858. Appreciative Inquiry สำหรับผู้มาใหม่


วันนี้อยากเขียนเรื่อง Appreciative Inquiry สำหรับผู้สนใจการพัฒนาองค์กรแนวใหม่ครับ ว่ากันไปเลยนะครับ

Appreciative Inquiry คือกระบวนการสืบค้นประสบการณ์ที่ดีที่สุดของคนในองค์กร ในสิ่งแวดล้อม เพื่อเอามาพัฒนาสร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลงดีๆ อย่างที่เราฝัน 

Appreciative Inquiry เป็นเครื่องมือยุคใหม่ใช้ในการพัฒนาองค์กร 

มีวงจรสำคัญคือ Define Discovery Dream Design Destiny กับชุดความเชื่อที่ว่า "คนทุกคนรอบตัวเรามีประสบการณ์ดีๆ ที่เราสามารถไปค้นหาเอามาแก้ปัญหาอะไรก็ได้ พัฒนาอะไรก็ได้" 

กระบวนการจะเริ่มจากว่า คนในองค์กร ต้องมาตกลงกันว่าอยากพัฒนาอะไร ...กลยุทธ์ ความสุข สร้างตลาด สร้าง Brand  แรงจูงใจ เงื่อนไขการทำงาน Lean หรือแม้กระทั่ง Innovation...คือทุกอย่างที่เกี่ยวกับมนุษย์  นี่เรียกว่าขั้นตอน Define 

เช่น Howard Shultz เจ้าของ Starbucks กินกาแฟในอเมริการู้สึกไม่อร่อย ...เลยอยากสร้างร้านกาแฟที่อร่อยในอเมริกา เลยเริ่มถาม สืบค้นว่าร้านกาแฟที่ไหนดีที่สุดในโลก 

นี่คือขั้นตอน Discovery

สำหรับ Howard Shultz เลยไปค้นหา ไปค้นพบว่า ร้านกาแฟที่ดีที่สุดอยู่ในอิตาลี เมื่อดูมากๆ ก็เห็นว่าร้านแนวอิตาลี่  เลยลงลึกด้วยการไปใช้ชีวิตศึกษาเรื่องกาแฟอยู่ในอิตาลี่สองปี 

Dream

ก็เลยฝันเกิดวิสัยทัศน์ว่าจะเอาแนวคิดร้านกาแฟอิตาลี่ไปเปิดที่อเมริกา 

การเกิดวิสัยทัศน์นี่มันเกิดจากที่เราไปหาข้อมูล เราจะเกิดแรงบันดาลใจจากข้อมูลดีๆ เอง..

จากนั้นก็มาออกแบบ Design

กลายเป็นร้าน Starbucks ที่มาพร้อมกับการเปิดเพลง Opera

จากนั้นทำจริง วัดผล ประเมิน เรียนรู้ปรับเปลี่ยน

นี่เรียกว่า Destiny  

เข้าก็เปิดของเขาร้านแรก  ไม่จบเท่านั้น คุณจะเห็นวงจร Appreciative Inquiry มันต้องทำเป็นวงจร เวลาเอาเรื่องดีๆ มาขยายผล มันจะต่างที่ต่างบริบท ไม่มีอะไรทำซ้ำได้ 100% ที่สุด ก็พบว่าคนอเมริกันไม่ชอบร้านกาแฟที่มีเพลงโอเปร่าแบบอิตาลี่ 

ก็เลยเอาเพลงที่คนอเมริกันชอบมาใส่แทน... 

ปรับสูตรไปมาจนเป็น Starbucks ที่คุณเห็น

นี่ครับ Appreciative Inquiry เราเริ่มแบบนี้ Define Discover Dream Design Destiny 

ผมก็บรรยายของผมมาเรื่อย คราวนี้มาเจอคำถามครับ  วันก่อนไปสอนที่สสส.  เราทำเรื่องเหล้าบุหรี่ NCDs อุบัติเหตุกัย มีกัลยาณมิตรที่เพิ่งเรียน Appreciative Inquiry เป็นครั้งแรก กับผมไปมาถามว่าอาจารย์อย่างนี้เราต้องไปหาข้อดีของเหล้าละสิ

ผมเลยต้องชี้แจงอย่างนี้ครับ

ผมบอกว่าไม่ใช่ครับ ... Appreciative Inquiry ไม่ใช่เริ่มจากการค้นหาสิ่งดีๆ แบบไม่ลืมหูลืมตาครับ ...

แนวคิดของวิชาบริหารอะไรก็ตาม ดูง่ายๆ ครับ อะไรผิดศีลทุกศาสนา ผิดจรรยาบรรณไม่ต้องไปสืบค้นครับ ว่าการกินเหล้ามีประโยชน์อะไร การขับเร็วๆ เสี่ยงตาย มันก็มีข้อดีไหม หรือการฆ่าคน มันก็มีมุมดีๆ อยู่ไหม...ไม่ครับ ไม่ต้องหา ไม่ทำ ไม่แตะ มีโอกาสทำลายทิ้งเลย 

จริงๆการทำ Appreciative Inquiry ต้องเริ่มจากการค้นหาว่าเราอยากทำให้อะไรให้ดี ...ถ้าถามเรื่องเหล้า คุณเองก็คงไม่อยากให้มีคนเมาอีกต่อไปจริงไหมครับ 

เพราะฉะนั้นต้องเริ่มจาก Define คือทำอย่างไรจะให้คนไทยเมินเหล้า...เลิกเหล้า เป็นประเทศที่จะไม่อุบัติเหตุจากคนเมาอีกต่อไป...

เราก็มาออกแบบคำถาม..

ตอนที่คุณทำให้คนเลิกเหล้าคุณทำอย่างไร

ตอนที่คุณเลิกเหล้าได้คุณทำอย่างไร

ต้นแบบเรื่องการเลิกเหล้า หรือทำให้คนเลิกเหล้าคืออะไร...

นี่ครับ Discovery …

ตั้งคำถาม เอามาแชร์กัน ...  ในงานสสส.  ที่ผมไป เห็นวิธีการที่น่าตื่นตาตื่นใจมากมาย..

เช่นการใช้เกมส์จิ๊กซอว์ เปลี่ยนพฤติกรรมคนเสพยา

การฟัง ..    

โครงการให้เหล้าเท่ากับแช่ง...

โครงการงานบุญปลอดเหล้า

ชุมชนคนสู้เหล้า

หลายๆ เรื่อง มีคนทำอะไรมหัศจรรย์ที่นั่นมากมาย ...  ที่เห็นวิธีการและการขยายผลที่น่าสนใจ สามารถไปทำซ้ำได้ 

ต้นแบบเจ๋งๆ อยู่ที่นี่ครับ 

http://resource.thaihealth.or....

พอให้ทุกคนเล่า เราก็สามารถสร้าง Dream ได้เพราะอะไร มันเห็นกับตาว่ามีคนทำได้ เพียงแต่ Scale เล็ก ถ้า Scaling up ได้ จะเกิดอะไรขึ้น นี่คือความฝัน... ผมลองฝันดู

ในสิบปีข้างหน้า เราเห็นประเทศไทย เป็นต้นแบบของประเทศที่คนไม่กินเหล้า มีคนมาดูงาน สังคมมีความสุข

Design

เราก็เอาต้นแบบที่เราเห็น มาคิดต่อยอด ดัดแปลง อาจมาทำซ้ำ หรือคิดใหม่  หรือในสาย Startup เราเรียกว่า Scaling up นั่นเอง ...

ทำเป็นโครงการออกมา ง่ายๆ สุดเอาที่ทำสำเร็จมาทำซ้ำ ประกาศเป็นนโยบาย หรือทำอะไรก็ได้ ที่จะไปขยายผลไปหลายๆ เท่า 

Destiny 

ทำจริง เอาหลายๆโครงการวัดผล ประเมินผล   


ทำไปเรื่อยๆ ถ้าเจออุปสรรค ก็เอาอุปสรรคมาเปลี่ยนเป็นเป้าหมาย ก็คือ Define เช่นไปเจออุปสรรคว่าคนทำโครงการอยู่คนละ Gen กับเด็กก็ไม่เข้าใจเด็ก ก็นำเรื่องนี้มาทำ 5D ใหม่เลย เอาคำตอบดีๆมา ขยายผล  เพื่อทำให้ฝันเป็นจริง ขยายสิ่งดีๆ เข้าไปในระบบเรื่อยๆ  ถ้าเจอตัดงบ ก็มาหาอีกว่าโครงการไหน ใช้เงินน้อยแต่ Impact เยอะ เขาทำอย่างไร   

หาในสสส. ไม่เจอเราไปดูโครงการของที่อื่น กระทรวงอื่น ในประเทศ นอกประเทศได้หมด เอามาดัดแปลงได้ครับ 

ที่สำคัญอะไรยากมากท้าทายมาก ต้องถามคนเยอะๆ จะดี อย่าถามกันสี่ห้าคน 

โดยเฉพาะช่วงทำกลยุทธ์นี่ยากครับ ..ต้องถาม Stakeholders ทุกคน เอาประสบการณ์ดีๆ มาต่อจิ๊กซอว์ สร้างวิสัยทัศน์ ทำให้วิสัยทัศนเป็นจริง

นี่ครับการทำ Appreciative Inquiry 5D Model ... มาจาก Define ก่อน ... อยากเห็นอะไรดีขึ้น ...

ที่สำคัญคุณธรรมกำกับ ไม่ไปให้แง่บวกจากความเสื่อมใดๆ ทั้งสิ้น หาแต่ทางกำจัด ป้องกันครับ

วันนี้พอเท่านี้ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

บทความโดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์

www.aithailand.org

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry#สสส
หมายเลขบันทึก: 654820เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2018 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ตุลาคม 2018 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท