ชีวิตที่พอเพียง 3124. PMAC 2018 : 8. ตัวอย่างความสำเร็จในการจัดการโรคระบาดสมัยใหม่



บ่ายวันที่ ๑กุมภาพันธ์ ผมเลือกไปฟัง PS1.1 Lessons learned in managing emerging infectious diseases(EID)   และชื่นชมผลงานของไทยในการป้องกันการระบาดของโรคMERS   ที่นำเสนอโดยนพ. ธนรักษ์ พิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค   ที่เป็นศิษย์เก่า มอ. สมัยผมเป็นคณบดี

เริ่มจากเรื่องของประเทศปอร์ตุเกศที่เรียนรู้จากการระบาดของไข้เหลืองในสาธารณรัฐอังโกลา(อดีตเมืองขึ้นของปอร์ตุเกศ)    นำมาพัฒนาระบบเฝ้าระวังของประเทศ    เริ่มจากการพบว่ามียุง Aedes aegypti (พาหะไข้เลือดออก และไข้เหลือง) ในเกาะสองเกาะ ในปี ค.ศ. 2005   แล้วในปี 2012 ก็มีไข้เลือดออก เด็งกี่ ระบาดในเกาะนั้น    นำไปสู่การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและยุทธศาสตร์การรับมือ      

ปี 2016 ไข้เหลืองระบาดในAngola ที่มีการติดต่อเดินทางไปมาหาสู่กับคนในประเทศปอร์ตุเกศ    ทำให้ปอร์ตุเกศพัฒนาระบบประเมินความเสี่ยง (riskassessment)   โดยมีทีมคณะทำงานจากหลายฝ่ายรวมทั้งจากองค์การอนามัยโลก      

คณะทำงานเสนอแนะ ๓อย่าง  (๑) ประกาศให้ประชาชนรับรู้  (๒) คนที่จะเดินทางไปอังโกลาฉีดวัคซีนและป้องกันยุงกัด  (๓) ยกระดับการเฝ้าระวังและตรวจยุง   

ข้อเรียนรู้จากประสบการณ์นี้คือ  (๑) โรคจากพาหะนำโรคระบาดได้ตลอดเวลา  เพราะไม่มีพรมแดนกักพาหะ และคน  (๒) ดำเนินการและตัดสินใจร่วมกันเป็นทีมข้ามภาคส่วนข้ามทีม  (๓)ความสามารถในการระดมทรัพยากร ผู้บริหารประเทศต้องเข้ามารับผิดชอบ (๔) มีการประเมินผลแผนดำเนินการ และปรับแผน 

ที่จริงข้อเรียนรู้อยู่ในรายละเอียดที่นักจัดการเขาคุยกันรู้เรื่อง และการ ลปรร. นี้ได้ประโยชน์มาก

ผู้นำเสนอคนต่อไปเป็นศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยGeorgetownสหรัฐอเมริกา  สรุปข้อเรียนรู้จากประสบการณ์รับมือการระบาดของ SARS, Flu, MERS, Ebola,Zika, Yellow Fever, และ Plague    สรุปข้อเรียนรู้ ข้อ ดังนี้  (๑) ให้ความรู้แก่สาธารณชนทั้งในช่วงระบาดและช่วงยังไม่มีการระบาด  เช่นสร้างอนุสาวรีย์ที่ระลึกถึงการระบาด  (๒) ต้องยกระดับขีดความสามารถในการปฏิบัติต่อผู้ป่วยทางคลินิก 

เรื่องต่อไปเป็นการรับมือการระบาดของไวรัสChikungunyaในประเทศอิตาลี ที่เมืองตากอากาศชายทะเลชื่อ Anzio  ห่างจากโรม ๕๐ ไมล์   เริ่มวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๐    โดยที่โรคนี้เคยระบาดในอิตาลีมาแล้วในปี๒๕๕๐   ดังนั้นเมื่อมีการระบาดที่เมือง Anzio  ทางการจึงเข้าไปจัดการระบบธนาคารเลือดป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสผ่านการบริจาคเลือด  รวมทั้งมาตรการเฝ้าระวังอื่นๆ   ทำให้โรคไม่ระบาดมากมาย  ได้บทเรียน  (๑) เน้นป้องกัน  (๒) ต้องมีการประสานงานที่ดี ตามแนวทาง OneHealth  (๓)  ต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล  (๔) ต้องมีข้อมูลปัจจุบัน (real-time) จากผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่  (๕)เครื่องมือใหม่ด้านกีฏวิทยา  

ประเทศที่ ๔ที่นำเสนอคือ ไทย  โดยท่านรองอธิบดีกรมควบคุมโรค นพ. ธนรักษ์ พิพัฒน์ที่นำเสนอระบบควบคุมโรคระบาดแห่งชาติ โดยกรมควบคุมโรค   ที่สามารถควบคุมโรค MERS ที่มากับผู้ป่วยจากตะวันออกกลางได้๑ รายในปี ๒๕๕๘ และ ๒ รายในปี ๒๕๕๙   ได้ย้ายไปดูแลในระบบแยกผู้ป่วยที่โรงพยาบาลเฉพาะโรคติดเชื้อคือ รพ. บำราศนราดูร  ทำให้ไม่เกิดการแพร่กระจายโรค  ทั้งๆ ที่มีผู้สัมผัสผู้ป่วยหลายร้อยคน  

ทั้งนี้ระบบเฝ้าระวังโรคMERS ของไทยได้มีมาตรการเฝ้าระวังอย่างจริงจังโดยเฉพาะคนที่เดินทางมาจากตะวันออกกลาง และเกาหลี (มีการระบาดที่เกาหลี)

มีการเขียน infographic ของ session นี้ไว้    ตามที่ผมนำรูปมาให้ชมแล้ว

วิจารณ์ พานิช

๓ ก.พ. ๖๑

ห้อง ๔๙๑๔ โรงแรมเซนทารา เซ็นทรัลเวิร์ล



     

คำสำคัญ (Tags): #610306#pmac#PMAC 2018#EID
หมายเลขบันทึก: 645292เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2018 21:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มีนาคม 2018 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I wonder how much of this excellent work is dependent on "open BIG data" (airline ticketing, airport immigration checkout, hospital databases,...) and what we are doing to maintain access to information...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท