วิธีการพูดกับลูกดีๆ


เป็นเคล็ดไม่ลับ ถ้าลับก็คงไม่บอก? แต่หากท่านใดที่ดู Live ครูหม่อม (ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร)ไปแล้ว (หาดูที่ได้เพจมูลนิธิสยามกัมมาจล สร้างโอกาสเรียนรู้ สร้างเยาวชนคุณภาพ สร้างสังคมคุณภาพ)ไม่ต้องอ่านก็ได้นะคะ ผ่านไป เปลืองเวลา เสียสายตา? เพราะครูหม่อมพูดได้ดีเข้าใจชัด กว่าแม่ดาวฟังแล้วมาแบ่งปันอยู่แล้ว

ความเดิมตอนที่แล้ว ที่แนะนำว่าให้หมั่นหยอดคำพูดดีใส่สมองและหัวใจลูก บางคนอาจยังไม่คิดไม่ออก บอกไม่ถูก จะพูดดีๆ ยังไง +เหมือนเวลาเราบอกลูกว่า นั่งดีๆ ซิลูก /เดินดี ๆ ซิลูก/กินให้มันดีๆ หน่อย ลูกก็งง ทำไม่ถูก แบบไหนหนอที่ว่า ดีๆ พอทำดีๆ อย่างที่ตัวเองคิด ก็ดีไม่พอใจแม่สักที? +เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงมาขยายความให้ เป็นวิธีการดีๆ ที่นำมาจากครูดีๆ มาแบ่งปัน 1. พูดในสิ่งที่เราต้องการให้ลูกทำ อย่ามา NO!!! (ห้าม ไม่ อย่า หยุด) หลีกเลี่ยงคำพูดเหล่านี้ ซึ่งหากรู้สึกตัว ทบทวนจะพบว่า พวกเราพ่อแม่ใช้กันบ่อยเหลือเกิน คำพูดเหล่านี้เก็บไว้ใช้เวลาที่จำเป็นจริงๆ เช่น อาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต ลูกกำลังเอามือแหย่ปลั๊กไฟเป็นต้น (ใครสงสัยทำไมต้องห้ามพูด อยากรู้ลึกโปรดย้อนไปดู Live นะคะ)

เช่น ลูกกำลังวิ่ง เราต้องการให้ลูกเดิน เพราะกลัวหกล้ม หรือเกิดอันตราย อาจบอกลูกว่า ❤️ เดินค่ะ หรือเดินจับมือแม่นะคะ แทนการบอกว่า "อย่าวิ่ง!!!" เป็นต้น +2. เข้าใจ กุญแจสำคัญคือ ปลอบ สงบ สยบสมองส่วนอารมณ์

❤️แม่เข้าใจ ว่าหนูรู้สึก.........หนูเลย...(บอกพฤติกรรมลูก)...

เช่น ลูกร้องไห้จะซื้อของเล่น

❤️ แม่เข้าใจ ว่าหนูรู้สึกเสียใจ หนูเลยร้องไห้❤️.

โปรดจบเท่านี้ กลืนคำพูดอื่นๆ ลงไป สงบตัวเอง ไม่ต้องพูดเยอะมันเจ็บคอ?ม่ายช่ายยย เพราะหากคุณพูดเยอะไป มันจะยิ่งไปเร้าอารมณ์ให้ลูกไม่สงบ อารมณ์ลูกยังไม่พร้อมจะฟังอะไรตอนนี้ แค่แสดงให้เขาเห็นว่า แม่เข้าใจนะ ที่หนูร้องไห้ เวลาเราทุกข์ใจ มีคนคอยแสดงความเข้าใจ เราก็ใจดีๆ ขึ้นใช่ไหม เด็กๆ ก็เหมือนกัน หรือใครซาดิส ด่าฉันซิ บ่นฉันเลย พูดยาวๆ ฉันสบายใจ?

+3. ได้.....เมื่อไหร่..........กุญแจสำคัญคือ ช่วยลูกตัดสินใจ

เช่น ลูกอยากกินหมูทอด แต่มื้อนี้อาหารที่เราทำไม่มีหมูทอด ลูกงอแงจะกินหมูทอด เรามีแต่ไข่เจียว?

❤️ ได้ค่ะ ลูกอยากกินหมูทอดมากเนาะ พรุ่งนี้นะ แม่จะทำหมูทอดแสนอร่อยให้ลูกกินเลย

หรือ ลูกวัยประถมโวยวายจะอยากเล่นเกมต่อ แต่หมดเวลาที่ตกลงกันไว้

❤️ ได้ค่ะ พรุ่งนี้นะ เวลาเดิมได้เล่นเลย ยิ้มสงบ หนักแน่นใจนิ่ง อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ

หรือ ลูกงอแงอยากกินขนมก่อนทานข้าว❤️ ได้ค่ะ ทานข้าวหมดแล้วทานขนมเลยนะ แม่ไม่มีปัญหาเลย

การที่ลูกมีความต้องการ มีความอยาก แล้วไม่ได้รับการตอบสนอง ความรู้สึกทุกข์ทรมานก็ทำโทษเขามากอยู่แล้ว ครูกล่าวไว้ ไม่ต้องไปเป็นแผนกช่าง ช่างติ ช่างบ่น ก็ได้ +4. รอพร้อม กุญแจสำคัญคือ ให้เวลาลูกตัดสินใจ

เช่น ลูกโวยวายขึ้นเสียงเหวี่ยงใส่เรา ที่เราไม่ให้เขาใช้มือถือหลัง 3 ทุ่มเพื่อเล่นเกม ทั้งที่เป็นข้อตกลงตั้งแต่ต้น

แม่เข้าใจ(เอามาผสมผสาน)ว่าลูกรู้สึกโกรธที่ไม่ได้เล่นเกมต่อ เลยเสียงดังแบบนี้ ❤️ลูกพร้อมใช้มือถือตามเวลาที่ตกลงกันเมื่อไหร่ ก็รับคืนไปได้นะครับ

+5. ชมสุดซอย กุญแจสำคัญคือ สะสมความสำเร็จ

คือวิธีการชมที่ระบุพฤติกรรม คุณธรรม คุณลักษณะที่ดี และเวลาชมก็ชมให้สุด ไม่ต้องชมปนเหน็บ ชมแล้วมีแต่

เช่น ลูกช่วยเราถือของโดยที่เราไม่ได้ร้องขอ ด้วยสีหน้าเบิกบาน

❤️ขอบคุณนะครับที่ลูกมีน้ำใจช่วยแม่ถือของ หนูเป็นเด็กกตัญญูจริง ๆ ดูซิยิ้มแย้มเบิกบานแบบนี้แม่เห็นแล้วชื่นใจ (ลูกตัวลอยไป 7 วันใจพอง? )

+ข้อแนะนำเพิ่มเติม1. ตั้งสติ ก่อน Start

2. ทุกวิธีการ ต้องมีเป้าหมายชัดเจน โปรดกำหนดเป้าหมายให้ชัด ว่าเราจะพูดเพื่ออะไร เช่น เพื่อให้ลูกมีความรับผิดชอบ เพื่อให้ลูกควบคุมอารมณ์ กำหนดให้ชัดเจน

3. โปรดเรียนรู้เรื่องการทำงานของสมอง 3 ส่วน ถ้าไม่รู้ไปดู live หรือ หาอ่านได้หนังสือ เช่น เลี้ยงบวก ลูกบวกของหมอโอ๋ เพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน หรือที่ทำกันบ่อยๆ ความรู้อยู่ปลายนิ้ว ถามกูเกิ้ล

4. พูดด้วยความจริงใจ เราเห็นลูกทำจริง รู้สึกจริง

5. โปรดตั้งใจฟังลูกด้วยหัวใจ อย่าเอาแต่ใจตัวเอง +ใครอ่านแล้วยังไม่เข้าใจ อยากเข้าใจชัดๆ ไปดู Live นะคะ ไม่พิมพ์เยอะเจ็บนิ้ว?อันที่จริงครูหม่อมพูดได้ถึงใจมากค่ะ ที่มานั่งพิมพ์ เพราะคิดว่าอ่านแล้วคงไม่เข้าใจ จะได้สนใจอยากดูLive ครูเต็ม ๆ ดีมากนะคะ ไม่อยากให้พลาดดู 

หมายเลขบันทึก: 654709เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2018 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2018 15:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท