Teaching Portfolio



ต่อจากบันทึกเมื่อวาน   ยังอยู่กับการประชุมสัมมนาวิชาการ เรื่อง “Teaching and Learning in Higher Education in the 21st Century”  วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ที่ มทส. นะครับ    ดังเล่าแล้วว่าตอนบ่ายมีรายการ FD Program at SIT : SCOT & TP Workshop โดย Emiko Hirose Horton, Faculty Developer, Educational Innovation Center, School of Architecture, SIT   ที่ผมไม่ได้ฟัง เพราะต้องรีบกลับก่อน   แต่ได้รับแจกเอกสาร PowerPoint printout กลับมาบ้าน    ซึ่งเมื่ออ่านก็พบนวัตกรรมถึง ๒ เรื่อง    เรื่องแรกคือการใช้นักศึกษาเป็นครูฝึกอาจารย์ ที่เรียกว่า SCOT – Student Consulting on Teaching   ที่เล่าในบันทึกที่แล้ว    อีกนวัตกรรมหนึ่งคือ TP – Teacher Portfolio   ที่จะเล่าในบันทึกนี้  

Teaching Portfolio คืออะไร  อยู่ในรูปที่ ๑ และ ๒   สรุปได้ว่า เป็นการรวบรวมผลงานที่สะท้อนความสำเร็จด้านการสอนของอาจารย์     โดยต้องไม่ยืดยาวเกินไป    ถือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งสำหรับช่วยปรับปรุงการสอนของอาจารย์    และตามในรูปที่ ๓ Teaching Portfolio ยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกหลายอย่าง    โดยเฉพาะการสร้างวัฒนธรรมพูดคุยเอาใจใส่เรื่องการสอนให้ได้ผลดี    ไม่ถือว่าการสอนเป็นเรื่องส่วนตัว หรือพื้นที่หวงห้าม    ที่ห้ามคนอื่นเข้าไปยุ่งเกี่ยว  

ประวัติของ Teaching Portfolio อยู่ในรูปที่ ๔   เริ่มในคริสตทศวรรษที่ 1980 ที่แคนาดา    แล้วแพร่ไปอเมริกาในทศวรรษ 1990   ใน ค.ศ.2004 มีมหาวิทยาลัยในอเมริกาเหนือใช้เครื่องมือนี้ ๒,๐๐๐ แห่ง    ส่วน SIT นำมาใช้ในปี 2010  

หัวข้อของ Teaching Portfolio อยู่ในรูปที่ ๕   หัวข้อที่น่าสนใจคือ 2. Teaching Philosophy และ  7. Short-Term and Long-Term Teaching Goals    โดยในรูปที่ ๑๐ เป็นแนวคำถาม เป็นตัวอย่างให้ถามตนเอง เพื่อการใคร่ครวญสะท้อนคิดคุณค่าความเป็นครูของตนเอง    จะเห็นว่า เขาใช้ critical reflection เพื่อการพัฒนาตนเองของครู อาจารย์    รูปที่ ๙ บอกความสำคัญของ Teaching Philosophy

รูปที่ ๖ – ๘ แสดงการจัดการประชุมปฏิบัติการฝึกวิธีเขียน Teaching Portfolio   ที่มีทั้ง TP Creation Workshop   และ TP Completion Workshop    ที่ทิ้งระยะห่าง ๖ - ๑๒ เดือน    โดยใน workshop นั้น    มีการจับทีม mentor – mentee (1 : 2)  ในลักษณะ peer mentoring   เป้าหมายของ workshop เพื่อช่วยให้อาจารย์เขียน Teaching Portfolio ได้อย่างครบถ้วนและมีคุณภาพ  

อ่านระหว่างบรรทัด ผมรู้สึกว่า มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น อาจารย์มีวัฒนธรรมทำงานเป็นทีมช่วยเหลือกัน   และมีวัฒนธรรม CQI – Continuous Quality Improvement

ท่านที่สนใจรายละเอียดค้นต่อได้ใน reference ในรูปที่ ๑๑  

วิจารณ์ พานิช        

๑ ส.ค. ๖๑


1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

หมายเลขบันทึก: 652868เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2018 19:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2018 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท