ชีวิตที่พอเพียง 3308. นิวยอร์ก ๒๕๖๑ : ๔. การประชุมวันที่ ๓ : PMAC 2020 : Accellerating progress towards UHC : Lifecourse approach and innovations



๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๑

วันนี้พยากรณ์อากาศว่าฝนอาจตก   แล้วก็ตกจริงๆ ตอน ๑๑ น. ท้องฟ้าปิด    ฝนตกเกือบตลอดวัน

การประชุมจับเรื่อง การเตรียมจัด PMAC 2020 ทั้งวัน     

ช่วงเช้าเป็น Group Work แบ่งเป็น ๓ กลุ่มตาม Subtheme   ผมถูกจัดให้อยู่กลุ่ม ๑ PHC เพื่อการบรรลุ UHC   ซึ่งมีคนไทยในกลุ่มถึง ๔ คน    สมาชิกที่ไม่ใช่ไทยเพียง ๓ คน    เราช่วยกันเปลี่ยนโทนของ Subtheme 1   ให้เน้นที่การลงมือทำ (implementation / action)    ไม่หลงประชุมกันเรื่องหลักการ    เมื่อตกลงจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์ได้ การประชุมก็ตกลงกันง่าย    ไม่ถึงสองชั่วโมงการประชุมก็เสร็จ    ทั้งๆ ที่เรามีเวลาสามชั่วโมง    แปลกมากที่ผลการประชุมออกมาตรงกับที่ผม reflect ในคืนวันที่ ๑๐ ตุลาคม และเขียนไว้ในบันทึกที่แล้ว    

ผมได้เรียนรู้ว่า คำว่า lifecourse มีความหมายมากกว่า ตลอดช่วงอายุ    แต่มีความหมายรวม “ทุกสภาพชีวิต ที่อาจลุ่มๆ ดอนๆ ในต่างช่วงอายุ”  

เมื่อถึงช่วงนำเสนอผลการประชุมกลุ่ม   ก็พบว่า กลุ่ม ๑ กับกลุ่ม ๓ มีส่วนที่ซ้อนทับกัน    และกลุ่ม ๒ ยังขาดรายละเอียดที่ต้องการ   จึงต้องกลับไปทำงานกลุ่มใหม่   โดยกลุ่ม ๑ กับ ๓ ทำงานร่วมกัน    และประธาน (นพ. สุวิทย์) เข้าร่วมประชุมกับกลุ่ม ๑ และ ๓ ด้วย    พอเริ่มประชุม นพ. สุวิทย์ก็โจมตีกลุ่ม ๑ ทันที ว่าเปลี่ยนชื่อ Subtheme เป็นชื่อที่กว้างเกินไป   ใช้เวลาทำความเข้าใจกันนานจึงได้ชื่อใหม่    และปรับรายละเอียดของ Subtheme 1  และ Subtheme 3 ใหม่             

ในที่สุด เมื่อนำเสนอผลการประชุมกลุ่มอีกครั้งหนึ่ง    ก็ได้ร่างชื่อของแต่ละ subtheme  ชื่อ PL, ชื่อ PS, ชื่อ Lead coordinator, Co-lead coordinator, และ Coordinator

ชื่อของ Subtheme มีดังนี้

  • Subtheme 1 : Implementation challenges and innovative solutions for UHC 2030
  • Subtheme 2 :  Investing in UHC for nation building
  • Subtheme 3 : How to overcome challenges to achieve UHC by 2030

จะเห็นว่า ชื่อและสาระของการประชุมจะเน้นการตอบคำถาม how   และจะมีการนำตัวอย่างมาเสนอในที่ประชุม   และในทุก subtheme จะมีประเด็น political economy แทรกอยู่ข้างใน    ในภาษาไทย เราใช้คำว่า เศรษฐศาสตร์การเมือง

ผมแปลกใจที่มีการถกเถียงกันว่า ความหมายของ UHC ครอบคลุมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคหรือไม่   จนผู้แทนจากองค์การอนามัยโลกต้องอ่านนิยาม UHC ของ WHO (1)   ก็เป็นอันตกลงตามนั้น คือครอบคลุมทุกด้านของกิจกรรมเพื่อสุขภาพ   

แต่ละ subtheme มีชื่อ PL, PS และ Session Coordinator    มีการบ้านให้ไปเขียนเนื้อหาโดยสรุปของแต่ละ session    เพื่อให้ session coordinator ไปดำเนินการต่อ    ขั้นตอนต่อไปคือประชุมเตรียมการณ์ต่อในเดือนเมษายน ที่โตเกียว

การประชุมจบวันนี้    พรุ่งนี้ว่าง

วิจารณ์ พานิช

๑๑ ต.ค. ๖๑

ห้อง ๕๐๑   โรงแรม Hampton Inn, Pearl Street, NY, NY  

 



1 การประชุมร่วมกลุ่ม ๑ และ ๓

หมายเลขบันทึก: 658093เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2018 19:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2018 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

UHC by 2030 (in 12 years time) sounds ambitious. Even to explain to people what UHC means and does for them. (We are still investigating an ER at Rama 2 hospital.)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท