เรียนรู้จากศาสตร์พระราชา ... "อย่าทำลาย ๓ เสาหลัก"


ถ้านำองค์ความรู้จากการศึกษาบันทึกเกี่ยวกับการปฏิวัติรัฐประหาร ของศาสตราจารย์บุญชนะ อัตถากร (คลิกที่นี่) มาตีความเหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน  ท่าน ๆ จะเห็นได้ชัดว่า ใครกำลังสู้กับใคร กำลังสู้กันด้วยอะไร ต่างฝ่ายต่างยึดมั่นในอะไร  ....  ขอเขียนแลกเปลี่ยนกับท่านในลักษณะ "ถาม-ตอบในใจ ใช่ ไม่ใช่ คิดไปอ่านไป" ดังต่อไปนี้ ... เชิญพิจารณา ทีละประเด็น ๆ

ศาสตร์พระราชาพระมหากษัตริย์ไทย
  • พระเจ้าตากสิน ทรงกอบกู้เอกราชให้ชนชาติชาวสยาม ทรงส่งเสริมรัชกาลที่ ๑ (ทรงเก่งเรื่องรบมาก) ก่อร่างสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ กำเนิดเกิดราชวงศ์จักรี สืบต่อความหวังดีต่อแผ่นดินของพระเจ้ากรุงธนบุรี 
  • รัฐกาลที่ ๒ ทรงสร้างขนบธรรมเนียม ประเพณี วรรรณคดี และศิลปะวัฒนธรรมอันงดงาม  
  • รํฐกาลที่ ๓ ทรงศาสตร์แห่งการค้าขาย "เงินถุงแดง" ที่ทรงเก็บออมไว้ ทำให้เรามีเอกราชอยู่คู่ศักดิ์ศรีถึงทุกวันนี้ พุทธศาสนสถาน วัดวาอารามในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นมารดกอันล้ำค่าที่เกิดจากศรัทธาแห่งพุทธศาสนิกชนคนไทย ที่มีศูนย์รวมจิตใจให้สามัคคีกันเรื่อยมา 
  • รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระปรีชาสามารถรอบด้านทั้งวิทยาศาสตร์และภาษาต่างประเทศ ทำให้ประเทศไทย ตั้งอยู่อย่างภาคภูมิใจแห่งคำว่า "ชนชาวสยาม" หรือ "ชนชาวไทย" ที่เรียกได้ว่า มี "ชาติ" 
  • รัชกาลที่ ๕ เราสดุดีพระองค์เป็น "พระปิยะมหาราช"  ด้วยศาสตร์พระราชานักพัฒนาแบบ "ปฏิรูป" ของพระองค์ โดยเฉพาะการเลิกทาส ... ทรงปูทางการปกครองสู่ระบบที่สากลตั้งแต่รัชสมัยของพระองค์ ... ทรงต่อสู้รักษาเอกราชอย่างเข้มข้นกับชาติผู้ล่าอาณานิคม โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษ ประเทศต้นแบบแห่งประชาธิปไตย ที่หลานท่านที่ถูกส่งไปเรียนกลับมาทำการ "ปฏิวัติ" 
  • ทรงทำให้เห็น เป็นตัวอย่าง ว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น สามารถทำได้โดยไม่เสียเลือดเนื้อ ค่อยเป็นค่อยไป ทรงใช้เวลาถึง ๓๑ ปี ในการเปลี่ยนแปลงตามลำดับขั้น 
  • รัชกาลที่ ๖ ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจให้คนไทย "รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" อันเป็น ๓ เสาหลักแห่งชาติไทย ทรงสร้างศิลปการแสดงอันงาม โขน ละครนอก ละครใน ละครแบบใหม่ สืบอัตลักษณะแห่งความเป็นไทยมาถึงปัจจุบัน 
  • รัชกาลที่ ๗ ทรงเตรียมการงานพัฒนาและเปลี่ยนแปลงการปกครองอยู่แล้ว ทรงส่งลูกท่านหลานเธอต่าง ๆ  ไปศึกษาที่ต่างประเทศมากมาย รวมทั้งกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "คณะราษฎร" ที่ไปเรียนที่ฝรั่งเศส 
  • รัชกาลที่ ๘ ทรงถูกรอบปลงพระชนม์จากคนที่มีความคิดเห็นเป็นเช่นแนวทางของคณะราษฎร 
  • รัชกาลที่ ๙ ทรงเป็นกษัตริย์ นักพัฒนา ส่งได้รับการยอมรับจากสากลโลก  ทรงได้รับรางวัลสูงสุดแห่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  วันพระราชสมภพ ๕ ธันวาคม ได้รับการยกย่องให้เป็นวันดินโลก (World soil day) ของทุกปี 
อย่าทำลาย ๓ เสาหลัก
  • กลุ่ม "คณะราษฎร" ที่ก่อการปฏิวัติ คือกลุ่มคนที่ได้รับพระราชทานทุนการศึกษาไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส ด้วยหวังจะให้กลับมาพัฒนาประเทศ 
  • พระองค์ก็ทรงเตรียมการเช่นกัน โดยหวังจะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ประชาชนชาวไทยในเวลาที่เหมาะสม ...  แต่ "คณะราษฎร" มาปฏิวัติเสียก่อน 
  • ประเทศฝรั่งเศสที่ "คณะราษฎร" ไปเรียน เป็นประเทศประชาธิปไตยที่เกิดจากการปฏิวัติในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี (1789-1792)  (ดูคลิปนี้) ซึ่งเกิดจากความแตกต่างระหว่างชนชั้นปกครอง (่ชนชั้นสูง กษัตริย์) และประชาชน เศรษฐกิจตกต่ำแบบสุด ๆ หลังจากที่แพ้ "สงคราม ๗ ปี" แก่อังกฤษ ประชาชนอดอยากหิวโหย ในขณะที่พวกขุนนางอยู่อย่างสุขสบาย 
    • การตัดสินพระทัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ เข้าร่วมสงครามประกาศอิสรภาพของอเมริกา ทำให้การคลังของประเทศประสบปัญหาหนัก .... (ไม่พอประมาณ)
    • เมื่อประเทศเจอฤดูหนาวที่หนาวจัดติดต่อกัน ทำให้ผลิตของประชาชนไม่ได้ผล ผู้คนอดอยากอย่างหนัก ขาดแคลนแม้กระทั่งขนมปัง ราคาขนมปังสูงขึ้นเท่ากับ  ในขณะที่ขุนนางและกษัตริย์อยู่กันอย่างหรูหราฟุ้งเฟื้อเหมือนเดิม ... (ไม่ดูแลทุกข์สุขประชาชน) 
    • กระบวนการปฏิวัติเริ่มขึ้นและเป็นไปอย่างรุนแรง นองเลือด รวดเร็ว  เปลี่ยนประเทศจากระบบกษัตริย์ไปสู่ ไปสู่ประชาธิปไตย ที่มี "เสรีภาพ ภารดรภาพ และเสมอภาค" สัญลักษณ์ของความสำเร็จของการปฏิวัติแบบฝรั่งเศส คือ การประหารพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ ด้วยกีโยติน
  • "คณะราษฎร" คงได้แนวคิดที่จะปฏิวัติจากที่ไปเรียนที่ฝรั่งเศส  อำนาจและความทะเยอทะยาน ทำให้มีอะไรไปปิดบังตาบังใจ ไม่ให้เห็นความแตกต่างแห่งระบบกษัตริย์ของไทยกับระบบกษัตริยฝรั่งเศส .... จนลืมไปหลายเรื่อง ลืมไปแม้กระทั่งว่า ประชาธิปไตยแบบฝรั่งเศสนั่นเองที่ครั้งหนึ่งนำกำลังทหารมาไล่ล่าประเทศไทยให้เป็นอาณานิคม ด้วยกุศโลบายหยาบเล่ห์ หลายประการในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ 
  • พ.ศ. ๒๔๗๕ "คณะราษฎร" ทำการปฏิวัติ .... พรรคการเมืองพรรคหนึ่งที่เป็นขวัญใจของเยาวชนขณะนี้ ผู้ก่อตั้งพรรคมีแนวคิดว่า การปฏิวัติครั้งนั้นยังไม่สำเร็จ  และกล่าววาจาว่า ภารกิจหนึ่งของการก่อตั้งพรรคคือการทำงานที่ยังไม่สำเร็จนั้นให้สำเร็จ (อ่านบันทึกนี้) (หรือดูคลิปนี้)
  • การปฏิวัติของ "คณะราษฎร" หวังจะให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเพียงสัญลักษณ์ และอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และอยู่ภายใต้การเมือง ... แต่ด้วยพระบารมีจึงทรงถูกยกไว้เหนือการเมืองตลอดมา (ตรงนี้มั้งที่เขามองว่าไม่สำเร็จ)
  • "การปฏิวัตินักศึกษา"  ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ต่างหากที่ควรพูดว่า นำมาสานต่อให้สำเร็จ จนได้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ... 
โปรดอย่าทำลาย ๓ เสาหลักของประเทศไทย....  เยาวชนจะเข้าใจว่าอย่างไร สงสัย และหนักใจเป็นอันมาก.....
หมายเลขบันทึก: 660219เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2019 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มีนาคม 2019 22:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท