พรรคการเมืองต่างๆที่ใหม่และมีแนวโน้มเอียงซ้ายของประเทศไทย: พันธมิตรหรือศัตรู?


การเกิดขึ้นของพรรคสามัญชนนำเสนอสิ่งที่น่าตื่นเต้นกว่า และรุนแรงกว่า (more radical ) พรรคอนาคตใหม่---พรรคที่ยังได้รับกลุ่มชื่นชอบการมีอยู่ของ Jungroongruangkit---Kriangsak Teerajiwitkajorn พูด

เมื่อคสชเริ่มที่จะยกเลิกกฎเกณท์บางข้อในการหาเสียง พรรคการเมืองต่างๆเริ่มมีการก้าวเข้าสู่การต่อสู้ในทางการเมืองมากขึ้น พรรคการเมืองใหม่เหล่านี้เริ่มเข้ามาในตอนที่ทหารเริ่มอ่อนกำลังลง เป็นเวลาเกือบ 4 ปีที่คนไทยต่างเฝ้ารอการเลือกตั้ง และพรรคการเมืองยังคงมีคุณภาพในการเล่มเกมเก้าอี้ดนตรีที่ใช้เวลายาวนาน

ในหมู่พรรคการเมืองใหม่ จะมีพรรคการเมืองเพียงสองพรรคในการฉายให้เห็นถึงความหวัง พรรคอนาคตใหม่ และพรรคสามัญชน ทั้งคู่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญที่บิดเบี้ยว แต่เมื่อรวมกัน พวกเขาต่างจะเห็นให้ถึงความสมบูรณ์แม้ว่าจะขัดแย้งกันก็ตาม ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งจำเป็นเป็นอย่างยิ่งในพรรคการเมืองไทย

อนาคตใหม่---อนาคตของใคร?

พรรคอนาคตใหม่ ถูกนำโดยกลุ่มชนชั้นกลางระดับกลาง และชนชั้นกลางในเมือง, นักวิชาการ, และนักกิจกรรม ที่เคยเล่นบทบาทเป็นผู้วิจารณ์หลักจากชายขอบ แต่ตอนนี้กลับเป็นผู้เบื่อหน่ายในประชาธิปไตยระดับที่สอง (second-hand democracy) Thanathorn Juangroongraungkit ซึ่งเป็นลูกชายของกลุ่ม Thai Summit ที่เป็นบริษัทด้านเครื่องยนต์ที่ใหญ่ที่สุด ตอนนี้เป็นหัวหน้าพรรค และเป็นคนที่ถูกติดตามมากที่สุดในโชเชี่ยล มีเดย พรรคอนาคตใหม่นำเสนอตนเองให้เป็นพรรคที่สาม (third force) หรือการแก้ไขจากการที่มีเพียงสองพรรค

Thanathorn เป็นสิ่งที่น่าจับตา นอกเหนือจากความร่ำรวยแล้ว เขายังมีการกระตือรือร้นในกลุ่มก้าวหน้ามาแสนนาน (Thai progressive circles) และเป็นที่รู้กันมาว่าเขาเป็นคนหัวเอียงซ้าย  การวิเคราะห์ทางการเมืองของเขาเกิดขึ้นในช่วงการทำกิจกรรมในฐานะรองประธานที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเลขาธิการของสมาพันธ์นักศึกษา ภาพที่เห็นเป็นประจำในโชเชี่ยล มีเดีย คือภาพเขาประจันหน้ากับตำรวจ และอยู่ในหมู่สมาพันธ์คนยากจน ภาพนี้เป็นภาพที่ได้รับความเชื่อถือ ในหลายๆด้าน เขานำเสนอว่าเป็นสิ่งที่ปรับปรุงความขัดแย้งในการเมืองไทยร่วมสมัย

พรรคอนาคตใหม่ได้รับการจัดสรรว่าเป็นสิ่งที่โปรโมตประชาธิปไตยเสียยิ่งกว่าพรรคของทักษิณ ซึ่งกรณีนี้ก็คือมีการรวมสหภาพแรงงานอิสระรวมอยู่ด้วย  เขาได้รับความช่วยเหลือจากนักวิชาการเชิงก้าวหน้าหลายๆคน  รวมทั้งนักกิจกรรมฝ่ายซ้ายบางคน เช่น Piyabutr Saengkanokkul---สมาชิกทีกระตือรือร้นจาก Netirat กลุ่มนี้เป็นกลุ่มของนักวิชาการทางกฎหมายที่มีการวิพากษ์ทางการเมือง และ Sustarum Thammaboosadee ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนแนวคิดรัฐสวัสดิการ  ทั้งคู่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ  และเป็นอาจารย์วัยหนุ่มแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  Thanathorn และทีมของเขาได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี แม้กระทั่งสื่อกระแสหลัก

แต่พรรคอนาคตใหม่อาจเป็นเพียงชนชั้นในเมือง รวมทั้งกรรมกรที่รับการจัดตั้ง และถือว่าเป็นซ้าย ซึ่งต้องพบกับปีศาจร้ายสองตน นั่นคือ ความเป็นตัวแทนแบบเป็นลาง เมื่อนักวิชาการที่ไปอยู่ต่างประเทศ  Giles Ungpakorn commentsยังกล่าวว่า พรรคอนาคตใหม่มีแนวโน้มที่จะเป็นพรรคชนชั้นกลางที่สนับสนุนประชาธิปไตยอยู่ก็ได้ พรรคจะให้คุณค่าแก่ตลาดเสรี และผลประโยชน์ทางธุรกิจ ในขณะที่จะกล่าวอ้างว่าสนับสนุนพวกคนจนที่มีความเป็นนามธรรมสูง ผู้นำของพรรค เป็นมหานักธุรกิจ Thanathorn Juangroongruangkit เคยกล่าวไว้ว่า จะปกป้องเศรษฐกิจแบบทุนนิยม โดยเห็นแก่ผลประโยชน์ของเสียงส่วนใหญ่ ในอดีต เขาเคยเน้นว่าธุรกิจต้องทำผลประโยชน์มากกว่าการปรับปรุงผลประโยชน์ของกรรมกร

พรรคอนาคตใหม่อาจให้ทางออกจากเผด็จการทหาร อย่างไรก็ตาม มันยากที่จะจินตนาการถึงนโยบายที่สอดคล้องต้องกัน เพราะมันสนับสนุนทั้งการไม่แทรกแซงของรัฐบาลในเรื่องเศรษฐศาสตร์ และสนับสนุนพวกกรรมกรไปพร้อมๆกัน นี่ยังไม่ได้พูดถึงการแบ่งปันอำนาจไปที่ชนชั้นกรรมกร ในฐานะที่เคยเป็นอาจารย์ที่ธรรมศาสตร์ ฉันมีโอกาสร่วมงานกับนักวิชาการสองคนที่สนับสนุน Thanathorn ในการขับเคลื่อนพรรคอนาคตใหม่ อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่เป็นผู้สนับสนุนกรรมกร ฉันยังตั้งข้อสงสัยกับความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ทางชนชั้นของพรรค และการสนับสนุนกรรมกรไปพร้อมๆกัน

พรรคสามัญชน

ในทัศนะของฉัน การเกิดขึ้นของพรรคสามัญชนเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น รุนแรงมากกว่าชื่อของมันเอง

ในทิศทางตรงกันข้ามกับพรรคอนาคตใหม่ ที่เป็นชนชั้นสูง รูปแบบการคิดเป็นระบบ พรรคสามัญชนยังรวมกรรมกรไว้บริหารด้วย  ถึงแม้ว่าผู้ก่อตั้งจะมีภูมิหลังเป็นพวกชนชั้นกลางในเมือง  แต่อัตลักษณ์ของพรรคได้รับการปรุงแต่ง โดยการแบ่งปันกับคนจนี่ขาดพลังทางการเมือง และคนที่ได้รับผลกระทบในเชิงทำลายสำหรับคนที่ได้รับการพัฒนาที่ไม่เท่ากันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ---ภาคนี้เป็นแหล่งก่อกำเนิดของนักกิจกรรมหลายคน

การต่อต้านช่วงชั้นทางการเมืองที่เป็นเรื่องปกติในสังคมไทย พรรคสามัญชนมีลักษณะเหมือนกับจากล่างไปสู่ข้างบน  และสร้างการเมืองจากชนชั้นราก---เป็นอุดมคติที่วิเศษ ที่ฉันสนับสนุนสุดลิ่มทิ่มประตู แตกต่างจากพรรคอนาคตใหม่ ที่อาศัยอาณาบารมีของผู้นำ และนักวิชาการ หรือคนที่ความคิดที่ครอบคลุมทุกสิ่ง พรรคสามัญชน เกิดมาจากการสร้างพื้นที่ (platform) กับเสียงของชาวบ้าน, การเมืองแบบรัฐสภาที่มีอยู่ก็เหมือนไม่มีอยู่ และเป็นผู้ไร้เสียง พรรคโดยตัวของตัวเองเกิดขึ้นมาจากขบวนการรากหญ้า (grassroots movement) ที่ประกอบไปด้วยนักกิจกรรมทางการเมือง และพวก NGO ที่มีแนวคิดไปทางขวาด้วย

ถึงแม้ว่าจะได้รับการตรวจตราจากรัฐ (state surveillance) และการห้ามเรื่องการโฆษณาหาเสียง นักกิจกรรมพรรคสามัญชนยังได้สร้างเวที (forum) ไปทั่วประเทศ เพื่อนำเสนอพื้นที่ (platform) สำหรับชาวบ้านในการส่งเสียงในเรื่องต่างๆ เช่น สิทธิชุมชน (communal rights) และ ความยุติธรรมทางสภาพแวดล้อม (environmental justice) ในช่วงต้นปี พรรคนี้ได้รวบรวมกลุ่มผู้ประท้วง โดยการเดินประมาณ 450 กิโลเมตร เพื่อสนับสนุนสิ่งที่จำเป็น แต่ถูกละทิ้งในเรื่องความปลอดภัยทางอาหาร (food security) และการที่ชุมนสามารถควบคุมถึงการแจกจ่ายของทรัพยากรธรรมชาติ  แต่ที่สำคัญที่สุด มันเป็นครั้งแรก ตั้งแต่การกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ของการตื่นตัวของนักศึกษาในยุค 1970 ซึ่งพรรคการเมืองของไทยเคยอภิปรายถึงนโยบายที่เป็นประชาธิปไตยเชิงสังคมมาแล้ว  หลังจากที่ได้รู้ผู้ก่อตั้งพรรคสามัญชน  และนักกิจกรรมด้วยตัวฉันเอง  ฉันปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือการเปลี่ยนถ่ายจากขบวนการทางสังคมไปจนถึงพรรคการเมืองที่เบ่งบานอย่างเต็มที่ ซึ่งมีข้อขัดแย้งอยู่ในตนเอง นั่นคือ สิ่งที่ปรากฏอยู่ในใจเป็นฉลากของพวกอนาธิปไตยนิยม (anarchist) ที่ได้ก่อตั้งพรรคเมื่อการประชุมกันในครั้งแรกตอนปลายตุลาคม ปี 2018  ตามที่ผู้นำที่ได้รับการเลือกตั้ง LertSak Kampongsuk กล่าวว่า นักกิจกรรมได้รับแรงบันดาลใจจากหลายแหล่ง  เช่น พรรคกรีนแบบตะวันตก (Western-style green parties), สังคมนิยมเชิงนิเวศ (eco-socialism), นักอนาธิปไตย (Anarchism), พรรคโจรสลัดตะวันตก (Western Pirate Parties), และกลุ่ม Zapatista พื้นบ้าน (indigenous Zapatista group---กลุ่มนี้ต่อสู้ด้วยการไม่ใช้ความรุนแรง) ความคิดในการสร้างพรรคเกิดจากความตั้งใจของผู้ก่อตั้งร่วม และเลขานุการของพรรคชื่อ Kittichai Ngamchaipisit---นักกิจกรรมความสันติเพื่อทหารผ่านศึก และนักวางยุทธศาสตร์ ที่ได้แรงดลใจจากปรัชญาของคานธี เรื่องการไม่ความรุนแรง และวิถีแบบ Zapatista เรื่องประชาธิปไตยแบบทางตรง

หลังจากที่มีการประชุมเป็นครั้งแรกของพรรค พรรคก็ได้พบกับความจริง นั่นคือมันยากที่จะทำให้ถูกกฎหมาย ในการหาทุนตั้งต้นจำนวน 1 ล้าน และต้องหาสมาชิกถึง 500 คน ถึงแม้ว่าในที่สุดพรรคจะแก้ปัญหา แต่พรรคก็ได้รสชาติของการลงเลือกตั้งเป็นครั้งแรก

ถึงแม้ว่านักกิจกรรมของพรรคจะใหม่ต่อการเลือกตั้ง  แต่พวกเขาก็ไม่ใช่การเมืองบนถนน (street politics) และการสร้างขบวนการรากหญ้าอีกต่อไป (grassroots movements) Lertsak มีประสบการณ์ในการจัดการกับชุมชนที่เกี่ยวกับเหมืองแร่และโครงการเขื่อนเป็นเวลายาวนาน ความเชื่อที่ส่งผ่านตัวเขาคือข้อทดสอบต่อประเด็นที่สำคัญต่อนโยบายตามรัฐธรรมนูญ เช่น ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม, การขูดรีดทางเศรษฐกิจ, การทำลายสภาพแวดล้อม, และการทำให้คนยากจนในชนบทเป็นเพียงชายขอบทางการเมืองของกระบวนการทางการเมือง ในแง่นี้ พรรคสามัญชนเป็นความหวังแด่ชนชั้นผู้ด้อยโอกาสทางสังคมตามภูมิภาคและเป็นชนกลุ่มน้อย ที่ถูกกดทับด้วยการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกันในหลายทศวรรษ

แน่นอนว่า สิ่งนี้เป็นประเด็นสำคัญ และได้รับการเชื่อถือในหมู่พวกเสื้อแดง แต่ด้วยสงครามตัวแทนของพวกชนชั้นสูง สิ่งนี้ไม่เคยแม้แต่ได้รับการยกหรือพูดถึงในวงกว้าง แต่ถูกพูดถึงในการเมืองเชิงประชานิยม

อนาคตของพรรคสามัญชน

ถึงแม้ว่าจะตื่นเต้น และมองในแง่ดีอย่างไรก็ตาม แต่หากมองในแง่ความจริง พรรคอนาคตใหม่ และพรรคสามัญชนเป็น และกำลังจะเป็นพรรคขนาดเล็กในการเมืองไทย  ความจริงที่ว่าคือการทำให้ทั้งพรรคทำงานร่วมกันเป็นสิ่งที่ยาก อย่างไรก็ตาม ตามความเห็นของ Kittichai ความแตกต่างที่ถ่ายโอนกันไม่ได้จะเป็นตัวกีดกันระหว่างการรวมแนวคิดของทั้งสองขึ้น

แต่ฉันมีความคิดรวบกับพวกฝ่ายซ้ายว่าทั้งสองพรรคมีแนวคิดเอื้อเฟื้อต่อกัน  เมื่อพรรคสามัญชนมุ่งไปที่ผลประโยชน์และชีวิตของคนยากจน ซึ่งนั่งอย่างกระวนกระวายกับที่ทางของผู้สนับสนุนพรรคอนาคตใหม่

หากจุดมุ่งหมายที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญเหมือนๆกัน (target constituencies) อย่างน้อยสิ่งที่พรรคทั้งทำได้ก็คืออย่าไปตัดแข้งตัดขาผู้สมัครคนอื่นๆ พวกเขาต้องมั่นใจประการหนึ่งว่าพื้นที่ (platform) จะไม่แข่งกัน หรือทำลายคู่แข่งให้มลายไป  นอกเหนือจากมีอารมณ์ต่อต้านทหารที่เข้ามายึดอำนาจด้วยแล้ว ก็ยังมีอีกหลายเรื่องในการอภิปรายถกเถียงซึ่งกันและกัน เช่น การลดขนาดโซนเศรษฐกิจแบบพิเศษ (Special Economic Zone), การทำให้ระบบสาธารณสุขเข้มแข็งขึ้น, การพัฒนาแนวคิดเรื่องรัฐสวัสดิการ โดยการผ่านการเก็บภาษีก้าวหน้า (progressive taxation), การปฏิรูปที่ดิน (land reforms), และการขึ้นค่าแรง (living wage) เป็นต้น.

ทั้งสองพรรคมีข้อดีด้วยกันทั้งคู่ ซึ่งอาจเป็นคู่ขัดแย้งกัน และบางครั้งก็ร่วมมือกัน พรรคหนึ่งต้องการการเปลี่ยนแปลงจากข้างบน แต่อีกพรรคหนึ่งจากเบื้องล่าง ในขณะที่พรรคอนาคตใหม่มีทั้งการเงินและทุนทางสังคม รวมทั้งนักวิชาการที่มีความรอบรู้ แต่พรรคสามัญชนจะมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งต่อคนที่ได้รับการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกัน และการจัดการกับมวลชนที่ลงคะแนนเสียงพวกนั้น

แปลและเรียบเรียงจาก

Kriangsak Teerakowitkajorn  Thailand’s new left-wing political parties: rival or allies?

http://www.newmandala.org/thailands-new-left-wing-political-parties-rivals-or-allies/?fbclid=IwAR3QzQb9LGJ26m6eZ9eF-Oyx5foFFXrDePTsu62Fn4kPis5kwGKDFywm46U

หมายเลขบันทึก: 658690เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2018 18:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2018 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท