การอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนบทคัดย่อและบทความทางวิชาการ


สรุปองค์ความรู้จากการอบรม

การอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนบทคัดย่อและบทความทางวิชาการ

วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน 2561

ณ ห้อง 9.07.07-08 อาคาร 9 ชั้น 7 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา

 

1. การเขียนบทความทางวิชาการ

        1.1 ประเภทของบทความ

                1.1.1 บทความทางวิชาการ (จากการศึกษาเป็นระยะเวลาหลายปี)

                   1.1.2 บทความวิจัย (จากงานวิจัยของตนเอง)

                   1.1.3 บทความวิจารณ์ (จากประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคม ความรู้ใหม่)

        1.2 ส่วนประกอบของบทความวิจัย

                1.2.1 บทคัดย่อและคำสำคัญ นำเสนอวัตถุประสงค์ วิธีการ ผล ของการวิจัย

                   1.2.2 ส่วนนำ ประกอบด้วย

                             1) ความเป็นมาและความสำคัญ

                             2) วัตถุประสงค์ในการวิจัย

                             3) ทฤษฎีและงานวิจัยที่สำคัญ

                             4) สรุปเหตุผลในการเลือกวิธีดำเนินวิจัย พร้อมกับอ้างอิง

                   1.2.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมตีความ

                   1.2.4 การอภิปราย/การสรุปผล

                   1.2.5 การอภิปรายข้อเสนอแนะ

                   1.2.6 ส่วนอ้างอิง/ภาคผนวก

        1.3 แนวทางการเขียนบทความวิจัย

                1.3.1 มีความเข้าใจในงานวิจัยของตนเองอย่างชัดเจน

                   1.3.2 นำประเด็นเด่นที่สุดในงานวิจัยมาเขียน 1-2 ประเด็น

                   1.3.3 จัดลำดับความคิด ทำโครงร่าง เรียบเรียงเป็นฉบับร่างแล้วทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์ จึงอ่านทบทวนและปรับปรุงให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

                   1.3.4 ลำดับเนื้อหาเป็นไปตามหลักการ แต่ละย่อหน้ามีใจความสำคัญและเชื่อมโยงกัน

        1.4 เทคนิคการเขียนบทความ

                   1.4.1 เลือกบทความ

                   1.4.2 ศึกษารูปแบบการพิมพ์ของบทความที่ได้ตีพิมพ์

                   1.4.3 ตั้งชื่อบทความให้น่าสนใจ

                   1.4.4 วางโครง บทนำ เนื้อหา สรุป แล้ววางโครงในแต่ละย่อหน้าของแต่ละส่วน

                   1.4.5 การอ้างอิง บทความไม่เกิน 10-15 หน้า ควรอ้างอิง 10-15 คน ถ้า 15-20 หน้า ควรอ้างอิง 20-30 คน ควรอ้างอิงแนวคิดที่มีชื่อเสียงในวงการนั้นและงานวิจัยไม่เกิน 10 ปี

                   1.4.6 รูปแบบการอ้างอิงต้องตรงกับข้อกำหนดของวารสารที่จะลงตีพิมพ์

                   1.4.7 เพิ่มภาพประกอบ ตาราง และกราฟ แสดงความน่าเชื่อถือ และน่าอ่าน

                   1.4.8 นำส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษาแล้วปรับแก้

                   1.4.9 ส่งเข้าระบบ ให้ผู้ทรงคุณวุฒิอ่าน

                   1.4.10 ผู้เขียนปรับแก้ แล้วจึงจะได้ตีพิมพ์

 

2. บทคัดย่อ

        หมายถึง ส่วนที่แสดงเนื้อหาสำคัญของงานวิจัย โดยสรุปงานวิจัยให้เหลือเพียง 1-2 หน้า เพื่อสื่อสารให้ผู้อ่านได้เข้าใจและเห็นภาพโดยรวมทั้งหมดของงานวิจัย

          2.1 หลักการในการเขียนบทคัดย่อ

                   2.1.1 สั้น กะทัดรัดและกระชับ

                   2.1.2 ถูกต้อง

                   2.1.3 ชัดเจน

        2.2 ส่วนประกอบของบทคัดย่อ

                2.1.1 ความสำคัญของงาน

                   2.1.2 ปัญหา/คำถามงานวิจัย

                   2.1.3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย

                   2.1.4 วิธีการวิจัย

                   2.1.5 ผลและบทสรุป

          2.3 วิธีการเขียนบทคัดย่อ

                   2.3.1 ทำความเข้าใจงานวิจัยของตนเอง และหลักการเขียนบทคัดย่อ

                   2.3.2 วางโครงร่างการเขียนบทคัดย่อตามส่วนประกอบของบทคัดย่อ

                   2.3.3 เขียนบทคัดย่อฉบับร่างด้วยภาษาทางวิชาการ ใช้ประโยคไม่ซับซ้อน

                   2.3.4 ตรวจทานความถูกต้อง

                   2.3.5 ประเมินบทคัดย่อ

 ผู้บันทึก นางจิราภรณ์  กุลพิมล  นักศึกษาสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา

หมายเลขบันทึก: 648303เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2018 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2018 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท