การเมืองเรื่องไม่จริง


ผมอยากเห็นระบบการเมืองไทยเป็นระบบที่ evidence-based และมีการเรียนรู้ของประชาชนเจ้าของอำนาจ (ประชาธิปไตย) โดยไม่มีการยึดอำนาจไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ ดังที่เป็นอยู่ในประเทศอินเดีย และมาเลเซีย มีภาควิชาการทำหน้าที่สร้าง evidence ออกสื่อสารสาธารณะอย่างเป็นกลางและตรงไปตรงมา เพื่อให้ประชาชนใช้อำนาจเลือกตั้ง และอำนาจแสดงความต้องการในด้านต่างๆ อย่างมีข้อมูลหลักฐาน ไม่ใช่เลือกตั้งโดยฟังเฉพาะการหาเสียงของนักการเมืองเท่านั้น

ฟังสถานีวิทยุจุฬา ๑๐๑.๕ เอฟเอ็ม   รายการ การเมืองเรื่องน่ารู้ () โดย รศ. ดร. ตระกูล มีชัย  ระหว่างเดินออกกำลัง เมื่อเช้าวันเสาร์ที่ ๒ พฤศจิกายน คือวันนี้ แล้วผมอดไม่ได้ที่จะเขียนบันทึกนี้    

 ผมติดใจที่ ดร. ตระกูลอ่านคำประกาศเหตุผลของการปฏิวัติครั้งแล้วครั้งเล่า     ที่ฟังแล้วสำหรับผม ชัดเจนมากว่าเป็นคำเท็จ   เป็นคำเท็จทางการเมืองที่ปั้นกันขึ้นมาครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อแสดงความชอบธรรมในการยึดอำนาจการปกครองบ้านเมืองโดยทหาร     

คำแถลงการณ์เหล่านั้นไม่ใช่คำเท็จทั้งหมด    มีส่วนจริงอยู่บ้าง    แต่มีการแต่งเติม (ตีไข่ใส่สี) ให้เป็นว่าสถานการณ์เลวร้าย จนทหารต้องเข้ายึดอำนาจเพื่อความปลอดภัยของประเทศ    

ผมอยากเห็นการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เป็นเรื่องของการตัดสินใจของประชาชน อย่างมีข้อมูลหลักฐานรองรับ (evidence-based)     โดยที่นักวิชาการฝ่ายต่างๆ ทำหน้าที่วิจัยสภาพบ้านเมือง    และรายงานให้สาธารณชนทราบว่า ภายใต้การปกครองของนักการเมืองกลุ่มนั้นหรือพรรคนั้น    กำลังนำพาสังคมไปสู่ทิศทางใด    ในสภาพที่ซับซ้อนมองได้หลายแง่หลายมุม    และพรรคนั้นตอนที่ครองอำนาจในอดีตได้สร้างรากฐานความเข้มแข็งให้แก่บ้านเมืองอย่างไรบ้าง    บริหารผิดพลาดในเรื่องใดบ้าง    ไม่ได้ทำสิ่งสำคัญอะไรบ้าง   

ผมอยากเห็นระบบการเมืองไทยเป็นระบบที่ evidence-based   และมีการเรียนรู้ของประชาชนเจ้าของอำนาจ (ประชาธิปไตย)   โดยไม่มีการยึดอำนาจไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ     ดังที่เป็นอยู่ในประเทศอินเดีย และมาเลเซีย   มีภาควิชาการทำหน้าที่สร้าง evidence  ออกสื่อสารสาธารณะอย่างเป็นกลางและตรงไปตรงมา    เพื่อให้ประชาชนใช้อำนาจเลือกตั้ง  และอำนาจแสดงความต้องการในด้านต่างๆ    อย่างมีข้อมูลหลักฐาน   ไม่ใช่เลือกตั้งโดยฟังเฉพาะการหาเสียงของนักการเมืองเท่านั้น    

วิจารณ์ พานิช           

๓ พ.ย. ๖๑

หมายเลขบันทึก: 657117เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2018 16:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2018 16:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Thailand had not held ‘science’ and ‘societal development’ in high esteem. Not among politicians, not among academics, not among the people - rich and poor.

Recent US political change highlights (not again) ‘evidence-based’ issues. Fabricated evidence is used to rouse up ‘emotional’ trends and emotion-based politics.

Thailand’c coming election will be fought on (not ever) ‘evidence-based’ issues but emotion-based issues. Such is our ‘tradition’ (in democracy and administration).

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท