การจัดการชั้นเรียน: การแทรกแซงแบบ 2 ขั้น


พวกเราทุกๆคนล้วนแต่เคยประสบกับปัญหาการก่อกวนในชั้นทั้งสิ้น ซึ่งการก่อกวนนี้ทำให้เราจำเป็นต้องอดทน หรือไม่ก็ระเบิดอารมณ์ออกไปอย่างเลี่ยงไม่ได้ เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้เราควบคุมอารมณ์ไม่ได้ และกลัวว่าเราจะดูแย่ในสายตานักเรียน พวกเราเกรงว่านักเรียนคนอื่นๆอาจรู้สึกอย่างเดียวกับเรา หากเราไม่อดทนอย่างเพียงพอ ควบคู่ไปกับความรู้สึกเหล่านี้ เรามีแนวโน้มที่จะนำการก่อกวนอันนั้นเป็นเรื่องส่วนตัว และเรามีสูตรในการจัดการกับหายนะเหล่านั้น สิ่งสำคัญยิ่งก็คือพวกเราจะแบ่งการโต้ตอบเป็น 2 ช่วง นั่นคือ

 1. การอดทนอดกลั้น (immediate stabilization)

 2. การแทรกกลางเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น (intervention to resolve these issues)

 การจัดการกับภาวะวิกฤต

 หากคุณเข้าไปที่ห้องฉุกเฉิน (emergency room) จุดมุ่งหมายก็คือ ไม่ให้ทำให้คุณดีขึ้น สิ่งที่พวกหมอต้องการก็คือทำให้คุณไม่แย่ไปกว่านี้ต่างหาก พวกเขาไม่ได้รักษา พวกเขาจำเป็นต้องทำให้คุณมีความมั่นคงเสียก่อน (stabilize) ทันทีที่คุณมั่นคง เธอก็เป็นเพียงแค่คนไข้นอก (outpatient) หรือไปรักษาอาการตามธรรมดา สิ่งนี้ก็เป็นจริงไม่ว่าจะเป็นนักดับเพลิง, ตำรวจ, ทหาร, และแพทย์ฉุกเฉิน (first responder) ก่อนที่จะเข้าแทรกแซงในเชิงบวก พวกเขาพยายามทำให้สถานการณ์, สภาพแวดล้อม, เหตุการณ์ภายนอก (perimeter), และประชาชนที่ต้องการช่วยเหลือนั้นมั่นคงหรือมีเสถียรภาพ หลักการในส่วนนี้ก็คือทำให้เหตุการณ์ฉุกเฉินนั้นไม่เลวร้ายลงไปอีกก่อนที่จะทำให้พวกเขาดีขึ้น

 เหตุการณ์ในห้องเรียนก็เป็นเช่นเดียวกัน บ่อยครั้งที่ครูพยามยามจะแก้ไขปัญหาที่ก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวาย ที่ทำเช่นนี้ก็เพราะอยากให้แทรกแซงได้อย่างไม่มีปัญหา แต่จริงๆแล้วการแทรกแซงนั่นแหละจะทำได้ไม่ค่อยดีนัก การที่จะก่อให้เกิดการมีเสถียรภาพ ทั้งครูและนักเรียนจะได้ไม่มีความโกรธหลาเหลือ, สงบนิ่ง, และพยายามจะฟังความเห็นที่ตรงกันข้ามกับตน

 การจะสงบนิ่งจำเป็นต้องใช้เวลาทั้งครูและนักเรียนเพื่อที่จะเอาตนเองออกไปจากสถานการณ์นั้นให้ได้ บ่อยครั้งที่นักเรียนจะคิดได้เองหากให้เวลากับเขาในการคิดคำนวณ การให้เวลารอจะทำให้เราไม่เจ็บปวดเกินไปนัก ดังนั้นกระบวนการทั้งสองขั้นตอนจำเป็นต้องใช้เวลาอย่างมาก ในความจริงแล้ว เวลาไม่ใช่ปัจจัยหลัก เมื่อเราคิดถึงเวลาที่จะถูกใช้ตลอดระยะเวลา 1 ปี ซึ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง เราก็ยิ่งจะเห็นเวลาที่ใช้ใน 2 ขั้นตอน ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้นมากกว่าจะเห็นการแทรกแซงที่ทำให้สถานการณ์ไม่มั่นคงมากขึ้นไปอีก

 ภูมิปัญญาโดยทั่วไปจะบอกเราให้แทรกแซงให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งการรอคอยจะทำให้ได้ผลที่ไม่ดีนัก ฉันเห็นว่าการรอคอยไม่ใช่ความคิดที่ดี แต่ฉันก็ไม่เห็นด้วยว่าการแทรกแซงในทันทีทันใดก็ใช่ว่าจะให้ผลดีนัก นักเรียนส่วนใหญ่ รวมทั้งครูด้วยจะทำให้ทุกอย่างแลดูแย่ลงหากปล่อยให้อารมณ์ยังคุกรุ่น และใช้อารมณ์เป็นหลักใหญ่ หลักที่ต้องจำก็คือทำให้ทุกอย่างอยู่ในสภาพเสถียรเสียก่อน ที่จะเข้าไปแทรกแซงโดยทันทีทันใด จงผ่อนคลายอารมณ์เสียก่อนเถิด!

 สิ่งที่ควรทำ และสิ่งที่ไม่ควรทำ และ 5 ตัวอย่างในการปฏิบัติ

 อย่างที่ฉันพูดไป พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเป็นเรื่องรองๆ (minor inappropriate behavior) ไม่รวมอยู่ใน 2 ขั้นตอนการแทรกแซง แต่เมื่อมันถูกรวมเข้ามา มาดูสิว่าจะใช้มันอย่างไร

 1. จงทำความเข้าใจว่าการทำให้เสถียรภาพนั้นไม่ใช่การขอโทษ หรือการปล่อยให้นักเรียนทำสิ่งที่ต้องการ หรือการวางเฉย มันคือการยืดเวลากับการแทรกแซงที่แท้จริง

 2. จงแสดงให้นักเรียนเห็นว่าเธอสามารถที่จะคุยด้านๆของเรื่อง

 3. จงคาดเดาแรงจูงใจในการประพฤติสิ่งที่ผิด  ยอมรับ แม้จะไม่เห็นด้วยสำหรับทางเลือกในการแก้ไขปัญหาของนักเรียน

 4. พยายามจะไม่หาเรื่อง

 5. ใช้อารมณ์ขัน

 สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง:

 1. วิพากษ์วิจารณ์, บรรยาย, ดุด่า, ตำหนิ

 2. โต้เถียง

 3. บอกหรือแสดงนัยยะวาจะไม่ขอโทษ

 4. มีปฏิกิริยาโต้กลับในทันที

 5. ทำให้อายหรือทำลายความมีเกียรติยศของนักเรียน

 6. ถามว่า “เมื่อกี้คุณพูดอะไรนะ” ด้วยภาษาที่มีอำนาจ

 ข้างล่างคือตัวอย่างของการทำให้เสถียรที่ฉันชื่นชอบ หากเทคนิคที่ช่วยสร้างเสถียรภาพยังไม่ถูกกระทำโดยนโยบายการแทรกแซงแล้วหละก็ เทคนิคเหล่านี้ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ พยายามจินตนาการถึงการแทรกแซงที่คุณใช้  เมื่อทำให้ทุกสิ่งสงบลง

 1. นักเรียน (ที่อยู่หน้าห้อง) กล่าวว่า “ชั้นนี้ห่วย”

 ครู: “ฉันมั่นใจว่าเธอมีเหตุผลที่จะคิดเช่นนั้น แต่นี้ไม่ใช่เวลาที่จะพูดถึงมัน ฉันสัญญาจะฟังจากคุณหลังหมดชั้นนี้แล้ว”

 2. นักเรียนเรียกชื่อเพื่อนคนหนึ่ง และเพื่อนคนนั้นได้ต่อยเขา

 ครู (พูดกับเด็กที่ทำร้ายเพื่อนว่า): “เธอมีสิทธิที่จะปกป้องตนเองจากการดูหมิ่นเช่นนั้นได้ แต่การทุบตีไม่ใช่วิธีการที่เหมาะสมนัก พวกเราต้องมีการสนทนาในเรื่องนี้เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมต่อปัญหานี้ได้”

 3. นักเรียนพูดออกมาดังๆว่า “ฉันไม่ชอบชั้นนี้”

 ครู: “แต่เธอยังมา นั่นต้องใช้ความกล้าหาญอย่างมาก มาหาวิธีการที่จะทำให้ชั้นนี้เหมาะแก่เธอเถิด ฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเธอจะมีคำแนะนำที่ให้ประโยชน์นะ”

 4. นักเรียนของคุณกล่าวว่า “ฉันจะไม่ไป และครูบังคับฉันไม่ได้ ครูไม่ใช่เจ้านายฉัน”

 ครู: “นั่นเป็นการไม่ยอมที่ยิ่งใหญ่จริงๆ หากไม่มีใครให้ยากับเธอ นั่นเป็นสิ่งที่ฉันจะได้ยินจากคุณ เธอสามารถพูดมันอีกครั้งได้หรือไม่?

 5. นักเรียนบอกกับครูว่า “ไอ้แม่เ....ด

 ครู: “เธอจะต้องโกรธมากที่ใช้ภาษาอย่างนี้กับครู พวกเราต้องหาวิธีที่เหมาะสมในการแสดงออกซึ่งความโกรธอันนี้ แต่ตอนนี้ครูยังโมโหเธอมาก เอาไว้คุยกันตอนต่อไป หากพวกเราพร้อม”

 เหล่านี้คือตัวอย่าง พวกเราแต่ละคนสามารถหาน้ำเสียงที่เหมาะสมในการพูดเพื่อความเข้าใจ ความไม่จริงใจไม่เคยทำงานได้สำเร็จ เพราะเด็กๆจะอ่านพวกเราได้มากกว่าที่เรารู้

 หากตัวอย่างนี้ไม่เหมาะกับคุณ เธอสามารถใช้คติเก่าแก่นั้นได้ ก็คือ นับถึง 10 และถอนหายใจ และหากคุณมียุทธวิธีที่เหมาะสมอื่นๆ กรุณาบอกเราที่ comment ด้านล่าง

 

แปลและเรียบเรียงจาก Richard Curwin. Classroom Management: The Intervention Two-Step. http://www.edutopia.org/blog/classroom-management-intervention-two-step-richard-curwin?utm_source=facebook&utm_medium=socialflow

หมายเลขบันทึก: 652394เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2018 18:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กันยายน 2018 18:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท