ชีวิตที่พอเพียง 3256. บุคลิกแห่งความสำเร็จ ๗ ประการ



หนังสือ The Seven Habits of Highly Effective People (1989)  เขียนโดย Stephen R. Covey เป็นหนังสือขายดีระดับคลาสสิค     คือขายได้ต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มออกวางแผง    แนะนำบุคลิกแห่งความสำเร็จ ๗ ประการคือ

  • เป็นคนทำงานเชิงรุก   มุ่งมั่นสร้างอนาคตของตนเอง  ไม่ใช่รอโชคช่วย   ไม่หวังพึ่งเทวดาฟ้าดิน
  • เริ่มทำงานโดยมีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ในใจ    คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต เป็นคนที่มีเป้าหมายระยะยาวของชีวิต และมุมานะบากบั่นเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น    การทำงานก็เช่นเดียวกัน    ต้องมีเป้าหมายระยะยาว และเป้าหมายรายทาง    กำหนดเป้าหมายทั้งในระดับคุณค่าสูงส่ง  และในระดับปฏิบัติการ    แล้วมุ่งมั่นทำเพื่อบรรลุผลนั้น
  • ทำสิ่งที่สำคัญที่สุดก่อน    เมื่อกำหนดเป้าหมายสูงส่งที่ต้องการบรรลุในชีวิต   หรือในงานนั้น    ก็ต้องมียุทธวิธีเอาชนะความยุ่งเหยิงหลากหลายของงาน และชีวิตประจำวัน.   ด้วยการกำหนดลำดับความสำคัญของงาน    และทำงานสำคัญก่อน    อย่าปล่อยให้งานเร่งด่วนที่ไม่สำคัญมากินเวลาไปหมด  
  • คิดผลประโยชน์ร่วม (win – win)    คนส่วนใหญ่สมาทานกระบวนทัศน์ win – lose    หวังว่าตนเป็นผู้ได้ คนอื่นเป็นผู้เสีย    กระบวนทัศน์นี้ทำให้เราขาดโอกาสใช้พลังของผู้อื่นช่วยให้งานที่ยาก เราทำคนเดียวหรือฝ่ายเดียวสำเร็จได้ยาก  แต่หากใช้ท่าที “ผลประโยชน์ร่วม” เมื่อคนอื่นเห็นว่าหากช่วยกันทำให้งานนั้นสำเร็จเขาก็เป็นฝ่ายได้ หรือได้รับผลประโยชน์ด้วย    เราจะได้พลังของเขามาช่วยให้งานยากสำเร็จได้    
  • หาทางเข้าใจคนอื่นก่อน  แล้วจึงหาทางให้เขาเข้าใจเรา    นี่คือหลักของ empathy ความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น    ที่จะแสดงออกผ่านภาษากายมากกว่าภาษาวาจา     ที่เขาแนะนำคือ ทักษะการฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ (empathic listening)    หรือในภาษาไทยใช้คำว่า ฟังแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา    แล้วอีกฝ่ายหนึ่งจะสนองตอบในทางบวกได้โดยง่าย  ดังภาษิตโลกนิติว่า
  • สร้างพลังร่วม (synergy) ด้วยความจริงใจ (openness) และความเคารพ (respect)    หัวใจของความสำเร็จยิ่งใหญ่คือ ไม่ว่าทำอะไรกับใครต้องให้เกิดพลัง synergy    คนที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตยิ่งใหญ่ต้องมีทักษะสร้าง synergy ได้หมด   ไม่ว่าในสถานการณ์ที่มองต่างมุม หรือมีเป้าหมายต่างกัน  
  • ลับเครื่องมือให้คมยิ่งขึ้น    หมายความว่า ต้องเรียนรู้ในระหว่างการทำงาน    เป้าหมายของการทำงานไม่ใช่เพียงเพื่องานสำเร็จ แต่ตัวเรา (และเพื่อนร่วมงาน) ต้องเก่งขึ้นด้วย    อ่านถึงตรงนี้ผมนึกถึงเครื่องมือ KM

        การสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นแบบ win – win เป็นการสร้างภาคีหุ้นส่วน ที่จะมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน    ที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลกันตลอดชีวิต

            ให้ท่านท่านจักให้          ตอบสนอง

             นบท่านท่านจักปอง      นอบไหว้

             รักท่านท่านจักครอง     ความรัก  เรานา

             สามสิ่งนี้เว้นไว้             แต่ผู้ทรชน

        เขาแนะนำว่า อย่าตกหลุม “ฟังเพื่อตอบ” (listen to reply)   ให้ “ฟังเพื่อเข้าใจ” (listen to understand)

จุดเน้นคือ ต้องไม่ใช่แค่เปลี่ยนตื้นๆ ในระดับพฤติกรรม (behavior)   ต้องเปลี่ยนลึกเข้าไปในระดับยุคลิก (character)     คือต้องอย่าพัฒนาอยู่แค่ระดับทักษะ    ต้องพัฒนาเข้าไปในระดับคุณค่า  ความเชื่อ  หรือกระบวนทัศน์    และบุคลิกที่พึงประสงค์ก็เป็นเรื่องที่ยึดถือกันทั่วไป เช่น ความยุติธรรม  ความซื่อสัตย์  ความมั่นคงในคุณธรรม   

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ก.ค. ๖๑

       

 

หมายเลขบันทึก: 651827เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2018 20:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2018 20:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท