สมรรถนะ (Competency) ของ HRBP


สมรถนะ (Competency) หมายรวมถึง ความรู้ ทักษะ ความสามารถ บุคลิกภาพ ของบุคคล ที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อประสิทธิภาพในการทำงานของคนๆนั้น ประวัติความเป็นมาของการใช้ competency ของบุคคลในโลกการทำงานนั้นมีมานานแล้ว ส่วนใหญ่มักโฟกัสที่ผู้นำหรือกลุ่มผู้บริหาร ผู้จัดการ

ในบางบริษัทหาสมรรถนะของ HRBP โดยการทำแบบสัมภาษณ์เพื่อไปสอบถามว่า Line Manager ต้องการสิ่งใดจาก HRBP ซึ่งหากใช้วิธีการหา ชุดสมรรถนะ (Competency) ในรูปแบบนี้จะค่อนข้างมีลักษณะเฉพาะสำหรับองค์การนั้น ซึ่งบางทีอาจไม่สามารถใช้เป็นตัวแทนของสมรรถนะกลางในภาพรวมของ HRBP ได้

The danger is that executives may not know what they don’t know. – Brian E. Becker 

จากบทความของท่านอาจารย์ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร ได้กล่าวไว้ในบทความที่ท่านอาจารย์ได้เขียนว่า หน่วยงานที่เป็น HRBP จริงๆ จะต้องเป็นผู้สนับสนุนทางด้านการบริหารคน เพื่อให้กลยุทธ์ของธุรกิจไปสู่เป้าหมายให้ได้ โดยเฉพาะในช่วงนี้ช่วงปลายปี ซึ่ง HR ก็ต้องมีการวางแผนและเตรียมการให้พร้อม

  • รู้กลยุทธ์ของบริษัทในปีถัดไปแล้วหรือยัง HRBP ตอนนี้จะต้องทราบแล้วว่า กลยุทธ์ในการทำธุรกิจของบริษัทในปีหน้านั้น มีอะไรบ้าง และจะต้องเริ่มที่จะวางแผนเรื่องของการบริหารคนเพื่อให้สอดคล้องกับธุรกิจของบริษัทเรียบร้อยแล้วเช่นกัน เพราะอีกสัปดาห์เดียวก็จะปีใหม่แล้ว
  • แปลงแผนกลยุทธ์ของบริษัทออกมาเป็นแผนทรัพยากรบุคคล ช่วงนี้จะต้องแปลงแผนธุรกิจออกมาเป็นแผนทรัพยากรบุคคลเรียบร้อยแล้ว เพื่อที่จะเตรียมที่จะลุยได้ในต้นปีหน้า ไม่ว่าจะเป็นแผนอัตรากำลัง ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งแรกที่จะต้องคลอดออกมาให้ชัดเจน ว่าจะต้องมีอัตรากำลังคนเพิ่มขึ้นเท่าไหร่อย่างไร คนเก่าที่ทำงานอยู่เป็นอย่างไร กี่คน และต้องการคนใหม่ที่จะเข้ามาเสริมทัพอีกกี่คน ฯลฯ
  • เริ่มวางแผนในการสรรหาคัดเลือก ช่วงนี้แผนในการสรรหาคัดเลือกก็ต้องออกมาแล้วเช่นกัน เพราะมิฉะนั้นอาจจะไม่ทันการณ์ที่ธุรกิจได้วางแผนเอาไว้
  • แผนในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล แผนนี้ก็ต้องออก และต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัทด้วย เรียกได้ว่า พัฒนาพนักงานเพื่อไปตอบโจทย์กลยุทธ์หลักขององค์กรกันเลย
  • แผนในการปรับปรุงระบบค่าตอบแทน เรื่องถัดไปที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ ระบบค่าตอบแทนที่ใช้ในการบริหารอยู่ในปัจจุบันนั้น สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของบริษัทหรือไม่ ถ้าธุรกิจเน้นการเติบโตอย่างรวดเร็ว แผนในการบริหารค่าตอบแทนก็ควรจะเป็นคนละอย่างกับธุรกิจที่เริ่มอยู่ตัวแล้ว เป็นต้น ดังนั้น เรื่องของการบริหารค่าตอบแทนก็ต้องถูกพิจารณาอย่างดีว่า มันสอดคล้องกับแผนธุรกิจจริงๆ หรือไม่ เรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่มักจะถูกมองข้ามไป ไม่ว่าแผนกลยุทธ์ของธุรกิจจะเป็นอย่างไร แต่ระบบการบริหารค่าตอบแทนกลับไม่เคยเปลี่ยนแปลงอะไรเลย
  • แผนในการสร้างความผูกพันของพนักงาน อีกเรื่องหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ จะต้องมีการวางแผนเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการใหม่ๆ เพื่อทำให้ความผูกพันของพนักงานดีขึ้นเรื่อยๆ ทำอย่างไรให้พนักงานมีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น โดยอาจจะต้องพัฒนากลุ่มหัวหน้างาน ผู้จัดการ ให้ตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารคนอย่างได้ใจพนักงานมากขึ้น

สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ HRBP จะต้องเป็นเพื่อนคู่คิดของหน่วยงานหลักของบริษัท ในเรื่องของการบริหารคน ให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ รวมทั้งเป็น coach ให้กับผู้จัดการสายงาน และพนักงานในสายงานต่างๆ ในเรื่องของระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของบริษัท

ทั้งนี่ก็เพื่อให้ผู้จัดการสายงานไม่ต้องมากังวลเรื่องของระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล ให้มุ่งเน้นที่การทำงาน และบริหารผลงานของลูกน้องตนเองให้ทำงานให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

โดยเรื่องของระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลทั้งหมด ให้ยกเป็นหน้าที่ของ HRBP

จากที่กล่าวมาเบื้องต้นจะเห็นได้ว่า HRBP มีสมรรถนะที่จะต้องมีและมีงานที่จะต้องทำที่แตกต่างจาก HR Admin ในอดีต  และได้มีผู้ทำวิจัยและหาสมรรถนะของ HRBP ออกมา บทความนี้ขอนำเสนอในมุมของงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Michigan : Wayne Brockbank, Dale Lake, Dave Ulrich and Authur Yeung  จากกลุ่มตัวอย่าง 10,000 คนใน 91 ธุรกิจ (2001)

พบว่า ในมุมของบริษัท ได้ให้ความสำคัญกับ (เรียงตามลำดับการให้ความสำคัญ จากอันดับที่ให้ความสำคัญมากที่สุด)

  • Personal Credibility
  • Ability to manage change
  • Ability to manage culture
  • Delivery of Human resource Practice
  •  Understanding of the business
  • มีประวัติความสำเร็จ
  • สามารถสร้างความเชื่อมั่นและเชื่อถือในองค์การได้
  • สามารถทำให้ผู้อื่นมีความมั่นใจในตัว HRBP ได้
  • มีความเข้ากันได้กับผู้บริหารที่เป็น Key
  • มีการแสดงออกซึ่งความซื่อสัตย์ต่อองค์การ
  • มีความสามารถในการตั้งคำถามที่สำคัญได้
  • สามารถที่จะสรุปความคิดที่สลับซับซ้อนในงานให้ออกมาเข้าใจได้อย่างเป็นประโยชน์
  • กล้าเสี่ยงอย่างเหมาะสมต่อสถานการณ์
  • นำเสนอการสังเกตเห็นสถานการณ์ได้อย่างตรงไปตรงมา
  • ให้ข้อมูลทางเลือกในเชิงลึกเกี่ยวกับประเด็นที่สำคัญในปัญหาที่เกิดขึ้นในธุรกิจ
  • สามารถที่จะทำให้ผู้อื่นเชื่อมั่น เชื่อใจ และมีเครดิตต่อผู้อื่น
  • มีวิสัยทัศน์
  • มีบทบาทเชิงรุกในการเปลี่ยนแปลง
  • สามารถสร้างความร่วมมือจากผู้อื่นได้
  • สามารถกระตุ้นในผู้อื่นมาร่วมคิดสร้างสรรค์ได้
  • มองเห็นประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในภาพระบบขนาดใหญ่ได้
  • ระบุการจัดการปัญหาเพื่อให้องค์การประสบความสำเร็จได้อย่างมีความเป็นกลาง
  • แบ่งปันความรู้ไปทั้งองค์การ
  • สามารถที่จะเป็นเจ้าภาพที่จะทำระบบการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การได้
  • สามารถที่จะนำวัฒนธรรมให้กลายมาเป็นนิสัยในการปฏิบัติได้จริง
  • สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสภาวะการที่มีการหยุดนิ่งในเชิงการเปลี่ยนแปลงในองค์การ
  • ระบุวัฒนธรรมองค์การที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนองค์การได้
  • ทำกลยุทธ์ทางธุรกิจและกรอบวัฒนธรรมในทิศทางให้พนักงานมีความรู้สึกตื่นเต้นได้
  • ส่งเสริมให้ผู้บริหารมีพฤติกรรมที่ระบุได้ว่าเป็นวัฒนธรรมอย่างสม่ำเสมอ
  • โฟกัสวัฒนธรรมองค์การให้ลูกค้าภายนอกได้รับรู้
  • สื่อสารอย่างตรงไปตรงมาและชัดเจน
  • ทำงานร่วมกันกับผู้จัดการเพื่อที่จะสื่อสารอย่างชัดเจนและสม่ำเสมอ
  • สื่อสารด้วยเอกสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • อำนวยให้สามารถเปลี่ยนโครงสร้างได้ภายในองค์การ
  • ออกแบบโปรแกรมที่จะอำนวยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
  • ออกแบบกระบวนการในการสื่อสารภายใน
  • ออกแบบระบบการจ่ายค่าตอบแทน
  • การปฏิบัติงานของนัก HR
  • โครงสร้างองค์การ
  • การวิเคราะห์คู่แข่ง
  • การเงิน
  • การตลาดและการขาย
  • ระบบสารสนเทศ

 

เข้าใจในสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้

 

THITIWAN SINTHUNOK Ph.D. ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาองค์การและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และโค้ชที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์โค้ชนานาชาติ(ICF) ในระดับ PCC สนใจสอบถามข้อมูลแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ที่  Line id    thitis_kamar.band  www.thitilak.com tel. 0813744659

 

หมายเลขบันทึก: 651760เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2018 13:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ตุลาคม 2020 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท