การศึกษาเพื่อ "การพัฒนาที่ยั่งยืน" (๒): ผลลัพธ์ของการศึกษาที่ไม่ยั่งยืน "ระดับครอบครัว"


ผมกำลังอ่านผลการวิจัยของนิสิตระดับปริญญาเองท่านหนึ่ง ท่านกำลังศึกษาว่า การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน  การสำรวจข้อมูลการดำเนินชีวิตของนักเรียนในระดับครอบครัว พบสิ่งที่น่าสนใจ ที่แสดงถึงผลแห่ง "การศึกษาที่ไม่ยั่งยืน" อันจะยืนยันได้ชัดเจนว่า การขับเคลื่อน "โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย" เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่นักการศึกษาไทย ต้องน้อมมาใส่ใจอย่างจริงจังเร่งด่วน

ข้อความตอนหนึ่งในเล่มรายงานการวิจัย เขียนว่า ....

... จากการทราบข้อมูลในครอบครัวของนักเรียน (ว่า) ...การดำเนินชีวิตยังมีการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ... มีการซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกที่ไม่จำเป็นกันแทบทุกครัวเรือน ผักสวนครัวทั้งที่ปลูกเองได้ก็ไม่ปลูกทั้งที่มีพื้้นที่ว่าง ๆ อย่างข้างบ้าน ต้องซื้อแทบทุกอย่าง นักเรียนจำนวนมากไม่ค่อยรู้จักพืชผักสวนครัวและไม่เคยปลูก ไม่รู้ขั้นตอนการปลูก ทำให้ต้องซื้อจากตลาด ในการประกอบอาหารพืชผักสวนครัวบางอย่างซื้อมาแล้วต้องใช้เพียงเล็กน้อย ที่เหลือก็เหี่ยวแห้งทิ้งไป....

รายงานฉบับนี้บอกว่า

  • เกือบทุกครัวเรือนซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย
  • นักเรียนส่วนใหญ่ (แม้จะอยู่ในโรงเรียนนอกเมืองใหญ่) ไม่รู้จักพืชผักสวนครัว ปลูกไม่เป็น 
  • ซื้อผักจากตลาด ... (ซึ่งมีสารพิษ)
ลองพิจารณาข้อมูลจากโครงการอาหารและยา  ที่บอกว่าประเทศไทย (อ่านจากที่นี่)
  • มีพื้นที่เพาะปลูกมากเป็นอันดับที่ ๔๘ ของโลก 
  • ใช้ยาฆ่าหญ้ามากเป็นอันดับ ๔ ของโลก 
  • ใช้ยาฆ่าแมลงมากเป็นอันดับ ๕ ของโลก มากเป็นอันดับ ๑ ของอาเซียน
  • เด็กเกิดพิการถึงร้อยละ ๘ ในขณะที่ยุโรปมีเพียงร้อยละ ๒ 
  • ฯลฯ
และทุกท่านคงทราบกันดีว่า ขณะนี้ จำนวนผู้ป่วยด้วยมะเร็งร้ายเพิ่มขึ้นมากมายเพียงใด ดังนั้น เรื่องเร่งกด่วนที่สุดของประเทศนี้คือ เรื่องอาหารปลอดภัย ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องไปเริ่มที่โรงเรียน

โรงเรียนที่ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควรจะสร้างกระบวนการเรียนรู้ทักษะชีวิตอย่างจริงจัง ตามแนวทางที่ทรงแนะนำไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก คือ โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย ...  ผมกำลังค้นหาว่า มีโรงเรียนแบบนี้อยู่ที่ไหนบ้างในเมืองไทย  ผมพบแล้วที่หนึ่ง คือ โรงเรียนบ้านหนองผือ ... จะไปดูให้เห็นกับตาสักวัน

หมายเลขบันทึก: 659923เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2019 12:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2019 12:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท