ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (1)


เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม  2561 มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้เกียรติชวนไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนิสิตจำนวนเกือบ 400 คน ในโครงการพัฒนาศักยภาพนิสิต เพื่อผลิตบัณฑิตคุณภาพ เพื่อเสริมสร้างทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 แล้วกำหนดหัวข้อให้ผมไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง “ทักษะด้านความร่วมกัน  การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ” อันเป็นทักษะ 1 ใน 7C สำหรับคนในศตวรรษที่ 21

ผมตื่นตัวมากที่จะไป ลปรร.ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร แต่เตรียมตัวน้อยมาก เพราะเป็นห้วงที่ชีวิตต้องจัดการงานต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้ามาพร้อม ๆ กัน แล้วก็คิดว่าจะเอาอะไรไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับน้อง ๆ นิสิตที่ มน.

ผมพยายามหานิยามของ 3 คำ “ทักษะด้านความร่วมกัน  การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ” โดยเฉพาะ ทักษะด้านความร่วมมือ แต่ก็ไม่ค่อยมีใครนิยามหรือเขียนอธิบายเรื่องนี้ไว้ ผมจึงพยายามกลั่นกรองความคิดของตัวเองแล้วพิมพ์ลงบนสไลด์ใน Power Point ว่า ทักษะความร่วมมือ สิ่งสำคัญคือ การเปิดใจยอมรับ “ความต่าง” ทางความคิด เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม สภาพร่างกาย แต่มี “เป้าหมายร่วมกัน”  เพื่อทำให้ภารกิจนั้น ๆ “สำเร็จ”

แต่การเตรียมตัวที่น้อย จึงทำให้ร้อยเรียงเรื่องราวได้ไม่งดงามดั่งใจหวัง อีกทั้งพลังของการมีแรงบันดาลใจดูจะหดหายไปด้วยในห้วงที่ผ่านมา ...

ใน 3 คำ ผมให้ความสำคัญกับเรื่องของทักษะความร่วมมือมากกว่า การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ เพราะเชื่อว่า น้อง ๆ นิสิตนักศึกษาในยุคปัจจุบัน คงมีทักษะดังกล่าวมาบ้างแล้ว แต่ทักษะความร่วมมือเป้นเรื่องที่จะพยายามเน้น แต่ทั้ง 3 คำก็ดูจะขาดจากกันไม่ได้ เพราะท้ายที่สุดแล้ว “ความสำเร็จ” ในหลาย ๆ เรื่องบนโลกใบนี้ ก็ล้วนต้องอาศัย “ภาวะผู้นำ” ผสมผสาน “การทำงานเป็นทีม” และ “ความร่วมมือ” อันจะนำไปสู่ความสำเร็จ “ร่วมกัน”

วันนี้เลยได้มีโอกาสอ่านข้อคิดเห็นของอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากการให้สัมภาษณ์สื่อเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 ในเรื่องของการพัฒนานักศึกษา ผมอ่านแล้วผมรู้สึกชื่นชมความคิดท่านที่ชี้ให้เห็นเรื่องราวของ “ทักษะการเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีมและความร่วมมือ” ของคนยุคนี้.....

 

รศ.เกศินี  วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า  “การอยู่บนโลกนี้  ต้องมีความคิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหาได้  สามารถดึงข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ หรือที่เรียกว่า Big Data รวมทั้งทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ต้องมีเพื่อน มีพาร์ตเนอร์  การเรียนการสอนต้องมีทั้งในและนอกห้องเรียน เพื่อให้เด็กอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง สิ่งเหล่านี้คือความท้าทาย”

ที่มา : https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_736402

ตอนที่ 1 ก็ขอจบแบบสั้น ๆ ห้วน ๆ แบบนี้ก่อนนะครับ แล้วเดี๋ยวจะพยายามมาบันทึกตอนถัด ๆ ไป ให้สมบูรณ์ครับ

ขอบคุณภาพ รศ.เกศินี  วิฑูรชาติ จากสำนักข่าวอิศรา

หมายเลขบันทึก: 651542เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2018 18:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กันยายน 2018 08:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท