"การฟัง" เป็นอะไรมากกว่าที่คิด


"การฟัง" คำสั้นๆ แต่เป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่เราต้องเรียนรู้.

ผมใช้คำว่า "ต้อง" เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็น มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง

.

การฟังที่ดี คือต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่เราได้รับ

-ว่าจริงเท็จแค่ไหน

-เป็นไปได้แค่ไหน

-ประเด็นสำคัญคืออะไร

-หรือควรตัดสินอย่างไร

-หรือว่าไม่ควรรีบตัดสิน (แบบฟังหูไว้หู ก่อน)

- คนพูดต้องการสื่ออะไร

.

เครื่องมือสำคัญที่สุดของการฟัง คือสติ และ Common sense (สามัญสำนึก)

.

ยุคอินเตอร์เน็ตครองเมือง ข้อมูลทะลัก การฟังยิ่งมีความจำเป็นมากขึ้นไปอีก

เมื่อคนขาดการวิเคราะห์ข้อมูล -ขาดสติ ขาดสามัญสำนึก หรือเรียกว่า ขาดการ "ยั้ง"- "คิด"

ว่าสิ่งที่ฟังมีความเป็นไปได้แค่ไหน คนพูดต้องการอะไร  ...ก็รีบเชื่อตามข้อมูลอย่างรวดเร็ว

.

แล้วยิ่งธรรมชาติคนเราชอบยุ่งกับชีวิตคนอื่นในแง่ลบ ย่อมเกิดผลกระทบแน่ๆ

ข้อแรก เกิดผลแก่ผู้ที่อยู่ในข้อมูลนั้น คนโดนด่าผ่านสื่อ ด้วยเรื่องที่ไม่จริง

หรือ แม้เรื่องจริงแต่ความรู้สึกผู้รับสารใส่อารมณ์ปรุงแต่งเกินจริง มีให้เห็นแทบทุกวัน

.

นอกจากคนจะขาดการยั้งคิด รีบเชื่อข้อมูลแล้ว ยังขาดการยั้งคิด ที่จะตอบสนองต่อข้อมูลด้วย

คนสมัยนี้ใส่อารมณ์กันอย่างเสรี ขาดความเกรงอกเกรงใจกันอย่างกับไม่ใช่วิถีของคนไทย !!

.

ข้อสอง ผลกระทบต่อผู้รับข้อมูลเอง แน่ละ อาจโดนตอบโต้ - แรงไปก็แรงกลับ !

ผลเสียประการแรก คือ เสียอารมณ์ เสียความรู้สึกเกิดความคิดลบทั้งๆ ที่อยูดีๆ ก็ไม่ควรจะมี

ความคิดลบ ก็ทำลายสุขภาพทีละนิด สุขภาพเสียเพราะเสพสื่อ เป็นเรื่องที่คาดไม่ถึง...!

.

ผลเสียประการที่สอง ขอโทษนะที่พูดตรง ....เราจะโง่ลงเรื่อยๆ ครับ

การขาดการยั้งคิด ก็คือ โง่นั่นแหละ ยิ่งขาดบ่อยยิ่งสะสมนิสัยความโง่

เราจะยอมให้ตัวเองโง่ลงเรื่อยๆ เพราะขาดสติในการฟังหรือ ?

ความโง่เป็นตัวบ่อนทำลายชีวิตอย่างที่คาดไม่ถึง

ดูซิ ชีวิตคนที่ทำอะไรอย่างโง่ๆ มันทำร้ายชีวิตเขาแค่ไหน

การตัดสินใจโง่ๆ นี่ถึงกับสูญเสียชีวิตเลยทีเดียว

พระพุทธเจ้าตรัสว่า บาปที่สุดคือโง่ (อวิชชา) นี่แหละครับ

.

จะเห็นได้ว่า การฟัง (หรือการรับข้อมูล) นี่สำคัญเพียงใด มันเปลี่ยนชีวิตเราได้ มากๆ

แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าคนฟังเป็น ก็ย่อมทำให้ฉลาดขึ้น อารมณ์ดีขึ้น สุขภาพดีขึ้นด้วยเช่นกัน

การฟังทำให้ชีวิตดีขึ้นอย่างคาดไม่ถึงครับ

มีสติ มีสามัญสำนึก ยั้งคิด กรองข้อมูลก่อนทุกครั้งที่ได้รับ 

แล้วท่านจะประสบความสุขครับ


หมายเลขบันทึก: 646314เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2018 08:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2018 09:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
รุ่งระพี มหพันธุ์ทิพย์

ขอบพระคุณค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท