ชีวิตที่พอเพียง 3357. เศรษฐศาสตร์การเมืองเรื่องสุขภาพ



ในการประชุมคณะกรรมการจัดประชุมวิชาการจัดประชุมนานาชาติประจำปีรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๑ ที่โรงแรมสุโขทัย   มีผู้รู้ให้ข้อมูลการใช้เป้าหมายสุขภาพโลก (global health) ในการจัดความช่วยเหลือประเทศยากจน แบบแฝงผลประโยชน์ของประเทศพัฒนา     และเมื่อศึกษาในมิติที่ลึก และในระยะยาว ประเทศผู้รับความช่วยเหลือกลับสูญเสียผลประโยชน์   ในด้านที่ไม่ได้คิดเอง ดิ้นรนเอง เพื่อความเข้มแข็งของประเทศ    ต้องตกอยู่ใต้บงการของประเทศพัฒนาแล้วอยู้ตลอดไป  

นพ. สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ มีความรู้มาก ประสบการณ์มากในเรื่อง สุขภาพโลก (Global Health)    มีเรื่องจริงมาเล่าด้านลบขององค์การโลก ที่มหาเศรษฐีตั้งขึ้น หรือให้เงินสนับสนุน    ที่ผลกระทบโดยรวม เป็นผลดีต่อประเทศร่ำรวยมากที่สุด    ประเทศ middle income อย่างไทย กลับเป็นผู้สูญเสีย  

ยกตัวอย่างการทำงานของ GAVI (1) ที่ทำงานส่งเสริมการผลิตและจำหน่ายวัคซีน    รณรงค์ให้เด็กผู้หญิงในประเทศด้อยพัฒนาได้รับการฉีดวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก    โดยซื้อวัคซีนไปขายให้ในราคาถูก    และกดดันให้ประเทศรายได้ปานกลางฉีดวัคซีนให้แก่เด็กสาวของตน  โดยต้องซื้อในราคาแพง    เป็นการเอื้อผลประโยชน์ให้แก่บริษัทพัฒนาวัคซีนในประเทศรวย   

วิจารณ์ พานิช

๒๒ ธ.ค. ๖๑


หมายเลขบันทึก: 659572เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2019 15:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มกราคม 2019 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I would ask ‘savvy people’ to look at CP’s model in promoting animal feed corn cropping in the same light as ‘philanthropic aids’.

With the facts that corns need a lot of ‘water’ (after a rice crop), fertilizers and crop protection chemicals (from CP subsidiaries).

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท