การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับสารตะกั่ว


การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับสารตะกั่วด้วยสารสกัดจากเมล็ดหมากและใบพลู

ธนวรรณ ตั้งสุวรรณชัย1, ปุณยวัจน์ เอี่ยมทวีสิน1, ประพิชญา เชี่ยววณิชกุล1, อนงค์นารถ กิจสามารถ2, สุธาสินี เหลืองกิจไพบูลย์2 และอัญชลี ทิพยสุทธิ์2 1นักเรียนโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร, E-mail: [email protected] 2โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร         

 

บทคัดย่อ

          โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับสารตะกั่วด้วยสารสกัดจากเมล็ดหมากและใบพลู         โดยศึกษาการทำปฏิกิริยาระหว่างสารละลายเลด(II)ไนเตรต ที่ความเข้มข้นต่างๆ ได้แก่ 0.500 mol/l, 0.250 mol/l และ          0.125 mol/l กับสารสกัดจากเมล็ดหมาก และใบพลูที่ปริมาตร 5 ml, 10 ml, 15 ml และ 20 ml การหาปริมาณตะกั่ว          ที่เหลือหลังจากการดูดซับโดยใช้วิธีการตกตะกอนด้วยสารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์ที่ความเข้มข้น 1.00 mol/l พบว่า        การดูดซับตะกั่วโดยใช้สารสกัดจากใบพลูจะมีปริมาณตะกอนของเลด(II)ไอโอไดด์น้อยกว่าสารสกัดจากเมล็ดหมาก และประสิทธิภาพการดูดซับตะกั่วของสารสกัดจากใบพลูดีกว่าสารสกัดจากเมล็ดหมาก และที่ความเข้มข้น 0.125 mol/l ของสารละลายเลด(II)ไนเตรตกับสารสกัดจากใบพลู และเมล็ดหมาก ที่ปริมาตร 20 ml สามารถดูดซับตะกั่วได้ดีที่สุด ซึ่งมีปริมาณตะกอนของเลด(II)ไอโอไดด์ที่เหลือจากการดูดซับ 0.0043 g และ 0.0166 g ตามลำดับ

จากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับสารตะกั่วด้วยสารสกัดจากเมล็ดหมากและใบพลู พบว่า สารสกัดจากใบพลูมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารตะกั่วได้ดีกว่าสารสกัดจากเมล็ดหมาก และการดูดซับสารตะกั่วจะเพิ่มขึ้นตามปริมาตรของสารสกัด คำสำคัญ: การดูดซับสารตะกั่ว, สารสกัดจากเมล็ดหมาก, สารสกัดจากใบพลู

หมายเลขบันทึก: 653841เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2018 21:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2018 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท