แป้งแบเรียมซัลเฟต


แป้งแบเรียมในการตรวจวินิจฉัย เพื่อตรวจหาสิ่งผิดปกติใน หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร หรือ ลำไส้

แป้งแบเรียมซัลเฟตในกระเพาะอาหาร

ซึ่งโดยปกติ ในการภาพถ่ายด้วยรังสีเอกซ์ทั่วไปบริเวณ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร หรือ ลำไส้ ที่มีลักษณะเป็น ท่อ หรือ ถุงกลวง จะไม่สามารถแสดงภาพของลักษณะผิวที่อยู่ภายในของกระเพาะอาหาร หรือ ลำไส้ ได้ชัดเจน


การตรวจวินิจฉัยด้วยรังสีเอกซ์์ ชนิดฟลูออร์โรสโคปี (Fluoroscopy)


โดยจะให้ผู้ป่วย ดื่ม หรือ กลืน สารตัวกลางชนิดหนึ่งเข้าไป เพื่อช่วยในการสร้างภาพ โดยทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างผิวของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร หรือ ลำไส้ ที่อยู่ในร่างกายได้ชัดเจนขึ้น

ในทางรังสีวิทยา จะเรียกสารนี้ชนิดจะเรียกว่า...

สารเปรียบต่าง (contrast media) หรือ สารทึบรังสี (radiopaque contrast agents)

สารที่นิยมใช้กัน คือ... แป้งแบเรียมซัลเฟต (Barium sulphate)ซึ่งมีคุณสมบัติดูดกลืนรังสีได้ดี และ แป้งชนิดนี้จะไม่ถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกาย

บางครั้งจะใช้แป้งแบเรียมซัลเฟตร่วมกับการใช้ก๊าซ (ที่อยู่ในกระเพาะอาหารหรือลำไส้) หรือ ในดื่มสารที่ทำให้เกิดก๊าซพวกคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbondioxide) เพื่อทำให้กระเพาะอาหาร หรือ ลำไส้โป่งพอง หรือ ลดความหนาแน่นของแป้งที่ไปเคลือบในบริเวณต่างๆ ช่วยทำให้สามารถมองเห็นผิวเยื่อบุกระเพาะหรือลำไส้ ได้ชัดเจนมาขึ้น


เมื่อผู้ป่วยดื่มแป้งแบเรียมซัลเฟต เข้าไป...แป้งแบเรียมซัลเฟต จะไปเคลือบที่ผิวของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร หรือ ลำไส้ ได้หนาหรือบาง แตกต่างกัน


ในบริเวณที่มีแป้งอยู่หนาแน่น เนื่องจาก แป้ง ดูดกลืนรังสีได้มาก รังสีผ่านแป้งได้น้อย จึงทำให้ภาพถ่ายรังสีบริเวณนั้น จะแสดงออกมาเป็น สีขาวซึ่งจะเป็นอุปสรรค์ต่อการวินิจฉัย

ดังนั้น... ในระหว่างการตรวจ รังสีแพทย์ จะให้ผู้ป่วย หมุนตัว ยืน หรือ นอน เพื่อให้แป้งแบเรียมซัลเฟต กระจายออก ไปยังส่วนต่างๆของกระเพาะอาหาร หรือ ลำไส้


บริเวณที่แป้งไปเคลือบไม่หนามาก ร่วมกับมี ก๊าซจะทำให้มองเห็นผิวด้านใน หรือ เยื่อบุกระเพาะอาหาร หรือ ลำไส้ ได้ชัดเจน ขึ้น


นี่ละครับ ประโยชน์ของแป้งแบเรียมในการตรวจวินิจฉัย เพื่อตรวจหาสิ่งผิดปกติใน หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร หรือ ลำไส้เล็ก โดยการกลืน


ส่วนการตรวจลำไส้ใหญ่ จะใช้การสวนแป้งแบเรียมซัลเฟต เข้าไปทางทวารหนัก เข้าไปสู่ ลำไส้ใหญ่

หมายเลขบันทึก: 647534เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2018 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2018 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบพระคุณค่ะ สำหรับความรู้การตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัย..เป็นประโยชน์ในการใช้ทบทวน และเผยแพร่ให้ประชาชนได้เข้าใจด้วยค่ะ

เป็นความรุ้ที่มีประโยชน์มากเลยครับ

จะได้เห็นภาพชัดๆ

ขอบคุณมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท