งานปฐมภูมิ กองทุนฯ และ R2R


งานปฐมภูมิ กองทุนฯ และ R2R

ปฐมภูมิก็ทำ R2R ได้จนถึงประเภท Meta R2R

ขึ้นต้นเขียนเรื่องราวเช่นนี้เพราะในใจนี้ไปนึกถึงพี่ดา หรือคุณพนิดา เรารู้จักกันมาหลายปีพอๆ กับเริ่มมีส่วนร่วมขับเคลื่อน R2R CUP รพ.สระบุรี พี่ดาเป็นพยาบาลอยู่ที่ รพ.สต.หนองนาก เป็นคนหนึ่งของทีมที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนางานประจำในระดับปฐมภูมิที่ตนเองทำอยู่ ซึ่งก็ไม่ต่างจากคนทำงานคนอื่นๆ แต่สิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นลักษณะเด่นของพี่ดา คือ การเชื่อมองค์ประกอบหลายๆ อย่างบูรณาทำงานไปพร้อมๆ กัน งานนโยบาย งานปัญหาสุขภาพในพื้นที่ หน้าที่ที่มากกว่าหน้าที่ ตลอดรวมถึงงานวิชาการอย่าง R2R และที่สำคัญใช้งบของกองทุนตำบล และกองทุนต่างๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่มาสนับสนุนขับเคลื่อนงานส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูได้ดีมาก

เมื่อวันที่ไปพบปะพูดคุยความก้าวหน้าในงานวิจัย เรื่อง การใช้กลไกชมรมผู้สูงอายุต่อการขับเคลื่อน LTC ในเขตเทศบาลเมืองสระบุรี ของ CUP รพ.สระบุรี [1] ก็มีโอกาสได้เจอกับพี่ดาด้วยเช่นกัน เรานัดหมายกันในช่วงบ่ายๆ ดีใจทุกครั้งที่มาสระบุรีและได้เจอกัน เราคุยกันหลายเรื่องหลายประเด็น ความสนใจส่วนตัวคือ อยากทราบว่า พี่ดามีวิธีการอย่างไรในการนำเงินกองทุนต่างๆ มาขับเคลื่อนงานปฐมภูมิในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งประเด็นนี้เราคุยกันมาหลายครั้งบ้างแล้ว เลยลองจดโน๊ตบันทึกกับตนเองไว้ว่า ที่พี่ดาและเครือข่ายขับเคลื่อนงานสุขภาพในระดับปฐมภูมิได้ดีนั้นเพราะ

  • เป้าหมายชัดเจน และมีการวางแผนในการขับเคลื่อนงานทั้งส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟู
  • สัมพันธภาพของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ค่อนข้างดี และได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่
  • มีการนำข้อมูลที่มีอยู่มาเป็นข้อมูลสนับสนุนในการพัฒนางาน ส่วนที่ยังเป็น GAP อยู่ก็ใช้ R2R เป็นเครื่องมือในการศึกษาพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาที่มีอย่างต่อเนื่อง
  • มีการวัดผลสำเร็จของการทำงานชัดเจนผ่านกระบวนการทำวิจัย
  • ภายใต้โครงการส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูที่รับได้รับการสนับสนุน งบประมาณจากกองทุนต่างๆ มีการนำวิชาการ (R2R) มาเป็นเครื่องมือหนุนเสริมเพื่อเกิดผลลัพธ์ในการทำงานชัดเจน

ทุกการพัฒนาของการทำงานไม่ได้มุ่งไปที่การประกวด ดังนั้นรางวัลที่ได้มาจึงถือว่าเป็นกำไรของคนทำงาน เป็นที่ประจักษ์กับ 3 รางวัล R2R ประเทศไทยที่ได้รับมาและไม่รวมถึงผลงานระดับเขตและอื่นๆ เป็นที่ชื่นชมมาก

ผลงานวิจัยปีนี้ที่พร้อมเผยแพร่ คือ การพัฒนางาน LTC ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง NCD และใช้งบจากกองทุนฯ ต่างๆ มาทำงาน และมีงานวิชาการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนางานดังกล่าวรองรับด้วย ถือว่าเป็นบุคคลตัวอย่างได้ในการทำงานอย่างไม่ย่อท้อ รอติดตามผลงาน “การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในระบบปฐมภูมิภายใต้การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ” ค่ะ

Note: Ref.

[1] โรค NCDs หรือ non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย

[2] Contracting Unit for Primary Care (CUP) หมายถึง สถานบริการที่เป็นจุดทำสัญญา

เพื่อจัดบริการปฐมภูมิ (Primary Care) หรือเรียกว่า Main Contractor ก็ได้ในการดําเนินงาน หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งจะต้องมีผู้ซื้อบริการ(Purchaser) มาทำสัญญาซื้อบริการกับผู้ให้บริการ(Provider)ซึ่งผู้ให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้นต้องจัดบริการเป็นการ บริการปฐมภูมิ(PrimaryCare)]

[3] “การดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว” หรือที่เราคุ้นเคยกันในนาม LTC (Long Term Care) 

หมายเลขบันทึก: 660682เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2019 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2019 13:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท