ชีวิตที่พอเพียง 3265. สุริยุปราคาที่หว้ากอสมัย ๑๕๐ ปีก่อน



บวท. จัดงานเสวนาเรื่อง “150thAnniversary King of Siam’s Eclipse”   ที่โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๑  โดยเชิญวิทยากร ๒ ท่านมาพูด

เรื่องแรก “พ.ศ.๒๔๑๑ ณ บ้านหว้ากอ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สภาพสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในสมัยรัชกาลที่ ๔” โดยรศ. บุญรักษา สุนทรธรรม   ที่ปรึกษาสถาบันดาราศาสตร์แห่งชาติ   

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประเทศไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช    ฝรั่งเดินเรือเพื่อการค้า    จึงต้องกำหนดพิกัดวัดดาวกำหนดพิกัดบนพื้นโลก  ดาราศาสตร์แพร่เข้ามา โดยคณะบาทหลวงเยซูอิต   สมเด็จพระนารายณ์นำเทคโนโลยีเข้ามา    สมัยนั้นน่าจะเป็น สยาม ๔.๐

พ.ศ. ๒๓๘๐ ร. ๓  ทำการค้า   ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม  เริ่มมีเรือกลไฟ   การค้าเสรี    เกิดสงครามฝิ่นที่จีน    สนธิสัญญานานกิง  อังกฤษยึดเกาลูน  ฮ่องกง   ร. ๔ ทรงผนวชอยู่ถึง ๒๗ พรรษา   ช่วยให้ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ โดยเฉพาะดาราศาสตร์ จากบาทหลวงปาเลอกัวซ์   ศาสนาจารย์แคสเวล (Rev. JesseCaswell)   และหมอเหา (SamuelReynolds House)   โดยจัดชั้นเรียนร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์ที่สนใจ    ครองราชย์เมื่อพระชนมายุ๔๗ พรรษา  พ.ศ. ๒๓๙๔    ใช้นโยบายผ่อนปรน  

ร. ๔ ทรงศึกษาดาราศาสตร์สยามและดาราศาสตร์มอญคัมภีร์สุริยยาตร   คัมภีร์สารัมภ์ (Saros ตามตำแหน่งราหู  เกต)      กระดานปักขคณนา   และวิชาดาราศาสตร์ตะวันตกจากตำราภาษาอังกฤษที่ทรงสั่งซื้อ   ทรงมีเครื่องมือดาราศาสตร์กล้องส่องทางไกล  รูปจำลองของจักรวาล ฯลฯ    เห็นรายการหนังสือภาษาอังกฤษของพระองค์แล้วน่าพิศวงมาก

ภาพฝาผนังอุโบสถวัดบรมนิวาส ที่ ร. ๔ทรงสร้างขึ้น    แสดงพระอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล  ไม่ใช่โลก  สวยงามมาก ()  

หอชัชวาลเวียงชัย ()  หรือกระโจมแก้ว บนเขาวัง ที่เพชรบุรี   ไม่ใช่หอดูดาว  เป็นกระโจมไฟมากกว่า

ร. ๔ ทรงกำหนดเวลามาตรฐานของสยามประเทศก่อนปี ๒๔๑๑ สำหรับใช้ในการคำนาณทางดาราศาสตร์    ก่อนมีเวลามาตรฐานกรีนิชในปี ๒๔๒๗    พระที่นั่งภูวดลทัศไนย เป็นอาคารสูง ๕ ชั้น   เป็นจุดเส้นแวง ๑๐๐ ()    

สุริยุปราคาเต็มดวง ๑๘ สิงหาคม๒๔๑๑   ร. ๔ คำนวณไว้ล่วงหน้า ๒ ปี    ในวันนั้นพระอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บังมิดดวงเป็นเวลานานถึง๖ นาที ๔๖ วินาที   สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลขนานนามว่า King of Siam’s Eclipse ()

เหตุการณ์สุริยคราสครั้งนั้นเป็นที่สนใจไปทั่วโลก และสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศสยามมาก ()

หลังจากนั้น ร. ๔ และ กรมขุนสีหราชวิกรมประชวรไข้มาลาเรีย สิ้นพระชนม์  สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ก็ประชวรไข้มาลาเรีย แต่เสวย ควินิน รอด    มีการซักถามกันว่าสมัยนั้นเข้าใจกันเรื่องไข้จับสั่นดีหรือยัง     ตอบว่าเข้าใจดีแล้ว ร. ๔ ทรงระวังโดยประทับแรมในเรือ   ขึ้นฝั่งเฉพาะตอนทอดพระเนตรสุริยคราส  

เรื่องที่สอง ความมหัศจรรย์ของปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง  โดย ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา  ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)    ให้ความรู้ด้านต่างๆเรื่องสุริยุปราคามาก    โดยเฉพาะรูปสวยๆ   และได้ตระหนักว่าภาพ “พระอาทิตย์” ในสุริยุปราคาเต็มดวงที่เราเห็นนั้นที่จริงเป็นภาพพระจันทร์ (ที่บังพระอาทิตย์อยู่)  เป็นภาพจากแสงสะท้อนจากโลก  

สุริยุปราคาเต็มดวงที่เห็นในประเทศไทยครั้งหลังสุดเมื่อวันที่๒๔ ตุลาคม ๒๕๓๘  ทีมของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ไปบันทึกเหตุการณ์ที่อำเภอสีคิ้วจังหวัดนครราชสีมา    สมเด็จพระเทพรัตน์เสด็จด้วย    มีภาพวีดิทัศน์ช่วงคราสจับเต็มดวงดูแล้วน่าตื่นเต้นมาก    เห็นปรากฏการณ์แหวนเพชรสีน้ำเงิน ที่หาดูยาก 

ที่จริง สุริยุปราคา เป็น occultation     ไม่ใช่ eclipse    คือ eclipseเป็นปรากฏการณ์ที่เงาของโลก (ราหู) ไปบังดาวอื่นซึ่งที่เราคุ้นเคยคือจันทรุปราคา    แต่มีการใช้กันผิดๆ จนเป็นที่ยอมรับกัน    

ผมได้เรียนรู้ว่า รอยเว้าของพระอาทิตย์ในสุริยุปราคาเริ่มจากทิศตะวันตก ไปทางทิศตะวันออก    ตามเส้นทางการเคลื่อนที่ของพระจันทร์    

มีสิ่งที่ปรากฏพร้อมกับสุริยุปราคาหลายอย่าง เช่น earthshine ทำให้เห็นรูปกระต่าย บนดวงจันทร์ช่วงคราสเต็มดวง   shadow bands เป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ทางแสง    crescent shadow แสงสนธยารอบตัว    eclipse breeze เกิดเพราะอุณหภูมิเปลี่ยนเร็ว      Bailey’s bead เกิดจากผิวดวงจันทร์ไม่เรียบ   บริเวณ corona อุณหภูมิสูงกว่าตัวดวงอาทิตย์มาก,  prominence (พวยแก๊ส),chromosphere  

ผมได้รู้จักคำว่า Saros (๖) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่พระอาทิตย์โลก และพระจันทร์ โคจรมาเรียงตัวเป็นเส้นตรง ทำให้เกิดสุริยุปราคา ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นวงรอบเวลาประมาณ ๑๘ ปี     สุริยุปราคาเต็มดวงหว้ากอ พ.ศ. ๒๔๑๑ เป็น Saros 133    ซึ่งใน ๑๘ ปีต่อมาก็เกิดอีกแต่เห็นเปลี่ยนที่ไปบนพื้นโลก       

 ดูข้อมูลการเกิดและการทำนายสุริยุปราคาได้ที่   www.EclipseWise.com/eclipse.html  

วิจารณ์ พานิช

๑ ส.ค. ๖๑


 

หมายเลขบันทึก: 653161เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2018 20:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กันยายน 2018 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท