การตั้งเป้าหมาย Goal Setting ในการโค้ชสำหรับหัวหน้างานเพื่อให้เกิดความสำเร็จโดยการไม่ติดในความเคยชินเดิมๆในเชิงลบ


A Goal is a dream with a deadline - Napoleon Hill

การตั้งเป้าหมาย (Goal Setting)  มีสองอย่างที่มีความหมายเป็นนัยคำนี้ได้คือ  หนึ่ง คือ ต้องการความสำเร็จอย่างแท้จริง หรือ สอง คือ แค่ทำให้ไปถึงสิ่งที่กำหนดนั้นเท่านั้นเอง  

เราต่างต้องการความสำเร็จ หรือเป็นเพียงเรื่องฝันกลางวันของเราเท่านั้น สิ่งต่างจะคลุมเครือ  จนกว่าที่เราจะให้ 1. คำนิยาม 2.ให้คำมั่นสัญญาที่จะไปถึงเป้าหมายและ 3. ลงมือทำ 

ในวันนี้จะนำเสนอบางเทคนิคสำหรับการตั้งเป้าหมาย ซึ่งช่วยขยายขีดศักยภาพสูงสุดให้กับการได้รับโอกาสของคนคนหนึ่ง  ที่จะประสบความสำเร็จ  ซึ่งสามารถที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงานกับพนักงานและช่วยในพวกเขาประสบความสำเร็จได้ ซึ่งความสำเร็จของพวกเขาคือความสำเร็จของหัวหน้านั่นแหละค่ะ

ที่ผ่านมามีการตั้งเป้าหมายในบริบทการทำงานเสมอ ในทุกความสำคัญและความเร่งด่วนของงาน ในทุกโครงการ ในทุกทีม ในทุกการประชุม สำหรับในที่ประชุมนั้นเป็นโอกาสอันดีที่จะกำหนดเป้าหมายเสมอ  อาจเป็นเป้าหมายประจำสัปดาห์หรือประจำในแต่ละเดือน ซึ่งสามารถทำได้แบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ  และในบางครั้งสามาถทำได้โดยใช้เวลาอันสั้น และตัวหัวหน้าเองสามารถจะใช้เทคนิคนี้สำหรับการตั้งเป้าหมายสำหรับตัวเองได้เช่นกัน

เป้าหมาย (Goal Setting) ควรเป็นไปในเรื่องที่เป็นเชิงบวก มุ่งเน้นในสิ่งที่เราต้องการ ไม่ใช่มุ่งไปยังสิ่งที่เราไม่ต้องการเหมือนเช่นที่เคยเป็นมาในอดีต เพราะไม่เช่นนั้นแล้วจุดที่เรามุ่งเน้นและพลังงานของเราทั้งหมดจะไปอยู่ที่แนวคิดเชิงลบ แต่ในความเป็นจริงแล้วส่วนใหญ่เมื่อเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นเรามักลืม และคนเรามักเริ่มต้นการตั้งเป้าหมายด้วย list ของสิ่งต่างๆที่พวกเค้าเองไม่ต้องการ เช่น ฉันไม่ต้องการให้โครงการล้มเหลว , ฉันไม่ต้องการที่จะทำงาน 90 ชั่วโมงต่อหนึ่งสัปดาห์ หรือฉันไม่ต้องการที่จะเดินทางบ่อยนัก บางที่คนจำนวนมากไม่รู้ว่าพวกเค้าต้องการอะไร เพราะว่าเค้ามักจะให้ความสนใจกับสิ่งที่พวกเค้าไม่ต้องการมากกว่า บางทีหัวหน้าที่ทำหน้าที่โค้ช อาจต้องใช้ความพยายามที่จะทำให้พวกเค้าเดินไปในทิศทางที่ตรงกับความต้องการของพวกเค้าจริงๆ

คำถามที่จะถามได้เพื่อกระตุ้นให้คิดในเรื่องการตั้งเป้าหมาย โดยเน้นในเรื่องที่พวกเขาต้องการจริงๆ เช่น

  • คุณต้องการสิ่งใดกันแน่ (สามารถถามซ้ำได้ หรือหลายครั้งได้ เมื่อสัมผัสได้ถึงความสับสน)

  • ฉันเข้าใจในสิ่งที่คุณพูดว่าคุณไม่ต้องการ ถ้าคุณไม่ต้องการสิ่งนั้น และอะไรหละที่คุณต้องการ

  • ถ้าคุณต้องการลดอะไรบางอย่าง(เช่น ความคับข้องใจ) แล้วอะไรคือสิ่งที่คุณต้องการมากขึ้น

  • คุณได้เรียนรู้อะไร จากสิ่งที่คุณไม่ต้องการ และเราจะเดินไปข้างหน้าอย่างไร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในทางบวก 

“พุ่งจุดสนใจไปที่มุมบวก แล้วเราจะเพิ่มความตั้งใจและพลังงานไปในทิศทางที่ถูกต้อง”

THITIWAN SINTHUNOK Ph.D. CERTIFIED  COACH (PCC)  BY ICF

สนใจสอบถามข้อมูลแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ที่  Line id    thitis_kamar.band  www.thitilak.com tel. 0813744659

หมายเลขบันทึก: 651710เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2018 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2020 13:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท