รายงานการพัฒนาวิธีสอนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA Model ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนวัดเมธังกราวาส (เทศรัฐราษฎร์นุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา แพร่ เขต 1


บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง     รายงานการพัฒนาวิธีสอนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA Model ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดเมธังกราวาส (เทศรัฐราษฎร์นุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา แพร่ เขต 1

ผู้รายงาน       นางมยุรีย์  อัฐวงศ์

            รายงานการพัฒนาวิธีสอนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA Model ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดเมธังกราวาส(เทศรัฐราษฎร์นุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต1 มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของวิธีสอนที่พัฒนาขึ้น เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม และสาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้วิธีสอนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA Model ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 หน่วย แบบทดสอบก่อน – หลังเรียน  จำนวน 4 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 1 ชุด และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้วิธีสอนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA Model ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการพัฒนาพบว่า

  1. 1. ได้วิธีสอนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA Model ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกระบวนการ (E 1) กับประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E 2) พบว่า วิธีสอนที่ใช้ในแผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 4 หน่วยการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ E 1 / E 2 เท่ากับ 85.25 / 84.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 80 / 80 และเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
  1. 2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 และ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยนักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 33.80 นักเรียนกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  26.26 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
  1. 3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนวัดเมธังกราวาส (เทศรัฐราษฎร์นุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1ที่มีต่อการเรียนโดยใช้วิธีสอนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA Model ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย =  4.21 , S.D =  0.66) และเมื่อหาค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1  จำนวน  35 คน พบว่า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.8799 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
หมายเลขบันทึก: 662634เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2019 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2019 11:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท