การเตรียมตัวก่อนไปสัมภาษณ์งาน


เมื่อไม่นานมานี้ ดิฉันได้ไปบรรยายให้กับคณะอาจารย์และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งหนึ่ง ในช่วงการแลกเปลี่ยนและซักถาม ได้มีท่านอาจารย์สอบถามถึงการให้คำปรึกษากับนักศึกษา ถึงการเตรียมตัวไปสัมภาษณ์งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ที่กำลังเตรียมตัวไปสัมภาษณ์งาน หรือการให้คำแนะนำพี่น้องบุตรหลานที่จะต้องไปสัมภาษณ์งาน โดยดิฉันจะกล่าวถึงการเตรียมตัว ดังนี้ค่ะ

1. ศึกษาข้อมูลและวัฒนธรรมองค์กรของหน่วยงาน นอกจากการศึกษาข้อมูล ความรู้รอบตัวเรื่องของหน่วยงานที่จะไปสัมภาษณ์แล้ว วัฒนธรรมองค์กรก็มีความสัมพันธ์กับเรื่องการวางตัวและการแต่งกายอีกด้วย ในกรณีองค์กรที่เราไปสมัครงาน เป็นองค์กรที่เน้นความน่าเชื่อถือ มีกรอบระเบียบปฏิบัติในการทำงาน เช่น หน่วยงานราชการ องค์กรด้านกฎหมาย ธนาคาร หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ ในกรณีนี้ การแต่งกายที่เหมาะสม ควรเน้นความสุภาพและเป็นทางการ เช่น สูทดำ กางเกงแสลก กระโปรงความยาวปิดเข่า (ผู้หญิงควรใส่กระโปรง) เสื้อเชิ้ตสีขาว รองเท้าคัทชูหนังสีดำ สวมถุงน่อง สวมถุงเท้าดำ แต่งทรงผม รวบและเก็บผมให้เรียบร้อย เป็นต้น ถ้าจะให้เนี๊ยบขึ้นไปอีก กระเป๋าถือสุภาพสตรี ก็ควรให้เป็นทางการเหมาะกับสูทเช่นกัน สำหรับกรณีที่ไปสัมภาษณ์งานในองค์กรที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับครีเอทีฟ การแต่งกายไปสัมภาษณ์งาน ควรให้ดูมีสไตล์ หรือทันสมัย แต่คงความสุภาพ เช่น ใส่ชุดโทนสีสุภาพ น้ำเงิน ฟ้าอ่อน ขาว ครีม น้ำตาล ฯลฯ กางเกงสีเข้มหรือสีพื้น รองเท้าหนัง หรือรองเท้าหุ้มส้นสุภาพ เครื่องประดับเรียบๆ พองาม

2. ฝึกการวางท่าทางและการตอบคำถามหน้ากระจกเตรียมคำถามการสัมภาษณ์งาน และแนวการตอบคำถาม จากนั้นฝึกการนั่งตอบคำถามบนเก้าอี้เปล่าหน้ากระจก เพื่อสำรวจบุคลิกตัวเอง ควรให้มีสีหน้ายิ้มแย้ม น้ำเสียงฉะฉานชัดเจน พูดจาชัดถ้อยชัดคำ ไม่รัวหรือรวบคำ การพูดและตอบคำถามควรเป็นเชิงบวกเสมอเพราะแสดงถึงทัศนคติที่ดี ที่สำคัญควรซ้อมการพูดตอบคำถามหลายๆ รอบ เพื่อเพิ่มความมั่นใจ พร้อมทั้งสำรวจบุคลิกภาพ ท่าทาง และน้ำเสียงการพูด เพื่อปรับปรุงให้ดูดี หรืออาจจะใช้วิธีอัดคลิปวีดิโอ เพื่อกลับมาสำรวจตัวเองอีกครั้ง และขอคำปรึกษาจากผู้ใหญ่หรือผู้เชี่ยวชาญได้ค่ะ

 

การนั่ง

ผู้หญิง : นั่งหลังตรง ไม่พิงพนัก เข่าชิด ไม่เอาขาเข้าไปไว้ใต้เก้าอี้ มือวางสำรวมที่ตัก กระเป๋าควรวางไว้ข้างเก้าอี้ หรือหลังพนักพิงผู้ชาย : นั่งหลังตรง ก้นชิดพนัก วางขาและเท้าให้ได้ฉาก กางขาได้เล็กน้อย ไม่เอาขาเข้าไปไว้ใต้เก้าอี้ วางมือหรือประสานมือไว้ที่ตัก

มารยาทการให้สัมภาษณ์ :  

1. เมื่อเข้าไปในห้องสัมภาษณ์แล้ว ควรไหว้และยิ้มสบตาให้คณะกรรมการก่อนเป็นอันดับแรก


2. ควรยืนรอให้กรรมการเชิญนั่งก่อน หรือขออนุญาตก่อนนั่งเก้าอี้ 3. กรณีมีโต๊ะด้านหน้า ห้ามวางกระเป๋าและวางมือบนโต๊ะ สำหรับวัฒนธรรมไทย การวางมืออย่างสำรวมที่ตักระหว่างการสัมภาษณ์ (ยกขึ้นมาใช้ประกอบการพูดได้บ้าง) จะเป็นบุคลิกที่ดูอ่อนน้อมมากกว่า 4. ไม่พูดแทรกขณะกรรมการยังพูดไม่จบ ในขณะที่กรรมการพูด ควรมี eyes contact สายตาแสดงความใส่ใจ และตั้งใจฟัง สีหน้ายิ้มแย้มสบายๆ ไม่เกร็ง หากมีอาการตื่นเต้นให้หายใจลึกๆ และยิ้มเข้าไว้

 

จำไว้ว่า “ยิ้ม ใจเย็น ช้าและชัด ดีกว่ารน เร็ว พูดผิดพูดถูก” นะคะ 

ติดตามสาระความรู้เพื่อการพัฒนาตนเองได้ที่ เฟสบุ้คแฟนเพจ ครูตุ๊ก นารีรัตน์ นุโยค

https://www.facebook.com/tookn...

หมายเลขบันทึก: 648223เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2018 21:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2018 08:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท