ชีวิตที่พอเพียง 3191. ยุคใหม่ของการดูแลสุขภาพ



นิตยสาร Fortune ฉบับวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๑ ลงเรื่อง Big Data meets Biologyเขียนโดย Erika Fry & Sy Mukherjee   ฉายภาพอนาคตของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี BigData ใน Healthcare   ซึ่งผมอ่านระหว่างบรรทัดว่าจะยิ่งทำให้ธุรกิจรุกคืบเข้ามามีอิทธิพลต่อระบบสุขภาพมากยิ่งขึ้น   เพราะธุรกิจเก่งด้านฉกฉวยประโยชน์จาก informationasymmetry

ผมมีทฤษฎีที่ตั้งขึ้นเองว่าเมื่อไรก็ตามที่มีการเปลี่ยนแปลงใหญ่   ไม่ว่าจะเริ่มด้วยวิกฤติ หรือเริ่มด้วยโอกาส    ผลจากการ “กวนเกษียรสมุทร” จะลงเอยด้วยช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนถ่างกว้างออกไปอีก  เพราะในช่วงเวลาที่กำลังชุลมุนกันอยู่นั้น   ผู้แข็งแรงจะตั้งหลักได้ดีกว่าหรือได้ก่อน   และช่วงชิงการสร้างระบบใหม่ที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเองมากกว่า   

ตัวอย่างที่เห็นในช่วง๒๐ ปีที่ผ่านมาคือวิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย ปี ๒๕๔๐   

บทความเปรียบเทียบ “ยุคตื่นBig Data” เท่ากับยุคตื่นทอง    เรียกว่าเป็น new gold-rush   ให้ตัวเลขว่าโอกาสของการประยุกต์ใช้ Big Data ในบริการสุขภาพสูงถึง ๑๕เท่าของ  FaceBook และGoogle รวมกัน   คือขนาดของธุรกิจของ FaceBook และ Google รวมกัน เท่ากับ ๒๐๐,๐๐๐ ล้านเหรียญ   แต่ขนาดของบริการสุขภาพเท่ากับ ๓ล้านล้านเหรียญ   

ในการประชุมสภา มช.วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๑  ผศ. ดร. ณัฐคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มาเสนอ Data Science Consortium ร่วมมือ 3 คณะ  ๑ หน่วยงาน   คือ คณะวิทยาศาสตร์  คณะวิศวกรรมศาสตร์  วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี   และศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ   ร่วมกันพัฒนาวิชาการ และบุคลากรด้าน dataanalytics  

ผมจึงให้ข้อเสนอว่า  นอกจากงานพัฒนาเทคโนโลยีและคน ด้าน data science แล้ว    ประเทศต้องการการดำเนินการที่จะช่วยให้ความก้าวหน้านี้ก่อpublic good  มากพอๆกับ private good   ที่สำคัญคือไม่เกิดการเพิ่ม inequity ในสังคมที่เป็นผลกระทบจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนี้  และการพัฒนาเทคโนโลยี data analytics ควรมีเป้าที่การดูแลสุขภาพด้วย   

 ในเชิง Public good ประเด็นสำคัญคือ การพัฒนาที่ไม่ใช่แค่ด้าน digital skills  แต่ไปถึง digitalliteracyคือผู้คนสามารถนำพลังดิจิตัลไปใช้ประกอบอาชีพสร้างรายได้ในรูปแบบใหม่ๆ    ไม่ใช่เพียงเพื่อความสนุกและบันเทิง         

วิจารณ์ พานิช

๒๘ เม.ย. ๖๑


 

หมายเลขบันทึก: 647957เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2018 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2018 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท