อารมณ์วิปัสสนา


            อารมณ์ ในทางธรรม หมายถึงสิ่งที่จิตไปยึดหน่วง หรือยึดเป็นหลัก หรือสิ่งเป็นที่กำหนดของจิตในขณะนั้นๆ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมมารมณ์ หรือ สิ่งที่ถุกเพ่ง ถุกพิจารณามีขันธ์ ๕ เป็นต้น

             อารมณ์วิปัสสนร คือ เห็นอาการเกิดดับ หมายถึง วิธีการกำหนดรู้ หรือการดำเนินจิตเพื่อวามเห็นแจ้งว่าไม่ใช่ตัวตนนั่นถือว่าเป็นวิปัสสนา ทุกหมวดของมหาสติปัฎฐาน รู้โดยความไม่ยึดมั่นถือมั่น ในมหาสติปัฉฐานคือการทำวิปัสสนาให้แจ้งอารมณ์ที่ปรากฎทางทวารทั้ง ๖ และบัญญัติอารมณ์ล้วนเป็นปรมัตถได้รูปนามทั้งสิ้น

            อามรมณ์วิปัสสนาตามพระธรรมธีรราชมุนี ให้ความหมายว่า อารมร์วิปัสสนาภูมิคือภูมิของวิปัสสนาคือขันธ์ห้า ได้แก่ รูกับนาม วิปัสสนาภูมิที่พระพุทธองค์ทรงแสดงนั้น มีอยู่ ๖ ภูมิด้วยกัน เรียกว่า วิปัสสนาภูมิ ๖ แต่เมื่อย่อวิปัสสนาภูมิ ลงแล้วคงได้ ๒ อย่างคือ รูปธรรม กับนามธรรม กล่าวสั้นๆ ว่า รูป-นาม

          วิปัสสนาภูมิ คือ พื้นเพในการเจริญวิปัสสนาภาวนามี ๖ ได้แก่

          ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ปฎิจจสมุปปาท ๑๒ อริยสัจ ๔ 

          วิปัสสนา ภูมิที่ ๔ ภูมิแรก เมื่อย่อลงก็ได้แก่ รูปและนาม 

          วิปัสสนา ภูมิที่ ๕ ปฎิจจสมุปบาท ได้แก่ ปัจจัยแห่งรูปและนาม

           วิปัสสนา ภูมิที่ ๖ คือ อริยสัจ ๔ ได้แก่ รูป นาม ปัจจัยแ่งรูปนาม ความเกิด-ดับแห่ง นามรูป และนิพพาน

          อนิยสัจ ๔ ทุกขสัจมีสภาพไร้แก่นสาร สมุทยสัจเป็นมูลเหตุของุทกขสัจ นิโรธสัจเป็นความดับของทุกขสัจ และมรรคสัจเป็นทางบรรลุนิโรธสัจ การเข้าใจอริยสัจเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อผุ้ปฏิบัตธรรมเข้าใจแล้วย่อมสามารถหลีกเลี่ยงจากทุกข์ด้วยการกำหนดรู้ หลีกเลี่ยงเหตุให้เกิดทุกข์ด้วยการละ สามารถรู้แจ้งความดับทุกข์โดยอาศัยการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ดังนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมต้องกำหนดรู้ขันธ์ ๕ ซึ่งขันธ์นั่นย่อย่อลงในรูป-นาม

          ฉะนั้น อริยสัจ ๔ จึงไม่พ้นไปจากความเป้นรูปนาม เหตุเกิดรูปนาม ความดับรูปนามและเหตุแห่งความดับรูปนาม ในการนำสัจจะ ๔ มาเจริญเป็นวิปัสสนาในหนังสือวิปัสนาชุนีได้กล่าวไว้ว่าบรรพะในมหาสติปัฎฐานสูตรล้วนเป็นจตุสัจจกัมมัฎฐาน

          วิปัสสนากับการเจริญสติปัฎฐานนั้น ดดยความหายก็เหมือนกันไม่แตกต่างกันในการเจริญวิปัสสนาก็อาศัยการกำหนดรู้ในฐานทั้ง ๔ 

         สติ คือ การระลึกรู้ ปัฎฐาน คือ เข้าไปตั้งไว้

         สติปัฎฐาน แปลว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ หรือการปฏิบัติมีสติเป็นประธาน อีกนัยหนึ่ง สตปัฎฐาน แปลว่า ธรรมอันเป็นที่ตัี้งแห่งสติ หมายถึง อารมณ์ของสติ ได้แก่ กายเวทนา จิต ธรรม

        วิสทุธิมรรค สติปัฎฐาน ๔ หมายถึงการที่สติ แล่นไปตั้งอยู่ในอารมณ์ กาย เวทนา จิต ธรรม โดยอาการว่าไม่งาม เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง และเป็นอนัตตา เพื่อทำกิจให้เสร็จด้วยการละเสียซึ่งความว่างาม ว่าเปนสุข ว่าเที่ยวง ว่ามีอัตตา

        พจนานุกรมม สติปัฎฐานเป็นคำนามหมายถึงชื่อธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ ๔ อย่าง กาย เวทนา จิต ธรรม คำว่า สติ เป็นคำนามหมายถึงความรู้สึก ความรุ้ตัว

        พจนานุกรมพุทธสาสน์ สติปัฎฐาน คือะรรมเป้นที่ตั้งแห่งสติ ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน การตั้งสติกำหนดพิจารราสิ่งทั้งหลายให้รู้เท่าทันตามความเป็นจริง ไม่มองเพี้ยนไปตามอำนาจอำเลส มี ๔ อย่าง คือ กาย เวทนา จิต ธรรม

       มหาสติปัฎฐานสูตร ทางสู่พระนิพพาน สติปัฎฐานหมายถึง การระลึกรุ้เข้าไปตั้งไว้ในกองรูปเวทนา จิต และธรรม คำว่า สติปัฎฐานมี ๓ นัย คือ ที่ตั้งของสติ หมายถึงอารมณ์ของสติ ๔ ประเภท รูป เวทนา จิต และสภาวธรรม ๒.ภาวะที่พึงตั้งไว้ด้วยสติ หมายถึง การล่วงความยินดียินร้าย และ ๓. สติที่เข้าไปตั้งไว้ หรือสติที่ตั้งไว้มั่น

        ดังนั้นในการปฏิบัติ ปฏิบัติวิปัสสนา นั้นจึงไม่พ้นจากหลักสติปัฎฐาน ๔ คือ การกำหนดรูปตาที่ปรากฎชัดในขณะจิตปัจจุบันตามความเป็นจริง...

           บ้างส่วนจาก วิทยานิพนธ์ "ศึกษาการเจริญวิปัสสนาภาวนหมวดธาตุมนสิการบรรพะ ในมหาหัตถิปโทปมสูตร" โดย พระณรงค์เศรษญ์ ฐิเมโธ(คุมมณี) ๒๕๕๔


คำสำคัญ (Tags): #อารมณ์วิปัสสนา
หมายเลขบันทึก: 645501เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2018 17:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2018 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท