การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค K-W-D-L


การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค K-W-D-L เป็นการสอนที่ช่วยส่งเสริมความสามารถ   ของผู้เรียนในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยการให้นักเรียนได้ช่วยเหลือกันในการเรียนรู้  และหาคำตอบจากโจทย์ปัญหาที่กำหนดจาก 4 คำถาม What we know, What we want to know, What we do to find out, และ What we leaned ซึ่งมีนักวิชาการ เรียกว่า เทคนิค K-W-D-L

วัชรา  เล่าเรียนดี และคณะ (2560, น. 211) ได้กล่าวถึงขั้นตอนการสอน โดยใช้เทคนิค K-W-D-L ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 4 ขั้นตอน ดังนี้                                     

             1.  ขั้นนำ

                 1.1  ทบทวนความรู้เดิม

                 1.2  แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้                                                                                                      

                 1.3  เร้าความสนใจโดยใช้เกมคณิตศาสตร์

             2.  ขั้นสอนเนื้อหาใหม่

                  2.1  ครูนำเสนอโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ให้กับนักเรียนทั้งชั้น แล้วให้นักเรียนร่วมกันอ่านโจทย์และแก้ปัญหาตามแผนผัง K-W-D-L ดังนี้ 

                         K = ครูและนักเรียนร่วมกันหาสิ่งที่โจทย์บอกให้ทราบ                                                                           

                        W = ครูและนักเรียนร่วมกันหาสิ่งที่โจทย์ต้องการทราบ                                                                             

                        D = ครูและนักเรียนร่วมกันดำเนินการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์

                        L = ครูและนักเรียนร่วมสรุปผลการแก้ปัญหา

                  2.2  นักเรียนฝึกปฏิบัติเป็นกลุ่มย่อยโดยครูคอยแนะนำ ด้วยการแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆ ละ 4-5 คน ร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมตามบัตรกิจกรรม K-W-D-L

           3.  ฝึกทักษะโดยอิสระ  นักเรียนทำแบบฝึกหัดจากแบบฝึกหัดที่ครูสร้างขึ้นโดยเป็นโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียนและสถานการณ์อื่นๆ

             4.  ขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผล  นักเรียนทำแบบทดสอบประจำหน่วยการเรียน มีการซ่อมเสริมเมื่อนักเรียน   ยังไม่เข้าใจ นอกจากขั้นตอนของเทคนิค K-W-D-L โดยครูและนักเรียนร่วมกันเรียนรู้ทำความเข้าใจ โดยมีแผนผัง K-W-D-L ประกอบให้เห็นชัดเจนทุกคนด้วย การร่วมมือกันฝึกและทำแบบฝึกหัด นอกจากนี้นักเรียนจะต้องมีตาราง K-W-D-L ของตัวเองเพื่อเติมข้องความเช่นกัน แต่ควนใช้ร่วมกัน 2 คนต่อ 1 ชุด จะเหมาะสมกว่าเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกัน

วัชรา  เล่าเรียนดี, ปรณัฐ  กิจรุ่งเรือง และอรพิณ  สิริสัมพันธ์. (2560). กลยุทธการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพ

การศึกษา สำหรับศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง.

K

โจทย์บอกอะไรบ้าง

W

โจทย์ต้องการรู้/ต้องการทราบอะไรบ้าง

D

เราทำอะไร อย่างไร หรือเรามีวีการอย่างไรบ้าง

L

คำตอบที่ได้และคิดคำตอบอย่างไร

1. ...........................

2. ........................... 3. ...........................

4. ...........................

1. ...........................

2. ........................... 3. ...........................

4. ...........................

วิธีทำ....................

วิธีที่ 1. .................

วิธีที่ 2. .................

วิธีที่ 3. .................

คำตอบ....................

...............................

สรุปขั้นตอน

................................

...............................

หมายเลขบันทึก: 659881เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2019 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2019 09:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท