ปุจฉา-วิสัจฉนา "ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน"


ปรัชญาที่ว่า "ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน" นั้น อาจตีความได้หลายแง่มุมโดยพิสดาร เช่น

(ก.) "ผู้มีปัญญา" จะต้อง "เป็นอยู่เพื่อมหาชน" ... หากไม่เป็นอยู่เพื่อมหาชน แสดงว่าเป็นผู้ไม่มีปัญญา  
(ข.) "ผู้มีปัญญา" ควรจะ "เป็นอยู่เพื่อมหาชน" ... ผู้มีปัญญาบางคนไม่ต้องเป็นอยู่เพื่อมหาชนก็ได้ ผู้ที่บรรลุสู่การเป็นผู้มีปัญญา มีสิทธิเลือกอย่างเสรีว่าจะเป็นอยู่เพื่อมหาชนหรือไม่
(ค.) "ผู้มีปัญญา" จะ "เป็นอยู่เพื่อมหาชน" ... ผู้มีปัญญาจะเป็นอยู่เพื่อมหาชนโดยธรรมชาติ โดยอัตโนมัติ เพราะการบรรลุสู่การเป็นผู้มีปัญญา จะนำมาซึ่งคุณลักษณะของจิตใจที่เป็นไปเพื่อมหาชน
(ง.) ถูกทั้ง ก. ข. และ ค.
(จ.) งง

นิสิตหรืออาจารย์ที่อ่านถึงตรงนี้ คิดว่าข้อใดถูกต้องที่สุดครับ?????

ผมขอเฉลย ดังนี้

คำตอบจะขึ้นอยู่กับนิยามความหมายของคำว่า "ปัญญา" ที่เราเข้าใจ  ท่านเข้าใจว่า "ปัญญา" มีความหมายตามข้อใดต่อไปนี้ 
  • หากเข้าใจว่า "ปัญญา" คือ ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ทางโลก ... หากท่านเข้าใจแบบนี้  ท่านคงตอบข้อ ก. หรือไม่ก็ ข.  ส่วนจะเป็นข้อใดนั้น เถียงกันไปก็ประเทืองปัญญาทางโลกดี
  • หากเข้าใจว่า "ปัญญา" คือ ความรู้แจ้งความจริงของธรรมชาติ ความจริงของโลกทั้งหมด ทั้ง"โลกภายนอก" และ "โลกภายใน" คือกาย (รูปธรรม) และใจ(นามธรรม) ของตนเอง (คือ รู้แจ้งอริยสัจ) หรือที่เรียกว่า "ปัญญาทางธรรม" ตามคำสอนในพระพุทธศาสนา ... ท่านอาจจะตอบ ข้อ ข. หรือ ข้อ ค. ก็เป็นได้  ส่วนจะตอบข้อใด อาจเป็นได้ดังนี้ 
    • การเข้าถึง "ปัญญาทางธรรม" เข้าถึงความไม่มีตัวไม่มีตน จะนำไปสู่ความเมตตา เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน โดยอัตโนมัติ 
    • ผู้ที่ ตอบ ข. ท่านคือ พุทธสาวก หรือ พระปัจเจกพุทธเจ้า 
    • ผู้ที่ ตอบ ค. ท่านคือผู้ที่มีจิตใจแบบ พระโพธิสัตว์ ปรารถนาพุทธภูมิ 
  • เชื่อว่า อ่านมาถึงตรงนี้ หลายท่าน อาจจะตอบ ข้อ จ. .... งง.... ฮา 

อธิบายให้หายงง (ดูผัง)

    • คำว่า "ปัญญา" ในความหมายของคนส่วนใหญ่ในโลก จะเน้นไปที่ การศึกษาให้เกิดปัญญาเกี่ยวกับโลกแห่งกายภาพ องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้ง ๖ ประการ (ภาพด้านบน) ล้วนแต่เป็นปัญญาทางโลกนี้ทั้งนั้น 
    • ปัญญาทางโลก เกิดจากการ ฟัง-อ่าน คิดเป็นเหตุเป็นผล-คิดวิเคราะห์ และการลงมือปฏิบัติทดลองตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  มีลักษณะสำคัญคือ 
      • พิสูจน์ได้ อธิบายได้ มีเหตุผล 
      • พิสูจน์ซ้ำได้ 
      • นำไปประยุกต์ใช้ อธิบาย สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้ เช่น เทคโนโลยีต่างๆ
      • ขั้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ มากมาย เครื่องมือ สิ่งแวดล้อม ชุมชน บุคคล กาลเวลา   
      • ไม่มีที่สิ้นสุด ยิ่งสืบค้นยิ่งพบ ยิ่งคิดยิ่งมีเรื่องที่ต้องคิด สิ่งค้นยิ่งมีเรื่องสงสัยมากขึ้น ... ดูผังภาพด้านล่าง 
        • หัวลูกศรชี้ออกจากความจริง เรียนไปผิดทาง รู้ไปผิดทาง 
        • หัวลูกศรชี้ออก ยิ่งเรียนสูง วงยิ่งใหญ่ขึ้น หมายถึงยิ่งรู้มากขึ้น 
        • ยิ่งรู้มากขึ้น อัตตา ตัวตนยิ่งมากขึ้น ยิ่งหากไกลความจริงของกายใจออกไปเรื่อยๆ
        • ยิ่งคิด ยิ่งถูกกระตุ้นให้ฟุ้งซ่านออกไปไกลขึ้น หากเปรียบกับสถานะพลังงานของสสาร ยิ่งคิดยิ่งอยู่ในสถานะกระตุ้น (Excited State) มากขึ้นๆ  

    • คำว่า "ปัญญา" ในพระพุทธศาสนา เน้นไปที่ การศึกษาให้เกิดปัญญาเกี่ยวกับ กายและจิตใจ ของตนเอง เพื่อจะได้เห็นจริงว่า จริงๆ แล้ว 
      • เห็นแจ้งว่า กายใจไม่ใช่ตัวตน  (บรรลุเป็นพระโสดาบัน -> พระสกิทาคามี) 
      • รู้ทุกข์แห่งการยึดกาย -> ละวางกาย ไม่ยึดกาย พ้นจากกาม (พระอนาคามี)
      • รู้ทุกข์แห่งการยึดจิต -> ละวางจิต ไม่ยึดจิต พ้นจากทุกข์ (พระอรหันต์)
    • ปัญญาทางธรรม เกิดจาก การ "รู้" เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของตนเองด้วยการ เจริญสติ ภาวนา "มีสติ รู้กาย รู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยใจที่ตั้งมั่น และเป็นกลาง" (ตามแนวการสอนของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช) มีลักษณะสำคัญคือ 
      • มีจุดสิ้นสุด จบงานเมื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์
      • ยิ่งคิด ยิ่งไม่รู้ แต่ต้องอาศัยดูการคิด 
      • รู้เห็นได้ด้วยตนเองผู้ศึกษาเท่านั้น (รู้เฉพาะตน)
      • รู้ได้เห็นได้ด้วยตนเองทุกคนที่ลงมือศึกษา (รู้ได้ด้วยตนเอง)
      • รู้ได้ไม่จำกัดกาล
    ท่านยิ่ง "งง" กว่าเดิมไหมครับ ...ฮา 

    (แก้ไขครั้งที่ ๑ เปลี่ยนชื่อบันทึกจาก "พุทธศาสนากับปัญญาทางโลก" เป็นชื่อบันทึกปัจจุบัน  ๐๐.๒๖ วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๑)

    หมายเลขบันทึก: 656240เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2018 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 ตุลาคม 2018 00:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (1)

    เกิด และ ดับ.(.เหมือน..เปิด ปิด วงจร ไฟฟ้า…..ไม่น่า..งง..อิอิ)…มันเป็นเช่นนั้นเอง…

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท