การเฝ้าระวังการพลัดตก/หกล้มในหอผู้ป่วยจิตเวช (3)


           การหกล้มเป็นปัญหาที่พบได้ในหอผู้ป่วยจิตเวชแต่ไม่เกินกำลังบุคลากรในการหาทางป้องกัน ข้าพเจ้าเคยเขียนเรื่องนี้ไว้ในโกทูโนว์แล้ว 2 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3

ที่มาและความสำคัญ

          ในผู้ป่วยจิตเวชมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งเสริมให้เกิดอุบัติเหตุจากการหกล้มเช่นปัจจัยจากตัวผู้ป่วย วัยสูงอายุ ผู้ป่วยได้รับยาทางจิตเวช ภาวะสับสนจากการขาดสุรา ผลจากการรักษาด้วยไฟฟ้าและที่ผ่านมาพบผู้ป่วยหกล้มในผู้ป่วยจิตเวช เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการที่ดี จึงได้จัดทำโครงการพัฒนางานการเฝ้าระวังการพลัดตก/หกล้มในหอผู้ป่วยจิตเวชขึ้น

วัตถุประสงค์/ เป้าหมาย

          เพื่อความปลอดภัย ป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลศรีนครินทร์

กระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงาน

            1. สำรวจอุบัติการณ์จากการหกล้มของผู้ป่วยจิตเวช

            2. ตั้งทีมพัฒนาโครงการ ประชุมวิเคราะห์ ระดมสมองหาสาเหตุที่ทำให้เกิดการหกล้ม

            3. หาแนวทางป้องกันร่วมกันโดย 1) จัดทำคู่มือแนวทางการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุหกล้มของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยจิตเวช 2) นำแบบระเมินความเสี่ยง Morse fall scale มาใช้ 3) เปลี่ยนพรมเช็ดเท้าชนิดไม่ลื่น 4) มีป้ายเตือนระวังหกล้ม มีการติดตั้ง Nurse Call ในห้องน้ำ 5) จัดเก้าอี้ขาสูง เพื่อสังเกตผู้ป่วย 6) จัดทำกางเกงขาสามส่วน 7.ยึดตรึงเมื่อผู้ป่วยนั่งรถเข็น 8) นำแบบประเมินMorse fall scale มาใช้

            4. ปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติเพื่อเฝ้าระวัง การพลัดตกหกล้มเพิ่มเติมและนำแบบประเมิน

Edmonson Psychiatric Fall Risk Assessment ซึ่งเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยจิตเวชมาใช้ ได้แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติม ดังนี้ 1) สังเกตผู้ป่วยใกล้ชิด 2) เดินเยี่ยมผู้ป่วยทุก 1 ชั่วโมง 3) ลดระยะเวลารับส่งเวรลง หลังส่งเวรให้เวรเดิมอยู่ดูแลจน pre- conference เสร็จ 4) ปิดห้องทีวีตามเวลา พบอัตราหกล้ม ปีพ.ศ. 2558-พ.ศ. 2560 ลดลง

             5. วิเคราะห์การหกล้มย้อนหลัง 10 ปี พบว่าผู้ป่วยที่หกล้มส่วนใหญ่ ล้มในห้องผู้ป่วย และล้มใน 1-2 วันแรกมากที่สุด นอกจากนี้ผู้ป่วย Alcohol Dependence หกล้มมากที่สุด นำผลการศึกษา มาแจ้งที่ประชุม ระดมสมองหาแนวทางเพิ่มเติมได้ดังนี้ 1)มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ 1คน/ทีม เฝ้าระวังผู้ป่วยให้อยู่ในสายตาตลอด 2) ให้ผู้ป่วยทุกคนสวมรองเท้าที่มีดอกยาง 3) ใน case ที่ตัดสินใจไม่ดีจัดเข้าเป็นผู้ป่วยเสี่ยงสูง 4) ลดความเร่งรีบขณะลงเตียง 6) งดการเก็บถาดอาหารเอง 7) ในผู้ป่วย Alcohol Dependence ทุกคน จัดให้อยู่เตียงที่มองเห็นง่าย 8) หลังส่งเวรให้เวรเดิมอยู่ดูแลจนกว่าเวรใหม่จะ pre- conference เสร็จ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

          1. อัตราการหกล้ม = 0.0 %

               2. ได้แนวทางการป้องกันการพลัดตกหกล้มในหอผู้ป่วยจิตเวช

                        2.1 ประเมินความเสี่ยงแรกรับทุกรายและประเมินซ้ำทุกเวร

                        2. 2 นำประเด็นความเสี่ยงมา pre-conference ทุกเวร

                        2.3 จัดทำคู่มือแนวทางการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการหกล้มของผู้ป่วยจิตเวช

                         2.4 กำกับติดตามให้มีการปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการพลัดตกหกล้มทุกเวร จุดเน้นคือ 1) การประเมินต่อเนื่องและการดูแล 1:1 ในกลุ่มเสี่ยงสูง 2) การลดปัจจัยเสี่ยงหกล้มในผู้ป่วย โดยให้ผู้ป่วยสวมกางเกงขาสามส่วน สวมรองเท้าที่มีดอกยาง ลดความความเร่งรีบ ระวังเสียการทรงตัว แนะนำการใช้ Nurse Call (ที่หอผู้ป่วยใช้แบบตุ๊กตาบีบเรียกพยาบาล)

             3) จัด Zone ผู้ป่วยเสี่ยงสูงเช่น ผู้ป่วย Alcohol Dependence ให้มองเห็นง่าย 4) ดูแลสิ่งแวดล้อม พื้นแห้ง 5) เดินเยี่ยมตรวจทุกชั่วโมง 6) หลังส่งเวรให้เวรเดิมอยู่ดูแลจน pre- conference เสร็จ

    สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกระบวนการ

                     ผลลัพธ์บรรลุตามวัตถุประสงค์ สิ่งที่ทำได้ดีคือ มีการนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง มีการวางระบบให้เกิดการปฏิบัติตามแนวทาง การหาความรู้เพิ่มเติม ส่วนสิ่งที่ควรปรับปรุง พัฒนาเพิ่มเติม คือ การพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงหกล้มเฉพาะโรค เพื่อให้เฉพาะเจาะจงและมีความไวมากขึ้น

    สรุปสิ่งที่เรียนรู้ในครั้งนี้

                     การพัฒนางานต้องเกาะติดปัญหา วางระบบให้เกิดการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย

    ปัจจัยความสำเร็จ

                      ความต่อเนื่องของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและการทำงานเป็นทีม

    สรุปองค์ความรู้ในประเด็นนี้

                      แนวทางการป้องกันการพลัดตกหกล้มในหอผู้ป่วยจิตเวช คือ การประเมิน การใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้มที่เฉพาะเจาะจง การสื่อสารความเสี่ยงทุกเวร และการดูแลเช่นการลดปัจจัยเสี่ยงหกล้ม การมอบหมายรายบุคคลให้ชัดเจนในการเฝ้าระวังและ การจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

    หมายเลขบันทึก: 656370เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2018 05:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ตุลาคม 2018 05:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (1)

    ขอบคุณค่ะอาจารย์บุษยมาศ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท