AFS Hosting Support Training 2018 การประชุม ครอบครัวอุปถัมภ์และครูผู้ประสานงาน : พิธีเปิด หลักการ แนวนโยบาย การรับอุปถัมภ์บุคลากร และกิจกรรมเสริมฯ


น่าภาคภูมิใจ ที่คุณเป็นหนึ่งในบุคคลที่กำลังบันทึกประวัติศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่ช่วยกันสร้างสันติสุข ให้เกิดแก่มวลมนุษยชาติ

คุณประจวบ  ชำนิประศาสน์ กรรมการมูลนิธิเอเอฟเอส ประเทศไทย ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด และกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม

 เอเอฟเอสประเทศไทย เป็นองค์กรที่ยึดมั่นในการสร้างสรรค์สันติสุขของโลก  ได้รับการยอมรับจากสมาชิกทั่วโลก ในด้านคุณภาพ เป็นอันดับ 1 แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบ ของอาสาสมัครทุกท่าน ( Host School / Host Family / Co coordinator / advisor )  ที่เสียสละเวลาให้ความร่วมมือ สนับสนุน  จนเกิดความสำเร็จ  ปัจจุบันดำเนินงานเป็นปีที่ 56 ร่วมกับประเทศสมาชิกกว่า 52 ประเทศ จากจำนวนประเทศสมาชิกทั้งหมด   90   ประเทศ
  *** เอเอฟเอสประเทศไทยตระหนักดีถึงความสำคัญของอาสาสมัครทุกท่าน  ***


คุณจิรวัฒนา  จรูญภัทรพงษ์  ผู้อำนวยการใหญ่ มูลนิธิเอเอฟเอสประเทศไทย บรรยายหัวข้อ แนวนโยบาย การรับอุปถัมภ์บุคลากร
ประเทศไทยได้รับการกล่าวขานในเรื่อง ความงามด้านภูมิทัศน์ และจิตใจที่งดงาม ซึ่งอาสาสมัครเอเอฟเอสก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ชาวต่างชาติได้เห็น ได้สัมผัส ได้เรียนรู้ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์  โดยให้ความอนุเคราะห์ทั้งกำลังทรัพย์ และกำลังใจ    เอเอฟเอสประเทศไทยให้ความสนใจ และเห็นความสำคัญของการรับอุปถัมภ์  ไม่ว่าจะเป็น ครอบครัวอุปถัมภ์ โรงเรียนอุปถัมภ์/สถานที่ฝึกงาน และอาสาสมัคร  จึงมีความตั้งใจที่จะรับฟังข้อเสนอแนะจาก อาสาสมัครเอเอฟเอสเพื่อจะนำไปปรับปรุง และพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น

    คุณสุรวัฒน์  ชมภูพงษ์ กรรมการมูลนิธิ นำดอกแก้วกัลยามาช่วยจำหน่ายเพื่อช่วยเหลือคนพิการ 


คุณศิริลักษณ์  บูรพาวิจิตร ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุมเชิงปฏิบัติการ และทำความเข้าใจเรื่องการดูแลผู้เข้าร่วมโครงการฯ 
ปกติจะมีการเชิญครอบครัวอุปถัมภ์ มาประชุมเพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลผู้เข้าร่วมโครงการฯ ก่อนการเดินทางมาพำนักอยู่ด้วยประมาณ 3-4 สัปดาห์   จากนั้นก็ไม่ได้มีการเชิญมาประชุมฯ แบบพบเห็นหน้าตากัน จนกระทั่งจบโครงการฯ หากมีปัญหา หรือข้อสงสัยใดๆ อาจมีการติดต่อสอบถามกับทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายอุปถัมภ์  ซึ่งครูที่ปรึกษา หรือผู้ประสานงานจะเข้าไปดูแลและ ติดตามผลโดยตรง
สาเหตุของการเกิดปัญหา

1. ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีพฤติกรรมต่างไปจากApplication Form  

2. ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความคาดหวังสูง  เป้าหมายของชีวิตไม่ชัดเจน
3. ความแตกต่างของวัฒนธรรม ขาดความรู้-ความเข้าใจในการแก้ปัญหา  มีความอดทนน้อย ไม่ยอมปรับตนเอง 
หลักการแก้ปัญหา
  1. ประสาน-ติดต่อ   ติดตาม  แก้ไขพฤติกรรม  จากรายงาน Monthly  Contact

  2. ฝึกคิดบวก  เสริมแรงบวก เสริมกำลังใจ หมั่นไปเยี่ยมเยียน และทำกิจกรรมร่วมกัน

  3. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้-ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รับฟังแนวทางการแก้ไข   

ข้อดีของการรับอุปถัมภ์ ( จากครอบครัวอุปถัมภ์ ) 

1. ได้เรียนรู้ภาษาใหม่

2. ได้สมาชิกครอบครัวเพิ่มขึ้น  

3. ได้เรียนรู้ความต่างของวัฒนธรรมและเผยแพร่วัฒนธรรมไทย

4. ได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ ได้มุมมองและเข้าใจโลกมากขึ้น 

การบรรยายพิเศษหัวข้อ AFS Spirit โดยคุณมนตร์วงศ์  ภัทรวิทย์

ความแตกต่างไม่ก่อให้เกิดความแตกแยก เพื่อสร้างสันติภาพในโลก  
ข้อมูลสำคัญ

สำนักงานเอเอฟเอสทั่วโลก  60  แห่ง 
เจ้าหน้าที่เอเอฟเอสทั่วโลก   1200 คน

อาสาสมัครเอเอฟเอส ทั่วโลก  50,000 คน

ประเทศสมาชิกเอเอฟเอสทั่วโลก  90  ประเทศ

ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มาประเทศไทย  200 คน/ ปี (  ผู้เข้าร่วมโครงการชาวไทยไปต่างประเทศ 800 คน/ ปี)
ผู้เข้าร่วมโครงการ (นักเรียนแลกเปลี่ยน / Community Service / TA –teacher assistance )  ทั่วโลก  12000 คน/ ปี
แผนงาน AFS โลก มีการจัดทำ วิสัยทัศน์ ทุก 10 ปี   วิสัยทัศน์ปัจจุบัน อยู่ในระหว่างปี  2010-2020

หลักการ

นำ Outcome มาเป็นตัวตั้ง  3 Key Focus 
1. AFS Effect  - Global Citizens
   คนกลุ่มนี้จะเป็นผู้เผยแพร่ให้เห็นความต่าง ที่ไม่สร้างความแตกแยก สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

2. Globalize Schools & Institutes
ประเทศที่มีวินัย  เขาจะปลูกฝัง บ่มเพาะตั้งแต่ต้นทาง คือ  สถาบันครอบครัว และสถาบันการศึกษา

 3. Expand Access to Intercultural Education
   ขยายโอกาสไปให้กับกลุ่มเด็กที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยให้ทุนไปศึกษาเรียนรู้

*** ครอบครัวอุปถัมภ์ เป็นผู้นำให้เกิด Experiential Learning  เปิดบ้านให้ชาวต่างชาติซึ่งมีความต่างวัฒนธรรม ไปอยู่ด้วยกัน โดยไม่คิดเงิน  ให้เขามาเรียนรู้ สร้างความประทับใจให้กับพวกเขา เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ชีวิตThe life long Learning ***  

สมาชิกเอเอฟเอสที่ส่งจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯ เป็นจำนวนมาก 3 อันดับ 

อันดับ 1 .USA
         2. ITALY
         3. Thailand

ทั้ง 3  ประเทศมีการบริหารจัดการด้วยรูปแบบคล้ายคลึงกัน คือ School Based

การประชุม Orientation Materials 

มีการลงมติว่าจะมีการใช้ AFS World Café  เป็นช่องทางการสื่อสาร ซึ่งสามารถจะแชร์ โพสต์ ประกาศ  ประชาสัมพันธ์ หรือขอความช่วยเหลือได้ทุกเรื่อง ซึ่งทาง Facebook ได้แบ่งพื้นที่ให้ใช้ได้ฟรีเรียกชื่อว่า AFS Workplace ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ  
งานเลี้ยงสังสรรค์และขอบคุณครอบครัวอุปถัมภ์และผู้ประสานงาน AFS Family Party 2018   


การแสดงของกลุ่มผู้ประสานงาน และครอบครัวอุปถัมภ์

การประกวด King & Queen of AFS Family 2018

นพ.เจริญ  ปฏิภาณเทวา  กรรมการมูลนิธิ ฯ ผู้ดูแลงานฝ่ายครอบครัวอุปถัมภ์ ให้เกียรติมอบสายสะพายและของรางวัลแก่ผู้เข้าประกวด

การมอบรางวัลครอบครัวอุปถัมภ์ที่รับมายาวนานและแก้ปัญหาได้มากที่สุด

การจัดกิจกรรมเสริมและเสนอแนะแนวทางการจัดกิจกรรมช่วงปิดภาคเรียนให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ 

ผู้เข้าร่วมประชุมฯ ให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างดียิ่ง

มีการแบ่งกลุ่มไปตามภาค  รวมเป็น 4 กลุ่ม เพื่อระดมสมอง และช่วยกันสรรหากิจกรรมที่สามารถจัดขึ้นให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่สนใจจะเข้าร่วมในช่วงปิดภาคเรียน   เช่น การเรียนนวดแผนไทย  การเรียนรู้และฝึกสมาธิ  การเรียนมวยไทย  การไปทัศนศึกษาและเรียนรู้วิถีไทย ฯลฯ   

ตัวแทนของแต่ละภาคนำเสนอกิจกรรมเด่น ภาคละ 2 กิจกรรมบนเวทีใหญ่   เพื่อให้เห็นแบบอย่างของการจัดกิจกรรมเสริมฯที่น่าสนใจ

  ผลจากการประเมิน ทั้งการสัมภาษณ์และการติดสติ๊กเกอร์ รวมทั้งการทำแบบประเมินผล ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมประชุมในทุกๆด้านๆ สูงถึงร้อยละ 80 

 
นับว่าการจัดประชุมครั้งนี้ ประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง  ขอขอบพระคุณอาสาสมัครเอเอฟเอสประเทศไทย  ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ทีมวิทยากร และผู้มีส่วนสนับสนุนทั้งทางตรงและโดยอ้อม  มา ณ โอกาสนี้นะคะ  

***  น่าภาคภูมิใจ ที่คุณเป็นหนึ่งในบุคคลที่กำลังบันทึกประวัติศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่ช่วยกันสร้างสันติสุข ให้เกิดแก่มวลมนุษยชาติ  *** 

*** ขอขอบคุณผู้เข้ามาเยี่ยมชมทุกท่านนะคะ *** 

หมายเลขบันทึก: 655939เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2018 01:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ตุลาคม 2018 13:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณนะคะ สรุปเฉพาะสาระสำคัญเองค่ะ

** ขอบใจนะจ๊ะ น้อง Pom หนูก็เป็นส่วนสำคัญ ในบันทึกประวัติศาสตร์จ้า **

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท