สะท้อนคิด KM LO to TL


สะท้อนคิด KM LO to TL

เสร็จการทำกระบวนการ KM QA ร่วมกับคณาจารย์จาก วพบ,วสส ภาคเหนือ สังกัด สบช. ได้มีโอกาสใคร่ครวญในตนเอง บนวิถีการทำงาน ซึ่งเป็นการทำงานที่ไม่ใข่ในฐานะผู้เชี่ยวชาญอะไรเลย หากแต่ได้รับโอกาสจากผู้จัดชวนไปเรียนรู้ร่วมด้วย

ได้ข้อสรุปกับตนเองว่า ยิ่งทำงานในลักษณะนี้ ยิ่งเกิดมุมมองต่อความรู้ต่างๆ รอบตัวกว้างขวางมากขึ้น เห็นตัวเองเล็กลง น้อมมองเข้ามายิ่งตระหนักรู้ว่าเราไม่รู้อะไรเลยอีกมากมาย

การจัดการความรู้ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและเมื่อเกี่ยวพันกับองค์กรที่นำไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงแล้วได้ข้อสรุปกับตัวเองว่า

LO ต้องดูต่อเนื่องระยะเวลาหนึ่งและยิ่งใช้ KM มาเป็นเครื่องมือ จึงต้องดูว่า นอกจากจะเกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้แล้ว ตัวรู้ New Knowledge มีอะไรบ้าง มีการ Transfer Knowledge อย่างไร และเกิด Interactive Learning ในองค์กรหรือเปล่า และที่สำคัญคนในองค์กรเกิด New Mindset และ Transformation หรือไม่ ค่อนข้างท้าทายในแง่ของการเรียนรู้

ยิ่งถ้าองค์กรไหนมีการ Rotate คนทำงาน ถ้าใช้ฐานของ KM เข้ามาจับจะมีการเกิดการหมุนเกลียวความรู้และ Transfer Knowledge เกิดขึ้น แต่ถ้าไม่ได้ใช้ KM คนทำงานจะรู้สึกยุ่งยากและรู้สึกเป็นภาระกับการต้องมาเรียนรู้ใหม่ ดังนั้นการจัดการในเชิงบริหารเพื่อให้คนทำงานเกิดการเรียนรู้และมีแรงบันดาลใจ จะต้องใช้ Skill ต่างๆ ของ KM มาใช้โดยเฉพาะ Share&Learning ร่วมกับการทำ Critical Reflection กันอยู่บ่อยๆ และมีการทำ AAR ร่วมด้วย

#Noteความคิด

15-08-61


คำสำคัญ (Tags): #km#lo#transformation#transformative learning
หมายเลขบันทึก: 649763เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2018 21:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2018 21:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท