ชีวิตที่พอเพียง 3483. ภาษาสร้างสมอง


บทความเรื่อง How Language Shapes the Brain ในนิตยสาร Scientific American Mind ฉบับเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๒ ()   บอกว่าการฝึกฝนทุกอย่างสร้างสมอง   รวมทั้งถ้อยคำ เราจึงมีคำคม สุภาษิตสอนใจ  เป็นพลังทางจิตวิญญาณของถ้อยคำ  

เขานอกเรื่องไปยกกรณีตัวอย่างเด็กชาวเล ชนเผ่ามอแกน ในฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ที่ เห็นในน้ำเหมือนโลมา () น่าสนใจมาก   เป็นตัวอย่างความสามารถพิเศษที่เกิดจากการฝึกฝน

บทความอธิบายกลไกทางสมองในการเรียนรู้ภาษา    ว่าในเด็กเล็กสมองจะไวต่อการรับรู้เสียงของภาษาหลายภาษา    เป็น “หน้าต่างแห่งโอกาส” ที่เปิดอยู่ในช่วงระยะหนึ่ง แล้วก็จะปิด    เด็กที่อยู่ในสภาพการเลี้ยงดูที่คนโดยรอบพูดสองภาษา หน้าต่างนี้จะเปิดอยู่นานขึ้น   เขาอธิบายว่าเกิดจากสมองได้ซึมซับจากสภาพแวดล้อมที่ “ร่ำรวยกว่าในด้านภาษา” (richer language environment)   

บทความใน Scientific American Mind นำไปสู่ผลงานวิจัย Consequences of mutilingualism for neural architecture ()   เป็นงานวิจัยทบทวนผลการวิจัยปฐมภูมิกว่า ๑๘๐ รายงาน   ซึ่งสรุปว่าประสบการณ์อยู่กับสภาพแวดล้อมสองภาษา มีผลต่อการเชื่อมต่อใยประสาทสมอง   ซึ่งเป็นผลถาวรต่อสมอง   คือเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี การเชื่อมต่อนั้นก็ยังอยู่   และประสบการณ์สภาพแวดล้อมสองภาษาเพียงระยะเวลาไม่ยาวนัก ก็มีผลต่อการเชื่อมต่อประสาทใยสมอง

 ประสบการณ์อยู่กับสภาพแวดล้อมสองภาษาในวัยเด็ก  รวมทั้งในวัยผู้ใหญ่ มีคุณค่าต่อชีวิตหลากหลายด้าน   โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการฝึกสมองให้รับมือกับข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาปริมาณมาก   สมองจะมีความสามารถสูงกว่าในการกลั่นกรองข้อมูลที่มีความหมาย ละเลยข้อมูลที่ไม่มีความสำคัญ

วิจารณ์ พานิช  

๒๔ มิ.ย. ๖๒

   

หมายเลขบันทึก: 663728เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2019 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กรกฎาคม 2019 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท