Transformative Learning Workshop ที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์



ศ. นพ. สุรศักดิ์ บูรณะตรีเวทย์ กรุณาส่งบันทึกข้างล่างมาให้    ผมจึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อ    ให้ผู้สนใจได้รับรู้ความเคลื่อนไหวเรื่อง Transformative Learning  

 

สวรรค์ประชารักษ์ สมเป็นนครแห่งสวรรค์

เมื่อวาน (14 กค 61) มีโอกาสไปร่วมจัด WS transformative learning ที่ รพ สวรรค์ประชากรักษ์ ก่อนเริ่มงานได้คุยกับ ผอ ศูนย์แพทย์ฯ สววรค์ประชารักษ์ ได้ทราบถึงความตั้งใจของพี่เขาในการที่ตนเองได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ผ่านการอบรมต่างๆ และจัดการเรียนรู้เองโดยที่ตอนนั้นยังไม่รู้ว่า เรียกว่า transformative learning พอครั้งที่ทาง สบพช จัดการเรียนรู้ในกลุ่มอาจารย์และทางกลุ่ม TL ได้ไปร่วมแลกเปลี่ยนด้วย พี่เขา (จริงๆ ต้องเธอ) จึงติดต่อสมาชิกคนหนึ่งของกลุ่ม TL ให้ไปช่วยจัด WS เมื่อวานนี้ โดยวัตถุประสงค์หลัก คือ ต้องการจัดกิจกรรมให้กับ อ ใหม่

เริ่มงาน check in ให้จับคู่แนะนำชื่อ ชื่อเล่น และให้บอกลักษณะเด่นของตนเองสั้นๆ แล้วเปลี่ยนคู่ไปแนะนำตัวต่อไป ผมได้แนะนำตัว 3 คู่ คนแรกเป็น อ วิทยาลัยพยาบาล ใกล้จะเกษียณแล้ว แต่ อ ท่านรักการเรียนรู้ ท่านได้เรียนรู้เกี่ยวกับ TL, จิตตปัญญามาแล้ว และได้จัดการเรียนรู้แบบนี้มาด้วยตนเองแล้ว แต่ท่านก็ยังอยากที่จะมาเรียนรู้แลกเปลี่ยนในงานนี้น่าประทับใจมาก อีกคนหนึ่งเป็น อ Hemato ที่เพิ่งจบมา อ เขามีความสนใจอยากที่จะเรียนรู้วิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้อย่างดี คนสุดท้ายเป็น อ CVT ที่เพิ่งจบมาเช่นกัน อ เขาเป็นคนที่สนใจใฝ่รู้อยากได้กระบวนการที่เอาไปทำได้จริง จากนั้นให้มาแนะนำตัวกลุ่มใหญ่และบอกถึงคู่ที่แนะนำกันแล้วประทับใจ แค่เริ่มก็รับรู้ได้ถึงความสนใจใฝ่รู้ ตั้งใจมาเข้า WS อย่างจริงจัง ไม่ได้จากการถูกบังคับเข้าเท่านั้น

จากนั้นให้ อ แต่ละคนตอบคำถามว่ามีความอยากเป็นอาจารย์มากน้อยแค่ไหน เพราะ อะไร ในชวงนี้ อ แต่ละคนได้เล่าถึงแรงบันดาลใจในการเป็นอาจารย์ของตนเองทั้งจากคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นครูจนถึงการที่เห็นแบบอย่างที่ดี และการที่ตนเองต้องการสอนนักศึกษาให้ดี แม้แต่คนที่อยากเป็นอาจารย์น้อยก็ยังมีความต้องการพัฒนาตนเองให้เป็นอาจารย์ที่ดี

จากนั้นให้เล่นเกมพับกล่อง โดยให้แต่ละคนพับกระดาษ A4 ให้เป็นกล่องที่มีฝาปิดโดยไม่ให้ฉีกกระดาษ แต่ละคนพับกล่องกระดาษตามแบบของตนเอง บางคนดูคนรอบข้าง บางคนพับด้วยตนเอง บางคนช่วยคนข้างๆ พับ (กติกาไม่ได้บอกว่าดูคนข้างๆ ไม่ได้) จากนั้นมานั่ง reflection กันถึงกิจกรรมที่ทำ และการเป็นัวตนของตนเองที่สื่อออกมาจากการพับกล่อง รวมถึงลักษณะดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร ขั้นตอนนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้กระบวนการหลัก TL ของ Mezirow 2 กระบวนการ คือ reflection และ discourse ผ่าน dilemma คือ การพับกล่อง ระหว่างกระบวนการสมาชิกทุกคนมีทักษะการฟังที่ดีมาก ตั้งใจฟัง ไม่พูดขัด รอจนอีกฝ่ายพูดจบจึงถามหรือพูด เป็นลักษณะที่ดีของคนเข้าร่วมจริงๆ

ระหว่างกินข้าวได้พูดคุยกับ อ นิติเวชที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา จึงปรับแผนกันแทนที่จะเริ่มการคุยกลุ่มย่อยออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ transformative learning ก็เปลี่ยนมาเริ่มโดยให้จัดกลุ่มย่อยคุยเรื่องการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของแต่ละคน และสิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น

เริ่มตอนบ่ายด้วยเกมให้จับคู่ คนหนึ่งกำมือ อีกคนพยายามทำให้คนที่กำมือแบมือออกมาให้ได้ แล้วสลับกัน แต่ละคู่มีวิธีที่แตกต่างกันไป ทั้งใช้แรงง้างมือ เกลี้ยกล่อม หลอกล่อ เกมนี้สื่อให้เห็นว่า การที่จะทำให้คนอื่นเปลี่ยนแปลงตามที่เราต้องการเป็นสิ่งที่อยาก ดังนั้น ควรเปลี่ยนแปลงตนเองแทนที่จะไปเปลี่ยนแปลงคนอื่น

จากนั้น ให้แบ่งกลุ่มย่อย แลกเปลี่ยนการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของแต่ละคนที่เปลี่ยนแปลงอย่างถาวรจากเมื่อก่อน และสิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จากนั้น ให้มาแลกเปลี่ยนในกลุ่มใหญ่ มีเรื่องที่ประทับใจผม 2 เรื่อง คือ เรื่องแรก อาจารย์นิติเวชที่คุยกันตอนกินข้าวถึงการเปลี่ยนแปลงของตนเอง อ ท่านนี้มาทำงานได้ 2 ปี พอเข้ามาทำงานก็ได้รับ line ผ่านทาง line อ ทั้ง รพ ตำหนิ อ ท่านนี้กับ อ นิติเวชอีกท่านที่ทั้งสองเพิ่งเข้ามาทำงานว่า ทำไมไม่ทำงานออกไปชันสูตรศพนอกสถานที่ทุกคน ซึ่งหาก อ เขาทำอย่างนั้นจะไม่มีเวลาทำงานอย่างอื่นเลย อ เขาทุกข์และโกรธเรื่องดังกล่าวมาก รอง ผอ รพ ได้เรียก อ เขาเข้าพบ และบอกว่าลองไปอ่านเรื่อง transformative learning ของ Mezirow ดู เมื่อ อ เขาไปอ่านและตีความออกมาทำให้ อ เขาเข้าใจว่าแค่การที่ อ เขาเปลี่ยนมุมมองใหม่ ไม่ทุกข์กับสิ่งที่คนอื่นว่า แต่ทำในสิ่งที่ตนเองสามารถก่อประโยชน์ได้ อ เขาก็ไม่โกรธไม่ทุกข์กับเรื่องดังกล่าว และ อ เขาปัจจุบันก็ทำงานเป็น กก ร่วม 20 กว่าขุด โดยไม่รู้สึกเหนื่อยและไม่เดือดเนื้อร้อนใจเวลาที่ทำไม่ได้ อ เขามีลักษณะที่สำคัญ คือ ทุกคืน อ เขาจะทบทวนชีวิตของตนเองในแต่ละวัน และมีเหมือนตัวเองอีกคนมาคอย discourse กับตนเอง

อีกคนหนึ่งเป็น net idol คุณหมอผู้หญิง ศัลย์ยูโรที่เป็นนักเพาะกล้ามแชมป์ประเทศไทย อ เขาเล่าเรื่องการเปลี่ยนแปลงเกิดจากการที่ตรวจคนไข้เบาหวาน ความดันสูง แล้วเห็นว่า พฤติกรรมการกิน การออกกำลังกายทำให้คนไข้เป็นโรคนี้กันมาก และตัวเองไปแข่งบาสกับบุคลากรและพบว่าตัวเองเหนื่อยมากเพียงเล่นไปไม่นานเมื่อเทียบกับพี่ๆ ที่อายุ 50 กว่าปีที่เล่นด้วย จึงไม่อยากให้ตนเองเมื่อายุมากขึ้นมีสภาพร่างกายไม่ดีและป่วยเป็นโรค จึงพยายามคุมอาหารและออกกำลังกาย แต่คุมอาหารอย่างไรก็เกิด yoyo effect ตามมา จนกระทั้งพบ trainer ที่มาเป็นคู่ชีวิตในภายหลังได้แนะนำให้ อ เขาได้ทบทวนกระบวนการของตนเอง ก็ได้กินอาหารอย่างเหมาะสม และออกกำลังกายอย่างมีวินัย จนกระทั้่งภายหลังได้หันมาสนใจเรื่องการเพาะกาย เพราะ ต้องการสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่น ถึงแม้ต้อง train dent ศัลย์ยูโรไปด้วยในช่วงนั้น เป็นแบบอย่างที่ดีของคนที่สามารถทำฝันของตนเองให้เป็นจริงได้ควบคู่กับการเป็นหมอ ทำให้นึกถึงกิจกรรม dream do done ของ รพ สุรินทร์ที่ให้ อ ได้มาแลกเปลี่ยนงานอดิเรกของตนเองที่ชอบกับนักศึกษาและ อ ท่านอื่น

กิจกรรมสุดท้ายให้แบ่ง 3 กลุ่ม เล่าประสบการณ์ของตนเองที่เคยจัดการเรียนรู้ที่คล้ายกับ transformative learning และลองออกแบบการจัดการเรียนรู้ดู กลุ่มแรกออกแบบ creative morbidity mortality conference ที่เปลี่ยนจากการพูดคุยแบบหาคนผิด เป็นพูดคุยเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่สามารถแก้ไขไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวในอนาคตอีกได้ โดยคนฟังรู้สึกถูกกดดันน้อย

กลุ่มที่ 2 นำเสนอการจัดการเรียนรู้สำหรับการไปเรียนรู้ประสบการณ์จริงในโรงพยาบาลชุมชน มีการจัดทำบันทึกการเรียนรู้ และรวบรวมเป็น journal ของทั้งกลุ่ม

กลุ่มที่ 3 วางแผนจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้นักศึกษาได้เรียนถึงการสื่อสาร บอกข่าวร้าย และการดูแลผู้ป่วยในมิติอื่นๆ ร่วมกับการเจ็บป่วยทางกาย

ช่วง check out คนที่เข้าร่วมส่วนใหญ่ (เกือบ 90%) อยู่จนจบงานเกือบ 5 โมงเย็น เมื่อให้บอกว่าแต่ละคนจะไปทำอะไรต่อไปบ้าง แต่ละคนได้บอกว่าได้เรียนรู้แนวทางการเรียนการสอนแบบใหม่และจะนำไปปรับใช้

สำหรับผมเป็นอีกที่ที่มีประกายความมุ่งมั่นมีทั้ง อ แพทย์รุ่นใหม่ อ แพทย์รุ่นเก่า อ พยาบาล และแพทย์พยาบาลจากดรงพยาบาลชุมชนมาร่วมกิจกรรมและต่อไปคงได้จัดการเรียนรู้ร่วมกันทำสิ่งดีๆ ออกมาได้อีกอย่างแน่นอน

ขอบคุณ อ Satang Supapon ที่ให้ผมได้มีโอกาสไปร่วมด้วยครับ ขอบคุณเพื่อนกลุ่ม TL ที่ทำให้ได้มีโอกาสในวันนี้

 

จะเห็นว่า มีเรื่องราวตัวอย่างชีวิตส่วนตัวของอาจารย์แพทย์ที่เกิด transformation ในตัวเอง อย่างน่าชื่นชม

วิจารณ์ พานิช

๑๙ ก.ค. ๖๑


 

หมายเลขบันทึก: 650888เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2018 19:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 สิงหาคม 2018 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท