รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๒๐๐๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๒-๒๕๖๑ (๑) พระราชประวัติในหลวงราชกาลที่ ๙


เนื้อหาบทที่หนึ่งของรายวิชา ๐๐๓๒๐๐๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ “พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙”  กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังให้ ผู้เรียนสามารถ

  • บอกถึงพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ได้
  • อธิบายพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ได้
ในการจัดการเรียนการสอน เรากำหนดให้นิสิตดูคลิปวีดีโอความยาสวเกือบ ๕๐ นาที แล้วให้นิสิตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และอธิบายสะท้อนการเรียนรู้ของตนลงในใบงาน  


  • สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงถูกส่งไปศึกษาต่อที่เมืองบอสตัน มลรัฐแมทซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ ๒๔ พรรษา 
  • ทรงตกหลุมรักกับนางสาวสังวาลย์ สตรีสามัญชน กำลังศึกษาวิชาการพยาบาลอยู่ที่เมืองฮาร์ทฟอร์ด มลรัฐคอนเนทติกัท 
  • เป็นเรื่องไม่ปกติที่เจ้าฟ้าจะอภิเษกกับสามัญชน แต่สองพระองค์ก็ฝ่าฟันอุปสรรคทุกอย่าง จนได้อภิเษก ในวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๔๖๓ ที่ประเทศไทย ณ วังสระปทุม (เจ้าฟ้ามหิดลฯ อายุ ๒๘ ปี ขณะที่หม่อมสังวาลย์ อายุ ๒๐ ปี)
  • ทั้งสองพระองค์ทรงใช้ชีวิตอย่างสมถะ ในย่านบลู๊คลิน เมืองบอสตัน มีพระโอรส-ธีดา ๓ พระองค์ ที่นั่น 

  • ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม  พ.ศ. ๒๔๗๐  ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น (Mount Auburn Hospital) เมืองเคมบริดจ์ บอสตัน มลรัฐแมทซาชูเซตส์ ประเทศอเมริกา 
  • พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระชนนาม (ชื่อ) ว่า Bhumibala Aduladeja (ภูมิพล อดุลเดช) ถ้าเขียนแบบแปลงอย่างเป็นทางการ เขียนอย่างออกเสียงเป็น Poomipon (ภูมิพล) แปลว่า "พลังแห่งแผ่นดิน"
  • ๕ พระองค์กลับมาเยี่ยมประเทศไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ และประทับ ณ วังสระปทุม กับสมเด็จพระอัยยิกา สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา  (ย่าของในหลวง ร.๙)
  • พระราชชนกทรงป่วยโดยโรคปัปผาสะ (โรคปอด) ทรงเสด็จธิวงศ์คต (เสียชีวิต) เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ... ในหลวง ร.๙ มีพระชนมายุเพียง ๒ พรรษา  ขณะนั้นพระราชชนนีมีพระชนมายุเพียง ๒๙ พรรษา  ทรงเลี้ยงอภิบาลพระราชธิดา-โอรส  ๓ พระองค์เองตั้งแต่นั้นมา

  • พระราชชนนี ทรงให้ความสำคัญกับการเล่น การเล่นที่ในหลวง ร.๙ ทรงโปรดมาอย่างหนึ่งคือการเล่นเกี่ยวกับน้ำ ทรงช่วยกันสร้างบ่อขนาดเล็ก แล้วปั้นเป็นทางน้ำเหมือนคลองที่น้ำจากบ่อจะถูกรินผ่านไป  ทรงวางกิ่งไม้ไปตามคลองที่อุ้มดินเอาไว้ ... ซึ่งต่อมาเป็นแนวพระราชดำริในการอนุรักษ์ดินและน้ำ 
  • วันที่ ๒๔ มิถุนยายน ๒๔๗๕ สยามเปลี่ยนแปลงการปกครอง สมเด็จพระราชชนนี ประสงค์จะกันทั้ง ๓ พระองค์จากความขัดแย้งต่าง ๆ ภายในประเทศ จึงตัดสินพระทัยย้ายไปลี้ภัยที่เมืองโลซาน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
  • สวิสเซอร์แลนด์มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีการใช้ทั้งฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาเลี่ยน และอังกฤษ ทรงเข้าเรียนโรงเรียนรัฐบาลที่นั่น  
  • พระราชชนนีทรงเลี้ยงดู อบรม บ่มเพาะกษัตริย์ทั้งสองพระองค์แบบสามัญชน ในช่วยสงครามโลกครั้งที่สอง ทรงต้องขีจักรยานไปโรงเรียน และจะได้รับของขวัญเฉพาะในวันเกิดเท่านั้น ทั้งสองพระองค์ทรงรักกันมาก ชอบสิ่งต่าง ๆ เหมือนกันแทบทุกอย่าง 
  • ขณะที่ในหลวง ร.๙ มีพระชน ๘ พรรษา ทรงโปรดเกี่ยวกับการก่อสร้าง ประดิษฐ์สิ่งของ ทรงนิยมทำตามพุทธสุภาษิตเกี่ยวกับการทำของใช้เอง ว่า  กัตเต รมเต ผู้ทำเองย่อมรื่นรมย์ 
  • ทรงเรียนดนตรีโดยเริ่มจากแซคโซโฟนและแคริเน็ตจากชาวฝรั่งเศสชื่อเวเบรทต์ ทรงสนใจดนตรีแจ๊สหลังจากได้ทรงฟังในวันหยุดพักผ่อน ทรงซื้อแผ่นเสียงดนตรีเองโดยเก็บเงินเอง เนื่องจาก สมเด็จย่าไม่ได้ตามใจเรื่องดนตรี ทรงกล่าวว่า "ไม่ว่าจะเป็นดนตรีชนิดใด ดนตรีก็เป็นส่วนหนึ่งของข้าพเจ้า"  ทรงพระราชนิพนธ์เพลงถึง ๔๘ เพลง (เพลงแรกคือเพลงแสงเทียน เพลงสุดท้ายคือเพลงเมนูไข่)... ต่อมาเมื่อมาเป็นกษัตริย์ ทรงใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือสื่อสารไปยังประชาชน ผ่านสถานีวิทยุ "อส." ทรงใช้ช่องทางนั้นเรี่ยไรเงินบริจาคช่วยเหลือประชาชนหลายโครงการ
  • วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ รัชกาลที่ ๘ ทรงเสด็จสวรรคต สภาผู้แทนมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ทูลเชิญ "เจ้าฟ้าแว่น" เป็นกษัตริย์ในรัชกาลที่ ๙ ของประเทศไทย 
  • ต้นเดือนกันยายน ระหว่างกำลังเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่โลซาน มีประชาชนคนหนึ่งร้องว่า "พระเจ้าอยู่หัว อย่าทิ้งประชาชน" ...  ทรงอยากบอกว่า "ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้า แล้วข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนได้อย่างไร"
  • ทรงเปลี่ยนสาขาวิชามาเรียนด้านกฎหมาย การเมือง และสังคมศาสตร์ จากเดิมที่ทรงโปรดเรียนสาขาวิทยาศาสตร์ ... ทรงใช้ภาษาได้หลายภาษา 

  • ทรงพอพระราชหฤทัยในหม่อมราชวงศ์สิริกิตต์ กิติยากร ลูกสาวของเอกอัครราชทูตไทยประจำยุโรป ทรงมั่นเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๙๒ ด้วยแหวนวงเดียวกับที่พระชนกมั่นพระชนนี 
  • วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๙๓ ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกสมรส ที่วังสระปทุม ทรงจ่ายค่าธรรมเนียมการแต่งงาน เป็นเงิน ๑๐ บาท 
  • ๑ สัปดาห์ หลังจากทรงแต่งงาน ทรงประกอบพิธีบรมราชาภิเษก ทรงสวมพระมหาพิชัยมงกฎหนัก ๗.๓ กิโลกรัม  เสด็จด้วยขบวนพระยุหยาตรา ทรงพระราชปฐมพระราชโองการว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" ทรงเป็นธรรมราชา ราชาผู้ปกครองโดยธรรม
  • ทรงเสด็จกลับประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อรักษาพระอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถยนต์ ทรงมีพระราชธิดาพระองค์แรกคือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัลยา ศิริวัฒนาพรรณวดี  เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๔๙๔ ต่อมามีพระราชโอรส ๑ องค์คือ สมเด็จพระโอรสาธิราช สยามมงกฎราชกุมาร และพระราชธิดาอีก ๒ พระองค์คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ... แม้จะทรงต้องมีครอบครัวที่ต้องดูแล แต่พระองค์ก็เริ่มองค์เยี่ยมและช่วยเหลือราชฎรษ์ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นต้นมา 
  • ทรงให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยิ่ง ทรงจัดตั้งมูลนิธิพระดาบส สำหรับนักเรียนที่จำเป็นต้องออกจากโรงเรียนปกติเนื่องเพราะความยากจน ทรงริเริ่มโครงการการศึกษาทางไกล ถ่ายทอดการเรียนการสอนจากโรงเรียนไกลกังวล ๑๕ ช่องไปยังโรงเรียนที่ห่างไกล 
  • ทรงทราบว่า ภาวะทุพโภชนาการ หรือ การขาดแคลนอาหาร คือสาเหตุสำคัญของปัญหาสุขภาพคนในประเทศ ทรงตระหนักว่าคนไทยต้องการแหล่งโปรตีนเพิ่ม เพื่อสร้างสุขภาพให้แข็งแรง ทรงทดลองโดยโดยเปลี่ยนสระว่ายน้ำของพระองค์เป็นสระเพาะพันธุ์ปลาหมอแทน  ต่อมาทรงเพาะพันธุ์ปลาทิวาเบียนิโรติก้า (ปลานิล) ที่ได้รับจากน้อมถวายจากจักรพรรดิญี่ปุ่น ก่อนจะพระราชทานให้กรมประมงขยายพันธุ์ต่อไป 
  • ทรงเปลี่ยนสนามในพระตำหนักจิตรลดาเป็นแปลงเกษตร ทรงทดลองปลูกข้าวพันธุ์ต่าง ๆ จากทั่วประเทศ ทรงพัฒนารถไถ "ควายเหล็ก" เพื่อผ่อนแรงของชาวนา ทรงพัฒนาฝนหลวง 
  •  พ.ศ. ๒๔๙๙ ทรงพระผนวชเป็นระยะเวลา ๑๕ วัน ที่วัดพระศรีศาสดาราม มีพระสมณนามว่า "ภูมิพโลภิกขุ" จากนั้นไปจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร ที่ซึ่งสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวช ทรงมีทัศนคติว่าทุกศาสนาเท่าเทียมกัน ทรงไม่เคยปฏิเสธการเชิญเข้าร่วมศาสนกิจของศาสนาต่าง ๆ ในไทย ทรงให้แปลพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานเป็นภาษาไทย 

  • พ.ศ. ๒๔๙๓ ทรงเสด็จออกเยี่ยมราษฎรในที่ห่างไกลเพื่อศึกษาความเป็นอยู่ของราษฎรเป็นครั้งแรก   พ.ศ. ๒๕๐๑ ทรงเสด็จภาคอีสานเป็นครั้งแรก ทรงเกิดความตระหนักถึงปัญหาความแห้งแล้ง ทรงวางแผนเพื่อจัดการน้ำ และริเริ่มทดลองโครงการฝนเทียมใน พ.ศ. ๒๕๑๒ ทรงได้รับฉายาว่า "คนทำฝน" 
  • พ.ศ. ๒๕๐๕ พายุโซนร้อนแฮเรียส กระหน่ำ ๑๒ จังหวัดริมฝั่ง ทรงระดมทุนเพื่อบรรเท่าทุกข์ของราษฎรอย่างเร่งด่วน เงินที่เหลือคราวนั้น ทรงตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนแก่เหยี่อที่ประสบภัย ในเวลาต่อมา 
  • พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึนามิถล่มหลายประเทศทางชายฝั่งอันดามัน คนไทยเสียเสียชีวิตกว่า ๕,๐๐๐ คน มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ได้สร้างโรงเรียน ๔ แห่งให้ผู้ยากประสบภัย 
  • พ.ศ. ๒๕๓๑ ทรงก่อตั้งมูลนิธิชัยพัฒนา ทำหน้าที่ขับเคลื่อนงานเนื่องในโครงการพระราชดำริ ซึ่งรวมแล้วมีทั้งหมดถึง ๔,๔๔๗ โครงการ โครงการสุดท้ายคือโครงการชั่งหัวมันอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ 
  • พ.ศ. ๒๕๓๕ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ คลี่คลายและยุติลงได้ทันที ทำให้ประเทศรอดพ้นจากหายนะทางการเมือง 
  • พ.ศ. ๒๕๓๘ กรุงเทพฯ ประสบอุทกภัยหนัก โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่าง ๆ ที่ทรงทำ โดยเฉพาะโครงการแก้มลง ออกฤทธิ์ ทำให้การจัดการเรื่องน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมาก 
  • พ.ศ. ๒๕๔๐ เกิดวิกฤตทางการเงินทั่วเอเชีย ประเทศไทยลอยตัวค่าเงินบาท ทรงย้ำให้ราษฎรตระหนักถึงการดำเนินชีวิตที่พอเพียง ทรงพระราชทานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแต่คนไทย ซึ่งทรงคิดและทำมานานแล้วตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๗  ... การพัฒนาจะต้องยั่งยืน 
  • ทรงศึกษาค้นคว้าทดลอง สิ่งต่าง ๆ ในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตลดา พ.ศ. ๒๕๓๙ เอทิลแอลกอฮอล์ถูกพัฒนาขึ้นในเพื่อเป็นเชือเพลิงในเครื่องยนต์ และมีการผลิตแอลกอฮอล์แข็งในเวลาต่อมา ทรงริเริ่มการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากนมต่าง ๆ 
  • ทรงมีพระอัจริยภาพด้านศิลปะ จิตรกรรมและวรรณกรรมอันทรงคุณค่าไว้จำนวนมาก เช่น ทรงวาดภาพเหมือนสมเด็จพระราชินี ทรงแปลหนังสือเรื่องติโต นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ทรงแต่งเรื่องพระมหาชนก ฯลฯ 
  • ทรงเป็นนักกีฬาแล่นเรือใบ ได้รับรางวัลเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง (กีฬาซีเกมส์)
  • ทรงได้รับรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์  โดยนายโคฟี่ อนันต์ เลขาธิการสหประชาชาติ ได้น้อมถวายในงานเฉลิมฉลองการครองราชย์ครบ ๖๐ ปี

  • ทรงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ทรงครองราชย์ยาวนาน ๗๐ ปี  ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ยาวนานที่สุดในอันดับที่ ๑๘ ของประวัติศาสตร์โลก
  • ทรงได้รับพระราชสมัญญนามเป็น "พระบิดา" ถึง ๘ แขนง
    • พระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย (๒๕๔๔)
    • พระบิดาแห่งฝนหลวง (๒๕๔๕)
    • พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย (๒๕๔๙)
    • พระบิดาแห่งนักประดิษฐ์ไทย (๒๕๔๙)
    • พระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย (๒๕๕๐)
    • พระบิดาแห่งนักวิจัยไทย (๒๕๕๐)
    • พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย (๒๕๕๒)
    • พระบิดาแห่งการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าว (๒๕๕๙)

องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดให้วันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันดินโลก (World Soil Day) พื่อให้ชาวโลกตระหนักถึงคุณค่าของดิน 

เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ๐๐๓๒๐๐๕ ดาวน์โหลดได้ที่นี่ ในเอกสารนี้ผมได้คัดลอกเนื้อหาพระราชประวัติ ร.๙ จากเว็บไซต์แจ่มไส ไว้ในส่วนของใบความรู้ให้นิสิตได้ศึกษาเป็นตัวอย่างในการจับประเด็น 
หมายเลขบันทึก: 659659เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2019 03:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2019 04:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท