วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

สรุปองค์ความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) ประจำปีการศึกษา 2561 ทั้ง 3 กลุ่มงาน


                                                การสอนแบบ reflective thinking: เทคนิคการตั้งคำถาม                                                                                                                                     ………………………………………..

                  ในปีการศึกษา 2561 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช ได้มีการจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการสอนแบบ reflective thinking: เทคนิคการตั้งคำถาม จำนวน 2 ครั้ง โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภายในและภายนอกองค์กรมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้สามารถสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการสอนแบบ reflective thinking: เทคนิคการตั้งคำถาม เป็น 2 ประเด็นดังนี้

1. เทคนิคการตั้งคำถามเพื่อการสะท้อนคิด 

1.1 ระวังการใช้คำถามที่คุกคามนักศึกษา ทำให้นักศึกษารู้สึกว่าตัวเองไม่รู้เรื่อง ซึ่งจะทำให้ความมั่นใจในตนเองของนักศึกษาลดลง ส่งผลให้หยุดเรียนรู้ได้ 

1.2 การตั้งคำถามไม่ควรยึดติดกับคำตอบที่ได้ว่าจะต้องถูกต้องตามหลักการทฤษฎีทั้งหมด แต่เป็นคำถามที่กระตุ้นให้นักศึกษาได้สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่พบและหันกลับมาวิเคราะห์ตนเองว่าต้องจัดการตนเองอย่างไรเพื่ออุดช่องโหว่ที่มี โดยการใช้แหล่งความรู้ต่างๆให้เป็นประโยชน์ 

1.3 ปรับคำถามให้สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชา 

1.4 การตั้งคำถามแบบกลางๆ สามารถทำให้ได้คำตอบที่หลากหลาย

2. พฤติกรรมของครูที่ส่งเสริมการสะท้อนคิดของนักศึกษา 

2.1 เป็นผู้สะท้อนชี้ประเด็นสำคัญ เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกเข้าใจตนเอง และเข้าใจผู้อื่น 

2.2 ระมัดระวังที่จะไม่ชี้นำไปเยอะเกินไป 

2.3 ครูต้องมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบจึงจะตั้งคำถามเพื่อให้นักศึกษาสะท้อนคิดได้สำเร็จ

2.4 รู้จักรับฟังเสียงสะท้อนภายในตนเอง จากการสะท้อนของนักศึกษา 

2.5 กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม เช่น ให้นักศึกษาที่เป็นเจ้าของเรื่อง เล่าเรื่อง บอกความรู้สึกของตนเอง และนักศึกษาทั้งกลุ่มช่วยกันอภิปราย พร้อมทั้งหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือสถานการณ์ร่วมกัน 

2.6 สร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองช่วยให้นักศึกษาสะท้อนคิดได้ดี 

2.7 ใจเย็นและเลือกใช้คำถามให้เหมาะสม อย่าเฉลยคำตอบที่ถูกต้องก่อน ให้เวลาเพื่อให้นักศึกษาวิเคราะห์ให้ได้

2.8 ไม่อวดภูมิรู้ของตนเอง ไม่คิดว่าตนเองยิ่งใหญ่ และรู้ทุกเรื่อง 

2.9 คำนึงถึงความสามารถและการรับรู้ของนักศึกษาแต่ละคน 

                                                                 การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R)                                                                                                                                                      …………………………….

             ในปีการศึกษา 2561 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช ได้มีการจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R) จำนวน 2 ครั้ง โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภายในและภายนอกองค์กรมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้สามารถสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R) ดังนี้

1. องค์ประกอบสำคัญของ R to R มีดังนี้ 

1) โจทย์วิจัย มาจากปัญหา และความต้องการพัฒนางานประจำ ได้แก่ นิเทศนักศึกษาแล้วพบว่านักศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัวไม่ครอบคลุม จึงพัฒนาแบบรวบรวมข้อมูล IMHOMESSS หรือต้องการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษา หรือพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โจทย์คำถามวิชา จริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพของนักศึกษาที่สอบไม่ผ่านความรู้รวบยอดของสถาบันพระบรมราชชนก

2) นักวิจัย เป็นบุคคลที่ทำงานนั้น

3) ผลลัพธ์ของงานวิจัย ตอบสนองกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการโดยตรง

4) ผลกระทบ ใช้ปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นตามบริบทขององค์กร / สถาบันนั้น

2. การคิดโจทย์วิจัย

1) งานประจำที่ทำ เรื่องอะไร

2) ปัญหาที่พบบ่อย ๆ คืออะไร

3) ข้อมูลที่มีอยู่คืออะไร

4) ใครคือกลุ่มเป้าหมาย

5) สิ่งที่จะบ่งบอกว่าสามารถแก้ไขปัญหา / พัฒนางานได้

3. วิธีการวิจัยของ R 2 R ไม่มีข้อจำกัด สามารถทำได้ทั้งรูปแบบเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ เชิงปฏิบัติการ หรือเชิงผสมผสาน
4. เงื่อนไข/ปัจจัยสนับสนุนการทำ R 2 R

1) บรรยากาศที่ทำงาน เปิดกว้าง ให้โอกาส ไม่ยึดมาตรฐาน (SOP) จนเปลี่ยนไม่ได้

2) ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ กระตุ้นให้คิด ต้องการนำองค์กร / มีภาวะผู้นำ

3) ทำงานประจำแล้วพบปัญหา หรืออยากพัฒนางานประจำให้ดีขึ้น 

4) มีกัลยาณมิตร ยินดีแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจในการเรียนการสอนและเทคนิคต่างๆ

5) การเปิดใจรับฟังข้อคิดเห็นของนักศึกษา เกี่ยวกับการจัดการเรียน

6) มีทีมที่ดี เคมีตรงกัน

7) การสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน

8) การสนับสนุนจากผู้บริหาร ด้านงบประมาณ เวลา

9) การวางแผนที่ดี 

                                                                             เทคนิคการบริการที่ดี                                                                                                                                                                    …………………….

             ในปีการศึกษา 2561 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช ได้มีการจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการบริการที่ดี จำนวน 2 ครั้ง โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภายในและภายนอกองค์กรมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้สามารถสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการบริการที่ดี ดังนี้

1. การปรับความคิด

1.1 ชอบและมีศรัทธาในงานที่ทำ 

1.2 ทำงานด้วยมิตรภาพ 

1.3 พูดคุยกันแบบครอบครัว 

1.4 ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด 

1.5 ยินดีรับฟังความคิดเห็นของผู้ใช้บริการด้วยใจกว้าง เพื่อนำมาพัฒนาการให้บริการ 

1.6 เรียนรู้จักอุปนิสัยใจคอของผู้รับบริการเพื่อให้บริการได้ตรงใจ 

1.7 ไม่หยุดที่จะเรียนรู้งานใหม่ ๆ

2. ปรับพฤติกรรมการให้บริการ 

2.1 วางแผนการทำงาน ทำงานเป็นทีม เป็นระบบ จัดแบ่งหน้าที่ของการทำงาน

2.2 เรียงลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของแต่ละงาน 

2.3 ทำงานตรงตามเวลา ตรงตามแผน เป็นลำดับขั้นตอน และทำงานให้ถูกต้องตามระเบียบ 

2.4 จัดระบบในการทำงานให้พึงพอใจทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ 

2.5 ทำงานด้วยความรู้และความเข้าใจในงานที่ลึกซึ้งเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของงานที่รับผิดชอบ 

2.6 ปรับเปลี่ยนการทำงานให้ทันสมัย (ใช้ดอกไม้พลาสติกแทนดอกไม้สด) ที่ลดขั้นตอนและทรัพยากร

หมายเลขบันทึก: 663611เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2019 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 สิงหาคม 2019 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บางทีชอบชี้นำนักศึกษาไปก่อน ไม่ค่อยรอคอยคำตอบนัศึกษา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท