กองทุน เงินทดแทน


กองทุน เงินทดแทน

นายอานนท์ ภาคมาลี (คนหาปลา ข้าราชการบำนาญ)

  กองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน WWW.SSO.go.th สายด่วน โทร. 1506 ให้บริการ 24 ชั่วโมง

1. กองทุน เงินทดแทน คืออะไร  กองทุน เงินทดแทนคือ กองทุนที่จ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วย ถึงแก่ความตาย หรือสูญหาย เนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง โดยไม่คำนึงถึงวัน เวลา และสถานที่ แต่จะดูสาเหตุที่ทำให้ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย

2. เงินสมทบตามค่าประสบการณ์ เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนเงินทดแทน แต่เพียงฝ่ายเดียว จะเรียกเก็บนายจ้างเป็นรายปี โดยประเมินจำนวนเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างทั้งปีรวมกัน (คนละไม่เกิน 240,000บาทต่อปี)คูณกับอัตราเงินสมทบของประเภทกิจการ จะจ่ายในอัตรา 0.2 – 1.0%โดยนายจ้างแต่ละประเภทกิจการจะจ่ายในอัตราเงินสมทบที่แตกต่างตามประกาศกระทรวงฯ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงภัย ตามรหัสประเภทกิจการของนายจ้างนั้น

3. เงินสมทบตามค่าประสบการณ์? เพื่อให้นายจ้างให้ความสนใจในการจัดสถานที่ทำงานที่ปลอดภัยรวมทั้งอุปกรณ์ป้องกันให้แก่ลูกจ้างได้อย่างปลอดภัย หลังจากนายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบตามอัตราหลัก 4 ปีติดต่อกันแล้วจะมีการคำนวณส่วนการสูญเสีย เพื่อนำมาพิจารณาปรับอัตราเงินสมทบลดลงหรือเพิ่มขึ้นจากอัตราเงินสมทบหลักที่นายจ้างต้องจ่ายในครั้งแรกที่ขึ้นทะเบียน โดยจะเริ่มจ่ายเงินตามอัตราประสบการณ์ ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป

4. กิจกรรมใดบ้างที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจ่ายเงินสมทบ ?

- ราชการส่วนกลาง/ส่วนภูมิภาค/ส่วนท้องถิ่น

- รัฐวิสาหกิจ

- นายจ้าง ซึ่งประกอบธุรกิจโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงเรียนเอกชน

- นายจ้างที่ดำเนินกิจการที่มิได้มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสวงหากำไรทางธุรกิจ

- นายจ้างอื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

5. กำหนดเวลายื่นแบบขึ้นทะเบียน นายจ้าง มีหน้าที่ยื่นแบบขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คน

6. สถานที่ยื่นแบบขึ้นทะเบียน กำหนดให้นายจ้างยื่นแบบขึ้นทะเบียนได้ที่สำนักงานประกันสังคม ณ ท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่

7. เอกสารที่ต้องนำมา ในวันยื่นขึ้นทะเบียน

- แบบขึ้นทะเบียน (แบบ สปส.1 – 01)ใช้ชุดเดียวกับการขึ้นทะเบียนประกันสังคม

- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล หรือ สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์

- สำเนาใบภาษีมูลค่าเพิ่ม ( แบบ ภ.พ.20 ) หรือสำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (แบบ ร.ง.4)

- แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ หรือโรงงานของนายจ้าง

- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน เจ้าของกิจการหรือผู้รับมอบอำนาจ

- หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

8. หากนายจ้างมีสำนักงานหลายสาขา จะยื่นแบบขึ้นทะเบียนได้ที่ไหน? นายจ้างที่มีสำนักงานสาขา หรือมีลูกจ้างทำงานในหลายจังหวัด จะต้องยื่นแบบขึ้นทะเบียน และจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนรวมกันเพียงแห่งเดียว ณ เขตท้องที่ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ โดยแจ้งรายละเอียดสถานที่ตั้งและจำนวนลูกจ้างของสาขาไว้ด้วย

9. สิ่งที่นายจ้างได้รับ ภายหลังการขึ้นทะเบียน

1. เลขที่บัญชี ซึ่งจะเป็นเลขเดียวกับกองทุนประกันสังคม เพื่อใช้อ้างอิงในการติดต่อ

2. ใบประเมินเงินสมทบ เพื่อแจ้งให้นายจ้างทราบถึงจำนวนเงินสมทบที่จะต้องจ่ายเข้ากองทุน พร้องทั้งกำหนดวันที่ ซึ่งนายจ้างจะต้องนำเงินมาจ่าย

3. หนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียน

10. นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบ ประจำปีเมื่อใด? กองทุนเงินทดแทน จะเรียกเก็บเงินสมทบจากนายจ้างเป็นรายปี (ปีละ 1 ครั้ง) โดยในปีแรกจะต้องจ่ายเงินสมทบภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ที่มีลูกจ้าง ตั้งแต่ 1 คน สำหรับปีต่อๆไป จ่ายภายในมกราคม ของทุกปี เงินสมทบที่เรียกเก็บต้นปี คิดมาจากจำนวนค่าจ้างที่ประมาณการไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจไม่กับค่าจ้างจริงที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากในระหว่างปี นายจ้างอาจมีการเพิ่มหรือลดจำนวนลูกจ้าง ปรับอัตราค่าจ้างเป็นต้น ในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี นายจ้างต้องแจ้งจำนวนค่าจ้างรวมทั้งปีที่ผ่านมาไปยังสำนักงานประกันสังคมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะนำไปเปรียบเทียบกับเงินสมทบที่เก็บไว้เมื่อต้นปี หากจำนวนค่าจ้างจริงของปีที่ผ่านสูงกว่าค่าจ้างที่ประเมินไว้ เป็นเหตุให้เงินสมทบที่เก็บไว้ปีที่ผ่านมาน้อยกว่า ก็จะเรียกเก็บเพิ่มภายใน 31 มีนาคม หากจำนวนเงินค่าจ้างต่ำกว่าเดิม ทำให้เงินสมทบสูงกว่าความเป็นจริง เมื่อตรวจบัญชีของนายจ้างแล้ว หากค่าจ้างต่ำกว่าที่ประเมินไว้ได้รับเงินสมทบที่จ่ายเกินคืน

11. การรายงานค่าจ้าง นายจ้างต้องรายงานค่าจ้างของปีที่ล่วงมาแล้วภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี การไม่รายงานค่าจ้างภายในกำหนดอาจมีผลทำให้นายจ้างต้องชำระเงินเพิ่ม หากเงินที่เรียกเก็บในปีที่ผ่านมาต่ำกว่า นายจ้างรายใดไม่จ่ายเงินสมทบภายในที่กำหนดเวลา หรือจ่ายเงินสมทบไม่ครบจำนวน ต้องเสียเงินเพิ่มอีกในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนของเงินสมทบที่ต้องจ่าย

12. เมื่อใดที่ลูกจ้าง มีสิทธิได้รับการคุ้มครอง? สิทธิเกิดขึ้นทันที่นับตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงานให้นายจ้าง

13. การประสบอันตราย เนื่องจากการทำงาน หมายความว่าอย่างไร?หมายความว่า การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจหรือถึงแก่ความตาย เนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาผลประโยชน์ให้นายจ้าง หรือทำตามคำสั่งของนายจ้าง

14. การเจ็บป่วยด้วยโรคเนื่องจากการทำงาน หมายความว่าอย่างไร?การที่ลูกจ้างเจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตาย ด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณ์หรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน

15. สูญหาย หมายความว่าอย่างไร? การที่ลูกจ้างหายไปในระหว่างการทำงานหรือปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างซึ่งมีเหตุอันควร เชื่อว่าลูกจ้างถึงแก่ความตายเพราะประสบเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน หรือปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างนั้น รวมตลอดถึงการที่ลูกจ้างนั้นหายไปในระหว่างเดินทางโดยพาหนะทางบก ทางอากาศ  หรือทางน้ำ เพื่อไปทำงานให้นายจ้าง ซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่าพาหนะนั้นได้ประสบเหตุอันตรายของลูกจ้างถึงแก่ความตาย ทั้งนี้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 120 วัน นับแต่วันที่เกิดเหตุ

16. เมื่อลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน จะได้รับอะไรบ้าง? ได้รับเงินทดแทน ซึ่งประกอบด้วย ค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนรายเดือน ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน และค่าทำศพ

17. ค่ารักษาพยาบาล ได้รับเงินเท่าใด? มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 45,000 บาท ต่อการประสบอันตราย 1 ครั้ง หากมีกี่เจ็บป่วยรุนแรง หรือเรื้อรัง จ่ายเพิ่มอีก65,000 บาท รวมแล้วไม่เกิน 110,000 บาท หากไม่เพียงพอสามารถเบิกได้อีกไม่เกิน200,000 บาท ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง กำหนดอัตราค่ารักษาให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. 2551 และไม่เกิน 300,000 บาท โดยคณะกรรมการการแพทย์พิจารณา และคณกรรมการกองทุนเงินทดแทนเห็นชอบ

18. กรณีแพทย์ให้หยุดรักษาตัว จะได้รับสิทธิอะไรบ้าง? มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน ร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน กรณีลูกจ้างไม่สามารถทำงานติดต่อกันได้เกิน 3 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี

19. กรณีสูญเสียอวัยวะ จะได้รับอะไรบ้าง? มีสิทธิได้รับเงินทดแทน ร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือนเป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี ทั้งนี้ การประเมินการสูญเสียอวัยวะลูกจ้างต้องได้รับการรักษาพยาบาลทางการแพทย์จนสิ้นสุดการรักษา และอวัยวะคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือเทื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างประสบอันตราย

          หากลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู จะได้รับค่าฟื้นฟูดังนี้

    - ค่าใช่จ่ายในการฟื้นฟูด้านการแพทย์และอาชีพเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 20,000 บาท

    - ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงาน ไม่เกิน 20,000บาท

    20. กรณีทุพพลภาพ จะได้รับอะไรบ้าง?

    - มีสิทธิได้รับค่าทดแทน ร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน เป็นระยะเวลาไม่เกิน 15 ปี หากลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู จะได้รับค่าฟื้นฟูฯ ตามที่กฎหมายกำหนด

    21. กรณีถึงแก่ความตายหรือสูญหาย จะได้รับอะไรบ้าง? มีสิทธิได้รับเงินทดแทนดังนี้

    - ได้รับเงินค่าทำศพ เป็นจำนวน 100 เท่าของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน โดยจ่ายให้กับผู้จัดการศพ

    - ค่าทดแทนร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน เป็นเวลา 8 ปี จ่ายให้กับผู้มีสิทธิตามกฎหมาย

    22. ค่าทดแทน จะได้รับเมื่อใด และจำนวนเท่าใด? ลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย จนเป็นเหตุให้มีการหยุดงาน สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ ตาย หรือ สูญหาย จะได้รับค่าทดแทนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของค่าจ้างขั้นต่ำ รายวันตามกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในท้องที่ที่ลูกจ้างประจำทำงานอยู่ แต่ไม่เกิน 12,000 บาทต่อเดือน

    23. ถ้าลูกจ้างตาย หรือสูญหาย ใครเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทน? ผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนได้แก่

    - บิดา/มารดา ทั้งนี้ บิดาต้องจดทะเบียนสมรสกับมารดา

    - สามี/ภรรยา จะต้องจดทะเบียนสมรสกัน

    - บุตรที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เว้นแต่ เมื่อมีอายุครบ 18 ปี และยังศึกษาอยู่ในระดับที่ไม่สูงกว่าปริญญาตรี ให้ได้รับส่วนแบ่งต่อไปตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่

    - บุตรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี และทุพพลภาพ หรือจิตฟั้นเฟือนไม่สมประกอบ ซึ่งอยู่ในอุปการะของลูกจ้างก่อนลูกจ้าง ถึงแก่ความตายหรือสูญหาย

    - บุตรซึ่งเกิดภายใน 310 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างถึงแก่ความตาย หรือวันที่เกิดเหตุสูญหาย มีสิทธิรับเงินทดแทนนับแต่วันคลอด

    - หากไม่ไม่บุตรดังกล่าวข้างต้น ให้ผู่อยู่ในความอุปการะของลูกจ้างซึ่งเดือดร้อน เพราะขาดอุปการะ เป็นผู้สิทธิ

    24. นายจ้างต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง เมื่อลูกจ้างประสบอันตราย? จัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันที่ในสถานพยาบาล ไดก็ได้ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยแบ่งจ่ายเป็น 2 กรณี

    - สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน

    - หรือนายจ่ายส่งแบบ กท.44 ส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน กรณีไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล สถานพยาบาลจะตั้งเบิกจากสำนักงานประกันสังคมที่รับผิดชอบเอง ภายในวงเงินที่กฎหมายกำหนด

                   ทั้ง 2 กรณี นายจ้างต้องแจ้งการประสบอันตรายตามแบบ กท.16 และเอกสารประกอบอื่นๆแล้วแต่กรณีต่อสำนักงานประกันสังคมที่ลูกจ้างประจำทำงานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนา ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยของลูกจ้าง

      25. ลูกจ้าง หรือผู้มีสิทธิ ต้องยื่นคำร้อง ขอรับเงินทดแทนภายในกี่วัน? ภายใน 180 วัน นับแต่วันประสบอันตรายเจ็บป่วย หรือสูญหาย หากการเจ็บป่วยเกิดหลังสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างให้ยื่นคำร้องภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ทราบการเจ็บป่วย

      26. การแจ้งการประสบอันตราย ทำโดยวิธีใด?

      - นายจ้างหรือผู้รับมอบอำนาจ แจ้งตามแบบ กท.16 โดยยื่นเรื่อง ณ สำนักงานประกันสังคม ที่ลูกจ้างประจำทำงานอยู่หรือนายจ้างมีภูมิลำเนา ซึ่งสามารถส่งเอกสารได้โดยตรงที่สำนักงานประกันสังคม หรือส่งทางไปรษณีย์

      - การแจ้งการประสบอันตราย นายจ้างและลูกจ้างต้องแสดงเอกสารใบรับรองแพทย์ ประวัติการรักษาพยาบาลและหลักฐานการปฏิบัติงานประการพิจารณา เช่น การลงเวลาทำงาน รวมทั้งในข้อเท็จจริง จะทำให้พนักงานเจ้าที่วินิจฉัยเรื่องได้อย่างรวดเร็ว

      27. จะเบิกค่ารักษาพยาลได้อย่างไร? กรณีนายจ้างหรือลูกจ้างจ่ายค่ารักษาพยาลไปก่อนให้นำใบเสร็จรับเงินมาเบิกคืนได้ ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่จ่ายและถ้าทำการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับกองทุนเงินทดแทน สถานพยาบาลนั้นจะเรียกเก็บเงินจากกองทุนโดยตรง และขอให้นายจ้างตรวจสอบค่ารักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลทุกครั้งที่ส่งตัวลูกจ้างเข้ารักษาพยาบาล ซึ่งการจ่ายค่ารักษาพยาบาลจะจ่ายตามราคาประกาศของสถานพยาบาลที่ประกาศให้ประชาชนทราบ ทั้งนี้ไม่เกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนด

      28. เมื่อมารับเงิน ใช้หลักฐานอะไรบ้าง?

      - บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ซึ่งมีรูปถ่าย หากไม่มารับเงินด้วยตนเอง จะต้องมีใบมอบฉันทะ พร้อมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบมาแสดง

          หมายเลขบันทึก: 662667เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2019 19:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2019 19:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


          ความเห็น (0)

          ไม่มีความเห็น

          พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
          ClassStart
          ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
          ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
          ClassStart Books
          โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท