ชีวิตที่พอเพียง 3384. PMA 2562 : 7. PMAC 2019 Day 1


วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒

Plenary 0 : Political Economy of NCD : Players, Power and Policy Processes

เป็นการปูพื้นทำความเข้าใจแนวคิดหลักของการประชุมในภาพรวม    ผมประทับใจ keynote speaker คือ Michael R. Reich (ศาสตราจารย์ด้าน International Health Policy, Harvard School of Public Health) มาก    ท่านเป็นนักรัฐศาสตร์   บอกว่า เป็นครั้งแรกในโลกที่ชื่อของการประชุมเรื่อง Global Health ใช้คำว่า Political Economy ตรงๆ    ที่ผ่านมา GH มักเน้น เรื่องเศรษฐศาสตร์ มากกว่าเรื่องการเมือง    เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่ PMAC เน้นเรื่องการเมืองในการจัดการระบบสุขภาพให้เด่นขึ้น

นิยามของ การเมืองคือ “Who Gets What, When, and How”   ท่านจึงเขียนประเด็นหลักของ PMAC 2019 ใหม่ว่า “การจัดสรรทรัพยากรด้านเศรษฐกิจ และด้านการเมือง มีผลต่อผลประโยชน์ของผู้คนอย่างไร ในเรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง”

จากนั้น ท่านตีความ 3 subtheme ของการประชุม และชี้ key actors ในแต่ละ theme ดังรูปที่ ๑

อาวุธจัดการ political economy of NCD determinants ที่ชะงัดที่สุดคือ Sin Tax  เพราะเป็นกระสุนนัดเดียว ที่ยิงแล้วได้ “นก” สองตัว    คือได้ลดต้นเหตุของ NCD  และได้เงินเข้ารัฐ 

ท่านบอกว่า evidence อย่างเดียวไม่เพียงพอให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบาย  ต้องมีการเคลื่อนไหวทางสังคม ด้วย    ทำให้ผมนึกถึงทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา อันโด่งดังของ อ. หมอประเวศ

ในเรื่อง political economy of NCD มี transition gap    เพราะ epidemiology transition เร็วกว่า government policy transition   

ท่านมองว่า การประชุม PMAC 2019 นี้ เป็นจุดเปลี่ยนโลก ในเรื่องเศรษฐศาสตร์การเมืองเรื่อง NCD

หลัง keynote speech เป็น panel discussion   มี panelist ๕ คน    คนหนึ่งคือ Magaret Chan อดีตผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (ผู้กล่าวว่า NCD เป็นความพินาศที่มนุษย์ก่อขึ้น และค่อยๆ สร้างความพินาศอย่างช้าๆ)    และมี Tim Evans แห่งธนาคารโลก เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย  

สาระในการอภิปรายสะท้อน complexity ของ root cause ของ NCD    เชื่อมโยงกับแทบจะทุกเรื่องรอบตัวเรา การต่อสู้จึงต้องไม่ทำแบบแยกส่วน    ผมชอบการอภิปรายของวิทยากรท่านสุดท้าย คือ Takao Toda, VP JICA ผู้เป็นนักกฎหมาย และมีประสบการณ์สูญเสียภรรยาจาก NCD คือโรคมะเร็ง ที่บอกว่า ต้องคำนึงว่า ทรัพยากรเพื่อต่อสู้ NCD มีจำกัด    ต้องหาวิธีดำเนินการแบบผ่อนแรง โดยสารไปกับเรื่องที่มีความเข้มแข็งอยู่แล้ว เช่น MCH     คืออย่าดำเนินการแบบแยกส่วน    ต้องดำเนินการให้ครบทั้งด้านสร้างเสริมสุขภาพ  ป้องกันโรค  และการตายอย่างมีเกียรติ

ชื่อของการประชุมช่วงนี้ ขอให้พูดเรื่อง  อำนาจ  ผู้แสดงอำนาจ  และกระบวนการนโยบาย     ซึ่งเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก    ผู้อภิปรายแต่ละคนพูดจากมุมของตน    พอจะสรุปได้ว่า ต้องเน้นดำเนินการปกป้องกลุ่มคนด้อยโอกาสในสังคมเป็นเป้าหมายหลัก    เน้นประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง    เน้นดำเนินการบรณาการในสุขภาพชุมชน หรือการสาธารณสุขมูลฐาน     ดำเนินการร่วมกับผู้มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องหลากหลายฝ่าย    และดำเนินการแบบเชื่อมโยงกับกิจหรือเป้าหมายอื่นๆ เช่น SDG, การขจัดความยากจน   

ต้องดำเนินการออกไปนอกวงการสุขภาพ    และค้นหาตัวอย่างของการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์การเมืองเรื่อง NCD ที่มีผลต่อนโยบาย  นำมาเป็นกรณีศึกษมและสื่อสารสาธารณะ   

Plenary 1 : The Political Economy of the Determinants of NCDs : Accellerating Actions for Prevention

ผู้พูด keynote คือ Sir Michael Marmot ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เมื่อหลายปีก่อน    จากผลงาน Social Determinants of Health   ท่านบอกว่าการเมืองต้องจัดการแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกัน (inequalities) ในสังคม รวมทั้งด้านสุขภาพภายในประเทศ และระหว่างประเทศ    และต้องแยกแยะระหว่าง สุขภาวะ กับ ระบบสุขภาพ    ท่านกล่าวว่า Every sector is a health sector.    ต้องไปให้ถึง root cause  หรือ causes of the causes      

ท่านกล่าวถึง วิกฤติสุขภาพ ดังตัวอย่างในสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา life expectancy ของประชาชนลดลง    ทั้งๆ ที่ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น    และระบุว่าสาเหตุในระดับรากฐานคือ ความเหลื่อมล้ำในสังคม    ความอยุตธรรมในสังคม เป็นฆาตกรหลัก  

มีการตั้งคำถาม บทบาทของภาคธุรกิจเอกชน    คำตอบคือ ภาคเอกชนอาจเป็นพระเอกก็ได้ เป็นผู้ร้ายก็ได้    ขึ้นกับพฤติกรรม

คำถามว่า นโยบายการเงินของรัฐบาล จะช่วยยกระดับ social determinants of health ได้อย่างไร    คำตอบจาก Tim Evans จาก WB คือ รัฐบาลของประเทศต่างๆ ไม่ได้เอาใจใส่ประเด็นนี้   และชี้ให้เห็นว่า ผลดีของ sin tax (เพิ่มภาษีบุหรี่ สุรา น้ำตาล เอามาใช้ในกิจการสร้างเสริมสุขภาพ) มีถึง ๓ ประการคือ (๑) ลดการบริโภค  (๒) เอาเงินไปใช้ในกิจการสร้างเสริมสุขภาพ และ (๓) เป็นการลด inequity เพราะเงินนี้เอาไปใช้เพื่อประโยชน์ของคนยากจนและด้อยโอกาสเป็นส่วนใหญ่   

มีคำถามว่า จะมีวิธีดึงความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์จากภาคธุรกิจเอกชนได้อย่างไร    Michael Marmot บอกว่าได้ลองในสหราชอาณาจักรแล้ว แต่ไม่ได้ผล    มาตรการที่ได้ผลคือมาตรการทางกฎหมาย และทางการเงิน (ภาษี)    ในเรื่องภาคธุรกิจเอกชนนี้ Sania ประธานของ WHO NCD Commission ให้ความเห็นว่า ต้องแยกแยะภาคธุรกิจ    จริงๆ แล้วมีตัวอย่างที่ภาคธุรกิจดำเนินกิจกรรมเป็นฝ่ายรุกเข้าไปเปลี่ยนแปลงภาคสุขภาพ    นวัตกรรมด้านสุขภาพ มีทั้งที่มาจากภาครัฐ และภาคเอกชน   และประชาชนทั่วไปต้องไม่ลืมปฏิบัติตาม healthy lifestyle  

วิจารณ์ พานิช

๒๙ ม.ค. ๖๒

ห้อง ๔๕๒๒  โรงแรมเซนทารา แกรนด์

1 ผู้แสดงบทบาทหลักใน political economy of NCD

2 Michael Reich, keynote speaker ของ PL 0

3 PL 0 Panelist

4 PL 1 Panelist

หมายเลขบันทึก: 660353เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2019 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2019 16:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท