๘๐๔. การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking)


การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking)

การคิดวิเคราะห์งาน ในความหมาย คือ หมายความถึง การทำความเข้าใจและวิเคราะห์สถานการณ์ ประเด็น ปัญหา แนวคิด โดยการแยกแยะประเด็นออกเป็นส่วนย่อย ๆ หรือทีละขั้นตอน รวมถึงการจัดหมวดหมู่อย่างเป็นระบบ ระเบียบ นำมาเปรียบเทียบแง่มุมต่าง ๆ สามารถลำดับความสำคัญ ช่วงเวลา เหตุและผลที่มาที่ไปของกรณีต่าง ๆ ได้

อันดับแรก คือ การแยะแยะประเด็นปัญหา หรืองานออกเป็นส่วนย่อย ๆ ซึ่งอาจแยกแยะปัญหาออกเป็นรายการอย่างง่าย ๆ ได้โดยไม่เรียงลำดับความสำคัญ แต่สามารถแยกประเด็นออกได้ หรือการวางแผนงานโดยแตกประเด็นปัญหาออกเป็นส่วน ๆ หรือเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ได้

อันดับสอง คือ เมื่อทำอันดับแรกแล้ว ต้องเข้าใจความสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานของปัญหาหรืองานนั้น ๆ โดยระบุเหตุและผล ในแต่ละสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ให้ระบุข้อดี ข้อเสียของประเด็นต่าง ๆ ได้ มีการวางแผนงานโดยจัดเรียงงาน หรือกิจกรรมต่าง ๆ ตามลำดับความสำคัญหรือความเร่งด่วนของงานออกมาได้

อันดับสาม คือ การทำอันดับแรก อันดับสอง และทำความเข้าใจความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของปัญหาหรืองานนั้น ๆ โดยเชื่อมโยงเหตุปัจจัยที่ซับซ้อนของแต่ละสถานการณ์หรือเหตุการณ์ได้ อาจวางแผนงานโดยกำหนดกิจกรรม ขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ ที่ผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถคาดการณ์ เกี่ยวกับปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นได้

อันดับสี่ คือ การทำอันดับแรก อันดับสอง อันดับสามแล้ว และสามารถวิเคราะห์ หรือวางแผนงานที่ซับซ้อนได้ โดยเข้าใจประเด็นปัญหาในระดับที่สามารถแยกแยะเหตุปัจจัย เชื่อมโยงที่ซับซ้อนในรายละเอียดและสามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัญหากับสถานการณ์หนึ่ง ๆ ได้ หรือวางแผนงานที่ซับซ้อนโดยกำหนดกิจกรรม ขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ ที่มีหน่วยงานหรือผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย รวมถึงการคาดการณ์ปัญหา อุปสรรคและวางแนวทางการป้องกันแก้ไขไว้ล่วงหน้า

อันดับที่ห้า คือ การทำอันดับแรก อันดับสอง อันดับสามและอันดับสี่ด้วยแล้ว ใช้เทคนิคและรูปแบบต่าง ๆ ในการกำหนดแผนงาน หรือขั้นตอนการทำงานเพื่อเตรียมทางเลือกสำหรับการป้องกัน หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ที่เหมาะสมในการแยะแยะประเด็นปัญหาที่ซับซ้อนเป็นส่วน ๆ หรือใช้เทคนิคการวิเคราะห์หลากหลายรูปแบบเพื่อหาทางเลือกในการแก้ปัญหา รวมถึงพิจารณาข้อดี ข้อเสียของทางเลือกในแต่ละทาง หรือวางแผนงานที่ซับซ้อนโดยกำหนดเป็นกิจกรรม ขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ ที่มีหน่วยงานหรือผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายคาดการณ์ปัญหา อุปสรรค แนวทางการป้องกันแก้ไข รวมทั้งเสนอแนะทางเลือกและข้อดี ข้อเสียไว้ให้

ขั้นตอนของการวิเคราะห์งานสามารถกระทำได้ตั้งแต่เริ่มแรกของการได้รับผิดชอบงาน...มองทุกเรื่องที่รับผิดชอบด้วยการวิเคราะห์ ควรหัดฝึกเป็นคนวิเคราะห์ แยกแยะสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน หรืองานจนเป็นนิสัย เพราะคือ การฝึกให้ตนเองหัดเป็นคนคิด วิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวของเราเอง อาจกล่าวได้ว่า การคิดวิเคราะห์งาน คือ การวางรูปแบบของระบบงานให้มีระบบที่ดี สามารถแยกแยะส่วนดี ไม่ดีของงาน หรือสิ่งที่ตัวเราเองวิเคราะห์ได้...เป็นการคิดในเชิงระบบของงาน...ซึ่งการคิดวิเคราะห์ ถือได้ว่าเป็นพฤติกรรมหนึ่งที่ในอนาคตควรฝึกให้เกิดขึ้นต่อการทำงาน เพราะจะทำให้เกิดแนวคิด สิ่งที่ต่อยอดในอนาคตได้ในการนำมาใช้ประโยชน์ของงาน

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเข้ามาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ  แสงเงิน

๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๑

หมายเลขบันทึก: 648331เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2018 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2018 14:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท