ละเลิง / ระเริง ไม่หลงและใช้ให้ดี


วันนี้ได้รับหนังสือ “มองดู ฉันทะ- ตัณหา ไล่มาตั้งแต่เจงกิสข่าน” โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต)  พร้อมหนังสืออีก 2 เล่ม จากวัดญาณเวศกวัน เปิดผ่าน ๆ ดูในเล่ม เพื่อจะดูเนื้อหาคร่าว ๆ ของหนังสือธรรมเล่มเล็กเล่มนี้ ที่หน้า 34 มีข้อความตัวพิมพ์ใหญ่ ว่า

มอง-อนิจจัง

ต้องให้ถึง-เหตุปัจจัย

คนที่รู้เข้าใจอนิจจัง ดูได้ที่นี่:

  1. 1. มีใจสงบผ่อนคลายในสว่างด้วยปัญญา

รู้เท่าทันธรรมดาของอนิจจังและเหตุปัจจัย

  1. 2. ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท

ไม่มัวละเลิงหลับใหล ไม่เสียโอกาส ไม่พลาดเวลา

  1. 3. ทำการตรงเหตุปัจจัย

ใช้ปัญญาสืบค้น  ทำให้เกิดผลอันพึงหมาย

เห็นคำว่าละเลิงแล้วรู้สึกไม่คุ้นคำ แต่คุ้นเคยกับคำว่าระเริงเสียมากกว่า จึงเปิดพจนานุกรมเพื่อตรวจสอบความคุ้นเคยกับหลักฐานอ้างอิงว่า ระเริง ละเลิง มีอยู่หรือไม่ หรือคิดไปเองโดยความคุ้นชิน จึงได้ผลว่ามีอยู่ทั้ง 2 คำ

ละเลิง = หลงลืมตัวเพราะความลำพอง หรือคึกคะนอง.

ระเริง = ร่าเริงจนออกนอกหน้า, สนุกสนานเบิกบานใจ, บันเทิงใจเต็มที่.

จึงทำให้เข้าใจคำมากขึ้นและมีเทคนิคในใจว่า ถ้าจะใช้ ล. ละเลิง ก็ให้คิดถึงคำว่าหลง เพราะหลงละเลิงจนอาจเสียหาย แต่หากจะใช้ ร. ระเริง ก็ให้คิดถึง รื่นเริงระเริงสนุก ก็พอจะช่วยให้จำไปใช้ได้ง่าย

คำสำคัญ (Tags): #ระเริง#ละเลิง
หมายเลขบันทึก: 660448เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2019 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มีนาคม 2019 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท