Global PBL กับการสร้างพื้นที่นวัตกรรม เพื่อการทำงาน Engagement



ในการประชุมสัมมนาวิชาการ เรื่อง “Teaching and Learning in Higher Education in the 21st Century”  วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ที่ มทส.   Professor Masahiro Inoue, Vice President,  Shibaura Institute of Technology (SIT), Tokyo บรรยายเรื่อง Teaching and Learning in the 21st Century for Global Sustainability and Innovation    

ในการบรรยายตอนหนึ่ง ท่านเอ่ยถึง Global, Industry – Academia Collaborating Project Based Learning   โดยเรียกย่อๆ ว่า Global PBL   ที่น่าสนใจมาก    มีหลักการ Global PBL ของ SIT ที่ ()    

และเมื่อท่านลงท้ายว่า  ในการนำเสนอผลงานครั้งสุดท้าย  ทางสถาบันเชิญตัวแทนจากบริษัทอุตสาหกรรมในพื้นที่มาฟังด้วย    ผมก็ตีความว่า โครงการ PBL สามารถจัดการให้เป็นพื้นที่ทำงาน engagement กับฝ่ายต่างๆ ในพื้นที่ได้    โดย SIT ใช้วิธีเชิญมาฟังตอนโครงการเสร็จสิ้นแล้ว    เผื่อทางอุตสาหกรรมจะรับไปดำเนินการต่อ    และผมคิดต่อว่า น่าจะชวนบริษัทอุตสาหกรรมเข้าร่วมตั้งแต่ตอนตั้งโจทย์    ว่าเขามีประเด็นอะไรบ้างที่อยากพัฒนาหรือแก้ปัญหา     เพื่อให้ได้โจทย์จากอุตสาหกรรม

 เนื่องจากสไลด์ของท่านมีรายละเอียดมาก   ผมจึงถ่ายรูปจากเอกสารที่ได้รับแจก นำมาให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณารายละเอียด รวม ๑๐ ภาพ

เริ่มจากเป้าหมาย “Global Competency in Engineering”  ที่นอกจาก ASK (Affective Domain, Skills, Knowledge) แล้ว ยังมี I  รวมเป็น IASK   โดยที่ I ย่อมาจาก Identity  ซึ่งหมายถึงเป็นพลเมืองโลกไปพร้อมๆ กับเป็นพลเมืองของประเทศที่ตนเป็นสมาชิก (ดูรูปที่ ๑)  

โปรดดูรูปที่ ๒ – ๔ ประกอบ   โครงการนี้จัดที่ SIT   ใช้เวลาสั้นๆ เพียงสองสามสัปดาห์   โดยมีภาคีเข้าร่วม ๕ ภาคี เป็นบริษัทอุตสาหกรรม ๒   ธนาคาร ๑  เมือง ๑  และหมู่บ้าน ๑   เข้าแนว Social Engagement เปี๊ยบ    มี นศ. ต่างชาติเข้าร่วมด้วย จาก ๑๓ ประเทศรวมทั้งไทย (จาก มจธ., และ มทส.)    จะเห็นในรูปที่ ๔ เรื่องวิธีตั้งโจทย์   เขาปรึกษาภาคีก่อน โดยมีขั้นตอนที่ซับซ้อนสไตล์ญี่ปุ่นที่คิดละเอียดรอบคอบก่อนทำ    มีการพูดคุยสองทางกับภาคี เข้าแนว social engagement    แสดงว่า ตอนฟัง ผมจับประเด็นไม่ได้ว่าเขามีขั้นตอนตั้งโจทย์ร่วมกับ engagement partners อย่างดี       

แม้โครงการจะใช้เวลาสั้นๆ สองสามสัปดาห์   ก็ยังมีการลงภาคสนาม (field work) เป็นทีม   แต่ละทีมมีสมาชิกจากต่างสาขา เริ่มทำงานร่วมกันตั้งแต่รับโจทย์จากภาคี    เอามาทำความเข้าใจ และกำหนดเป็นจทย์ของโครงการ    ขั้นตอนของโครงการตั้งแต่ต้นจนจบ อยู่ในรูปที่ ๔

 จะเห็นในรูปที่ ๑๐ ว่า ต่อไปเขาจะบูรณาการงานวิจัยเข้ามาในกิจกรรมนี้ด้วย    ยิ่งตรงกับหลักการ engagement ที่เน้นการร่วมมือแบบบูรณาการภารกิจ

วิจารณ์ พานิช        

๓๑ ก.ค. ๖๑


1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

หมายเลขบันทึก: 652155เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2018 19:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กันยายน 2018 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท