่ามีอยู่อย่างชุกชุม

มีการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยไม่รู้คุณค่า โดยเฉพาะสัตว์ป่า มีการล่าเป็นอาหารล่าเพื่อเป็นกีฬาและ ล่าเพื่อการค้าทั้งใน

ประเทศ และ ส่งออกต่างประเทศ โดยปราศจากกฎหมายใดๆคุ้มครอง ต่อมาเมื่อประชากรเพิ่มขึ้น การบุกรุกป่าเพื่อทำกินมีมากขึ้น

สัตว์ป่าถูกคุกคามและ ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วกว่าที่เคยเป็นมา ในรอบหลายสิบปีจนบางชนิด ได้สูญพันธุ์ไปจากเมืองไทย

สูญพันธุ์ไปจากโลกสัตว์ชนิดนั้นคือ สมัน ซึ่งเป็น กวางที่มีเขาสวยงามที่สุดชนิดหนึ่ง ดังนั้นปี พ.ศ. 2503 ภาครัฐโดยการ ร่วมมือ

ขององค์กรอนุรักษ์ต่างๆได้ตระหนักถึงคุณค่าของสัตว์ป่า ผลักดันให้เกิดกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าฉบับแรกของประเทศไทย

คือ พระราชบัญญัติสงวน และ คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 ซึ่งในกฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดสัตว์ป่าที่หายากเป็น สัตว์ป่าสงวน"

จำนวน 9 ชนิด คือ แรด กระซู่ กูปรีหรือ โคไพร ควายป่า ละองหรือละมั่ง " สมันหรือเนื้อสมัน ทรายหรือเนื้อทรายหรือตามะแน

เลียงผาหรือเยืองหรือกูรำ หรือ โครำ และ กวางผาเมื่อเวลาผ่านไปได้มีการปรับปรุงกฎหมายให้เกิดความทันสมัย เหมาะสม

กับสถานการณ์สัตวว์ป่าในประเทศไทย และสอดคล้องกับความร่วมมือด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรระดับนานาชาติได้มีการตรา

พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535ซึ่งมีผลบังคับใช้.มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในพระราชบัญญัติได้แก้ไข เพิ่มเติม

รายชื่อสัตว์ป่าสงวนด้วยพิจารณาเห็นว่าประชากรสัตว์ป่าหลายชนิดเพิ่มขึ้นจากการเพาะขยายพันธุ์ เช่น เนื้อทราย และประชากร

สัตว์ป่า อีกหลาย ชนิดลดลงอย่างน่าวิตก เช่น นกแต้วแล้วท้องดำ หรือสัตว์ป่าบางชนิดไม่มีรายงานการพบเห็นมาเป็นระยะเวลานาน

เช่น นกกระเรียน แมวลายหินอ่อน จึงได้ถอดชื่อเนื้อทรายออกจากบัญชีสัตว์ป่าสงวน และเพิ่มนกเจ้าฟ้าหิงสิริธร นกแต้วแล้วท้องดำ

นกกระเรียน แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ เก้งหม้อ และ พะยูน หรือหมูน้ำ รวมเป็นสัตว์ป่าสงวน 15 ชนิด กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า

และพันธุ์พืช ตระหนักเป็นอย่างยิ่งว่าการเผยแพร่ข้อมูลด้านวิชาการที่ถูกต้อง และ สมบูรณ์ให้แก่หน่วยงานทั้ง ภาครัฐและภาคเอกชน

นักศึกษานักเรียน และประชาชนทั่วไป ได้ทราบถึง ความงดงามความมีคุณค่า เกร็ดความรู้ต่างๆของสัตว์ป่าสงวนแต่ละชนิดรวมทั้ง

ปัจจัยคุกคามจนทำให้สัตว์ป่าเหล่านั้นอยู่ในสภาวะวิกฤติประชากรเสี่ยงต่อการสูพันธุ์จะช่วยให้ทุกคนหันมาช่วยกันคุ้มครองป้องกัน

ภัยให้สัตว์ป่าสงวนอยู่รอดสืบลูกหลานต่อไป

 นอกจากนี้เพื่อ เป็นบทเรียนที่คอยเตือนใจให้แต่ละคนร่วมมือหยุดยั้งการล่า การค้าสัตว์ป่า ให้สัตว์ป่าของประเทศไทยได้อยู่

รอดปลอดภัยสามารถสืบเผ่าพันธุ์ให้คง อยู่ตลอดไป

หมายเลขบันทึก: 665156เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2019 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 สิงหาคม 2019 09:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท