ชีวิตที่พอเพียง 3250. ข้อเรียนรู้จากการช่วยทีมหมูป่าออกจากถ้ำ



วันอาทิตย์ที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑    ผมลองค้นหาข่าวการช่วยทีมฟุตบอลล์หมูป่าอาคาเดมีออกจากถ้ำหลวง  ใน นสพ. New York Times เพื่ออ่านเรื่องราวจากมุมมองฝรั่ง    พบบทความนี้ ()   

ข้อมูลที่น่าสนใจคือ “Interviews with military personnel and officials detailed a Thailand cave rescue operation assembled from an amalgam of muscle and brainpower from around the world: 10,000 people participated, including 2,000 soldiers, 200 divers and representatives from 100 government agencies.”

จำนวนผู้เกี่ยวข้องกับมหกรรมช่วยทีมหมูป่าออกจากถ้ำ มากอย่างไม่น่าเชื่อ    นี่ยังไม่รวมกองทัพนักข่าว

ข้อเรียนรู้ของผมคือ มนุษย์เรามีขีดความสามารถเชิงสร้างสรรค์มากกว่าที่คิด    แต่น่าเสียดายที่เราใช้พลังไปในทางลบเสียมาก   ข้อเตือนสติคนไทยตามลิ้งค์ข้างล่างจึงน่าอ่านเป็นอย่างยิ่ง

ทั้ง ๑๓ คนเข้าไปเที่ยวถ้ำหลวงในวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๑    ได้รับการช่วยเหลือออกมาในวันที่ ๙ และ ๑๐ กรกฎาคม    โดยทีมค้นหาพบเด็กและโค้ชในวันที่ ๒ กรกฎาคม อย่างบังเอิญ

มีความรู้อยู่ในรายละเอียดของการค้นหาและช่วยเหลือเด็กออกจากถ้ำมากมาย    แค่อ่านบทความของ NY Times บทความเดียวก็เห็นชัดว่าการช่วยเหลือครั้งนี้ ใช้ความรู้และทักษะเรื่องถ้ำ และการดำน้ำในถ้ำ จากทั่วโลก    และเห็นชัดว่า ความรู้เกี่ยวกับถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ที่ยังไม่เคยรับรู้กัน คราวนี้หลายส่วนก็เป็นที่รับรู้    น่าจะมีการรวบรวมความรู้ใหม่เหล่านั้นไว้ใช้ในการจัดการทรัพยากรถ้ำ และจัดการแหล่งท่องเที่ยว ในอนาคต  

อ. หมอประเวศ เขียนเสนอข้อเรียนรู้ของคนไทยที่ ()

สมัยผมเป็นผู้อำนวยการ สกว. ได้ริเริ่มโครงการวิจัยถ้ำ และดำเนินการต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน  ดังข่าว ()

วิจารณ์ พานิช

๒๒ ก.ค. ๖๑


 

หมายเลขบันทึก: 650913เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2018 20:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 สิงหาคม 2018 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท